รีเซต

แรปเปอร์อเมริกา "Azelia Banks" VS "ลิซ่า" จิตวิทยาพฤติกรรมการเหยียดที่สะท้อนปมด้อยคนพูด

แรปเปอร์อเมริกา "Azelia Banks" VS "ลิซ่า" จิตวิทยาพฤติกรรมการเหยียดที่สะท้อนปมด้อยคนพูด
TNN ช่อง16
10 พฤษภาคม 2568 ( 10:26 )
6

แฟนคลับ ลิซ่า Don’t worry เพราะการเหยียดคนอื่น  สะท้อน ปมด้อยผู้พูด มากกว่าความจริงของคนฟัง แล้วทำไม มนุษย์ ต้องเหยียดคนอื่น?

เกิดอะไรขึ้น

ดราม่าจากงาน Met Gala 2025 กรณี Azealia Banks นักร้องผิวสีชาวอเมริกัน วัย 33 ปี เหยียด  ลิซ่า BLACKPINK ซุปตาร์ระดับโลกชาวไทย ว่า เป็นกระเทย จนทำคนไทยและ Lilies ด้อมลิซ่า ทนไม่ไหว โต้กันไปมา จนเป็นดราม่าระดับโลก


คำถามคือ เราเหยียดคนอื่นไปเพื่ออะไร เพราะการเหยียด ไม่ได้ลดทอนคุณค่าคนฟัง  แต่กำลังบอกว่า คนพูด เปราะบางแค่ไหน เป็นเรื่องทางจิตวิทยา ที่วิทยาศาสตร์มีคำอธิบาย 


ถ้าเราเข้าใจ นอกจากจะทำให้เราไม่เจ็บ เราอาจจะรู้สึก เห็นใจ เพื่อนมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น

มุมมองทางจิตวิทยา ?

เพื่อยกตัวเองให้ เหนือกว่า ตามทฤษฎี (TA) ของ Dr.Thomas A Harris) เชื่อว่า มนุษย์ จะมีมุมมองชีวิต life position   4 แบบ  ต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งส่งผลต่อการสื่อสาร
 
คนปกติ จิตใจดีงามจะมองว่า  I’m OK - you’re OK หรือก็คือ  ชีวิตคนดี ชีวิตฉันก็ดี มองคนทุกคนดี โอเค เท่า ๆ กัน ตรงข้ามกับ คนที่ชอบเหยียด มักมีมุมมองแบบ I’m OK - you’re Not OK หรือ ฉันเหนือกว่า แต่เธอน่ะแย่  ก็คือเชื่อว่าไม่มีใครดีเท่า ตัวฉัน แล้ว 
 
- ใช้เพื่อพยายาม ลดคุณค่าผู้อื่น หรือกดคนอื่น เพื่อรักษาอัตตาตนเอง เพื่อยกตัวเองให้ยังสูงกว่าคนอื่น    ขาดความมั่นคงภายในใจ ขาดความเชื่อมั่น self esteemต่ำ  รู้สึกด้อย จนต้องหาจุดด้อยคนอื่น เพื่อกลบ
เพราะคุณจะไม่พบ การเหยียดแบบนี้ ในคนที่ มีความภูมิใจในตัวเองเต็มเปี่ยมเลย
 
- วัฒนธรรม Self-Egocentric  คือการเอา “ตัวเอง” เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ใครจะรู้สึกอย่างไรก็ช่าง เปรียบเทียบตัวเอง  สูงกว่า หรือ ต่ำกว่า คนอื่นเสมอ

- Defense Mechanism (Sigmund Freud ) – กลไกป้องกันทางจิต

- Projection: โยนความรู้สึกด้อยค่าของตัวเองไปใส่ผู้อื่นแทน เพราะไม่อยากยอมรับ ข้อด้อยตัวเอง
 
- พฤติกรรมการเลียนแบบ  (Albert Bandura) มองว่าพฤติกรรมคนมาจาก การเลียนแบบคนใกล้ตัวตั้งแต่เด็ก เช่น เด็กที่เห็นพ่อแม่ทำร้ายกัน โตขึ้นมาก็อาจเป็นผู้ลงมือทำต่อเสียเอง

อย่างเคสนี้เช่นเดียวกัน  เป็นไปได้ว่าเธอเอง ก็เคยถูกเหยียดมาก่อน ในสังคมอเมริกันที่มีการเหยียดสีผิวรุนแรง แม้จะเคยเจ็บปวด แต่มันก็ทำให้เธอ มีแนวโน้มเลียนแบบพฤติกรรมเดิมเพื่อ “เอาตัวรอด” ได้โดยไม่รู้สึกผิด เพราะซึมซับมาแต่เด็ก

บ่งบอกถึง ตัวตนคนพูด ยังไงบ้าง?

เป็นคนขี้อิจฉา เพราะโดยมากเรามักเหยียดคนที่มีอะไรบางอย่าง ที่เราไม่มี 
เพราะถ้าเขามองว่า ลิซ ดังน้อยกว่า เขาจะไม่เหยียดเพราะไม่มีอะไรให้ต้องแข่ง ต้องเหยียบกดลงมา แต่มันไม่ได้สะท้อนความจริง เกี่ยวกับลิซ่า แต่อย่างใด

เป็นคน Self-esteem ต่ำ รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า จิตใจเปราะบางมาก ไม่ได้มั่นใจในตัวเองแบบเปลือกนอก แต่สร้างขึ้นมาเพื่อให้คนอื่นดูไม่ออก ให้ตัวเองเข้มแข็ง มีอำนาจ ยิ่งใหญ่
แต่ จริงๆต้องการการยอมรับ ความรัก  แต่ไม่รู้ตัวทำยังไง จึงแสดงออกผ่านวิธีที่ไม่ถูก
โดยการ กดเหยียบ คนอื่นลงมา เพื่อให้รู้สึกว่า ตัวเองสูงขึ้นไง

ทำไมคนฟัง ก็ยังเจ็บปวดก่อน?

เพราะสมองรับรู้ ภัยคุกคาม ก่อน เหตุผล จะทำงาน   จึงแสดงอาการโกรธ อาย  เพื่อเตือนให้เรา ป้องกันตัว และจะเจ็บมากทันที ถ้าไปโดนจุดที่เคยเจ็บมา และเพราะเราถูกสอนให้ แคร์คนอื่น เพื่อความอยู่รอดในสังคม  ดังนั้น ถึงจะรู้เหตุผลว่าอีกฝ่ายไร้สาระ แทบไม่รู้จักเราเลย มันไม่จริง     

แต่จิตใต้สำนึกเราก็แอบกลัวว่า  “หรือมันคือความจริง ที่เราไม่อยากยอมรับ?” หรือ  “แล้วคนอื่นจะเชื่อเขาไหม?”

คำเหยียด จึงมักทำให้มนุษย์เราเจ็บปวด ก่อนจะคิดได้ว่า มันไม่จริง 

แต่พอเราเข้าใจว่ามันคือ กระบวนการทางจิตวิทยา เพื่อหาทางออกให้จิตใจคนพูด นอกจากเราอาจจะไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อโดนเหยียดอีกต่อไป มันอาจจะทำให้เรา เข้าใจหัวใจคนผู้พูดมากขึ้น 

แทนที่จะโต้ตอบกลับด้วยความโกรธแค้น หรือส่งต่อ hate speech ให้สังคม เราอาจเปลี่ยนเป็น ความรู้สึกเห็นใจ และเข้าใจ พวกเขาแทน เพื่อให้สังคมเกิดความเข้าใจกันมากขึ้น

และสุดท้ายผู้เขียนมองว่า ผู้ที่หัวใจมีแต่ความริษยา ย่อมมีความทุกข์มากกว่า คนที่ใช้ชีวิตด้วยความสุข มองแต่สิ่งดี ๆ และโฟกัสแค่เรื่องของตัวเอง แน่นอน

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง