รีเซต

ญี่ปุ่นจ่อปล่อย 'น้ำเสียปนเปื้อนนิวเคลียร์' 54,600 ตัน ในปีงบฯ 2024

ญี่ปุ่นจ่อปล่อย 'น้ำเสียปนเปื้อนนิวเคลียร์' 54,600 ตัน ในปีงบฯ 2024
Xinhua
26 มกราคม 2567 ( 21:58 )
24
ญี่ปุ่นจ่อปล่อย 'น้ำเสียปนเปื้อนนิวเคลียร์' 54,600 ตัน ในปีงบฯ 2024

(แฟ้มภาพซินหัว : ประชาชนร่วมชุมนุมคัดค้านแผนการปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิลงสู่ทะเล หน้าสำนักงานใหญ่ของเทปโก (TEPCO) ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่น วันที่ 24 ส.ค. 2023)

โตเกียว, 26 ม.ค. (ซินหัว) -- บริษัทโตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ คอมปานี หรือเทปโก (TEPCO) ผู้ดำเนินงานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะของญี่ปุ่น ประกาศแผนการปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนนิวเคลียร์ประมาณ 54,600 ตันจากโรงไฟฟ้าฯ ลงสู่มหาสมุทรในปีงบประมาณ 2024

แผนดังกล่าวถูกประกาศเมื่อวันพฤหัสบดี (25 ม.ค.) โดยเผยการคาดการณ์ว่าน้ำเสียจะถูกปล่อยลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก แบ่งเป็น 7 รอบ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2024 จนถึง 31 มี.ค. 2025 โดยบริษัทฯ จะจัดทำแผนการปล่อยน้ำเสียให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 มี.ค. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของปีงบประมาณ 2023

การปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฯ เริ่มดำเนินการในเดือนสิงหาคม 2023 แม้มีความกังวลและเสียงคัดค้านในหมู่ชาวประมงท้องถิ่นจังหวัดฟุกุชิมะ รวมถึงประเทศอื่นๆ โดยในปีงบประมาณ 2023 บริษัทฯ ตั้งเป้าปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีทั้งหมดราว 31,200 ตัน ใน 4 รอบ โดยรอบที่ 4 มีกำหนดดำเนินการช่วงปลายเดือนหน้า

อนึ่ง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ เสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ตามมาตราแมกนิจูด และคลื่นสึนามิ เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2011 ส่งผลให้แกนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลอมละลายและปล่อยรังสีจนเกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ระดับ 7 ซึ่งจัดเป็นระดับสูงสุดของมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ (INES)

โรงไฟฟ้าแห่งนี้ผลิตน้ำจำนวนมหาศาลที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีจากการหล่อเย็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในโครงสร้างเตาปฏิกรณ์ และปัจจุบันถูกกักเก็บไว้ในถังของโรงไฟฟ้า

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง