รีเซต

วิถีทางสู่ความเจริญ 'ทางรถไฟจีน-ลาว' ส่งเสริมการพัฒนาร่วมกัน

วิถีทางสู่ความเจริญ 'ทางรถไฟจีน-ลาว' ส่งเสริมการพัฒนาร่วมกัน
Xinhua
23 สิงหาคม 2566 ( 19:07 )
59
วิถีทางสู่ความเจริญ 'ทางรถไฟจีน-ลาว' ส่งเสริมการพัฒนาร่วมกัน

ปักกิ่ง, 23 ส.ค. (ซินหัว) -- ทางรถไฟจีน-ลาว ระยะทาง 1,035 กิโลเมตร ซึ่งเชื่อมนครหลวงเวียงจันทน์ของลาวกับนครคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และเปิดให้บริการเมื่อเดือนธันวาคม 2021 ได้รับรองผู้โดยสารและสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากกลายเป็นตัวเลือกการเดินทางที่ประหยัดเงินและเวลาปัจจุบันทางรถไฟฯ ได้ขนส่งผู้โดยสาร 19 ล้านครั้ง และสินค้า 24 ล้านตัน ขณะการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนผ่านทางรถไฟสายนี้ครอบคลุมกว่า 10 ประเทศและภูมิภาค กลายเป็นโครงการเชื่อมต่อระหว่างแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ที่จีนนำเสนอ และยุทธศาสตร์ของลาวในการเปลี่ยนแปลงจากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อทางบกตัวพลิกเกมการพัฒนาเศรษฐกิจของลาว ซึ่งเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ถูกจำกัดมาเนิ่นนาน แต่ทางรถไฟจีน-ลาว กลายเป็นตัวพลิกเกม เปิดกว้างประเทศลาวสู่โอกาสทางเศรษฐกิจมากขึ้น กระตุ้นการเชื่อมต่อกับส่วนอื่นๆ ของภูมิภาค และอำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าของลาวตัวอย่างเช่นบริษัทของหยางสือเซียนในแขวงหลวงพระบางทางตอนเหนือของลาวได้เปลี่ยนจากการขนส่งทางถนนมาใช้ทางรถไฟจีน-ลาว ในการขนส่งสินค้าทั้งหมดสู่จีน แต่ละเดือนขนส่งผลิตภัณฑ์ยางราว 3,000 ตัน ซึ่งช่วยลดต้นทุน นำสู่การปรับขึ้นเงินเดือนให้พนักงานนอกจากนั้นทางรถไฟจีน-ลาว ยังส่งเสริมการพัฒนาภาคธุรกิจการท่องเที่ยว โดยการเปิดบริการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนของทางรถไฟฯ เมื่อเดือนเมษายน ช่วยฟื้นฟูการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญสูงสุดของรัฐบาลลาวในการพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจในปีนี้สำนักประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว สังกัดกระทรวงสารสนเทศ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวของลาว ระบุว่าลาวต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ (มกราคม-มิถุนายน) มากกว่า 1.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นมหาศาลจากจำนวน 42,197 คนในปีก่อน และลาวคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เยือนลาวในปีนี้จะอยู่ที่ราว 368,000 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 จากปีก่อนจาก "เชื่อมยาก" สู่ "เชื่อมใจ"มะนิลา สมบันดิธ กงสุลใหญ่ลาว ณ นครคุนหมิง กล่าวว่าทางรถไฟจีน-ลาว เป็นหมุดหมายมิตรภาพของสองประเทศในยุคใหม่ผู้คนจำนวนมากเฉกเช่นเดียวกับ ศิลิวงศ์ ภูธัชชาญ ครูชาวลาว มองว่าทางรถไฟจีน-ลาว เป็นมากกว่าโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ แต่เป็นโครงการที่ส่งเสริมสายสัมพันธ์ระหว่างประชาชน โดยศิลิวงศ์และครูชาวลาวอีก 39 คน เพิ่งเสร็จสิ้นการอบรมระยะ 18 เดือน ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาและเทคนิคการรถไฟคุนหมิงศิลิวงศ์และคณะครูได้เรียนรู้การสอนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับทางรถไฟ และจะกลายเป็นครูกลุ่มแรกประจำวิทยาลัยอาชีวศึกษาและเทคนิคการรถไฟแห่งแรกของลาว ซึ่งจีนช่วยสร้างหม่าหย่ง หัวหน้าสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สังกัดสถาบันสังคมศาสตร์อวิ๋นหนาน กล่าวว่าทางรถไฟจีน-ลาว ได้เปลี่ยนการเชื่อมต่อระหว่างสองประเทศที่ยากลำบากเป็นการเชื่อมโยงหัวใจระหว่างประชาชนสองประเทศจากดินแดนไร้ทางออกสู่ทะเลเป็นดินแดนแห่งการเชื่อมต่อปัณณรส บุญเสริม ชาวไทยวัย 33 ปี ประทับใจกับทางรถไฟจีน-ลาว ที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตผู้คนในลาว โดยเธอที่ทำงานเป็นนักแปลประจำโครงการก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย คาดหวังว่าทางรถไฟจีน-ไทย จะสร้างเสร็จสิ้นและเริ่มดำเนินงานโดยเร็วที่สุดหลังจากเล่าเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยหนานไคในเทศบาลนครเทียนจินทางตอนเหนือของจีนมานานหลายปี ปัณณรสได้เดินทางเยือนหลายสถานที่ในจีน และพบว่าทางรถไฟความเร็วสูงได้ยกระดับมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน"ฉันหวังว่าอนาคตจะมีการเชื่อมต่อทางรถไฟจีน-ลาว-ไทย ถึงเวลานั้นจะได้นั่งรถไฟจากกรุงเทพฯ ขึ้นเหนือยาวไปถึงคุนหมิง" ปัณณรสกล่าวอนึ่ง ทางรถไฟจีน-ไทย ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จจะเดินรถจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดหนองคาย ซึ่งจะมีสะพานทางรถไฟเชื่อมกับปลายทางของทางรถไฟจีน-ลาว โดยเหล่านักวิเคราะห์มองว่าการเชื่อมต่อดังกล่าวจะอัดฉีดพลังสู่เศรษฐกิจตลอดเส้นทาง เสริมสร้างเครือข่ายทางรถไฟข้ามเอเชีย และส่งเสริมการเชื่อมต่อระดับภูมิภาควิรุฬห์ พิชัยวงศ์ภักดี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีน ซึ่งเดินทางเยือนลาวหลายครั้งเพื่อทำการวิจัยทางรถไฟจีน-ลาว กล่าวว่าอนาคตจะมีเส้นทางสัญจรหลักที่วิ่งผ่านคาบสมุทรอินโดจีน ซึ่งจะส่งเสริมเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน รวมถึงกระตุ้นความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน เมื่อเชื่อมกับเครือข่ายรถไฟสินค้าจีน-ยุโรป และมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นภายใต้แผนริเริ่มฯ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง