รีเซต

ผอ.แล็บอู่ฮั่นยัน “ไวรัสค้างคาว” ไม่ใช่โควิด-19 คล้ายสุดแค่ 79% (คลิป)

ผอ.แล็บอู่ฮั่นยัน “ไวรัสค้างคาว” ไม่ใช่โควิด-19 คล้ายสุดแค่ 79% (คลิป)
ข่าวสด
24 พฤษภาคม 2563 ( 17:40 )
386
ผอ.แล็บอู่ฮั่นยัน “ไวรัสค้างคาว” ไม่ใช่โควิด-19 คล้ายสุดแค่ 79% (คลิป)

ผอ.แล็บอู่ฮั่นยัน “ไวรัสค้างคาว” ไม่ใช่โควิด-19 คล้ายสุดแค่ 79%

ผอ.แล็บอู่ฮั่นยัน - วันที่ 24 พ.ค. สเตรตส์ไทมส์ รายงานจากบทสัมภาษณ์ของ ดร.หวัง เยี่ยนอี้ นักภูมิคุ้มกันวิทยา และผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยไวรัสวิทยาแห่งเมืองอู่ฮั่น ในมณฑลหูเป่ย ทางตอนกลางของประเทศจีน ศูนย์กลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ Sars-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 แห่งแรกของโลก ซึ่งให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 พ.ค. แต่ออกอากาศเมื่อค่ำวันเสาร์ที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา

https://www.youtube.com/watch?v=dWy8a5JtPss

โดยดร.หวังยอมรับว่าห้องทดลองของสถาบันได้รับและแยกเก็บตัวอย่างเชื้อไวรัสโคโรนาที่มาจากค้างคาว ซึ่งปัจจุบันทางห้องทดลองมีไวรัสชนิดนี้ทั้งหมด 3 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่ใกล้กับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 มีความคล้ายคลึงสูงสุดที่ร้อยละ 79.8 เท่านั้น

ดร.หวังระบุอีกว่าจีโนมหรือข้อมูลทางพันธุกรรมของ Sars-CoV-2 มีความคล้ายกับไวรัสซาร์สที่ร้อยละ 80 ดังนั้นงานวิจัยของ ดร.ฉือ เจิ้งหลี่ หัวหน้าโครงการศึกษาการติดเชื้อและภูมิคุ้มกันไวรัสในค้างคาว ซึ่งค้นคว้าเฉพาะไวรัสซาร์สที่พบในค้างคาวมาตั้งแต่ปี 2547 นั้น บ่งชี้ให้เห็นว่าสถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่นศึกษาไวรัสสายพันธุ์อื่นที่แตกต่างจากไวรัสก่อโรคโควิด-19

Dr.Wang Yanyi, head of the Wuhan Institute of Virology. (Internet)

และว่าทางสถาบันได้รับตัวอย่างไวรัส Sars-CoV-2 ซึ่งขณะนั้นเป็นตัวอย่างเชื้อไม่รู้ที่มา เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2562 ก่อนนำไปหาลำดับคู่เบสในสายดีเอ็นเอในวันที่ 2 ม.ค.2563 และส่งข้อมูลเชื้อก่อโรคที่ศึกษาได้ให้กับองค์การอนามัยโลก (WHO) ในวันที่ 11 ม.ค.

“ในความเป็นจริงคือเหมือนกับทุกๆ คน เราไม่เคยรู้จักไวรัสสายพันธุ์นี้ว่ามีตัวตนมาก่อน ดังนั้นเชื้อจะหลุดรั่วออกจากห้องทดลองของเราซึ่งไม่เคยมีไวรัสนี้มาก่อนได้อย่างไร” ดร.หวังอธิบาย ท่ามกลางการตั้งข้อสงสัยและการโจมตีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศกร้าวว่ามีหลักฐานว่าไวรัสโควิด-19 มาจากห้องทดลองของสถาบันวิจัยไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่น

Dr. Shi Zhengli pictured in a lab in 2017. Her research into deadly bat-derived coronaviruses was cited a key concern by the intelligence, according to the dossier. EPA

Dr Wang Yanyi said the centre has "isolated and obtained some coronaviruses from bats. "Now we have three strains of live viruses. But their highest similarity to Sars-CoV-2 only reaches 79.8 per cent," she said. Xinhua

File Photo: One of their research teams, led by Professor Shi Zhengli, has been researching bat coronaviruses since 2004 and focused on the "source tracing of Sars", the strain behind another virus outbreak nearly two decades ago. EPA

File Photo: "We know that the whole genome of Sars-CoV-2 is only 80 per cent similar to that of Sars. It's an obvious difference," she said. Xinhua

Researchers work on a test in China's first laboratory to study highly contagious and fatal diseases. The country's first biosafety level-4 laboratory was inaugurated in Wuhan, capital of Hubei province. CHINA DAILY

(FILES) This file photo taken on February 23, 2017 shows a worker inside the P4 laboratory in Wuhan, capital of China's Hubei province. AFP

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง