รีเซต

กล้องถ่ายรูปไร้เลนส์ ! ใช้เพียงตำแหน่งที่ตั้งและ AI เพื่อถ่ายภาพ

กล้องถ่ายรูปไร้เลนส์ ! ใช้เพียงตำแหน่งที่ตั้งและ AI เพื่อถ่ายภาพ
TNN ช่อง16
5 มิถุนายน 2566 ( 18:09 )
125
กล้องถ่ายรูปไร้เลนส์ ! ใช้เพียงตำแหน่งที่ตั้งและ AI เพื่อถ่ายภาพ

เลนส์นับเป็นหัวใจสำคัญในการถ่ายภาพ เพราะเลนส์มีหน้าที่รวบรวมแสงที่ตกกระทบบนเลนส์ ก่อนจะส่งต่อไปยังเซนเซอร์กล้องเพื่อนำไปสร้างเป็นภาพถ่ายต่อไป ดังนั้นหากไม่มีเลนส์กล้องแล้วจะไม่มีภาพถ่ายสร้างออกมา ทว่าในอนาคตเลนส์กล้องอาจจะไม่จำเป็นสำหรับการถ่ายรูปอีกต่อไป เมื่อวิศวกรชาวดัตช์ บิยอร์น คาร์มันน์ (Bjørn Karmann) พัฒนากล้องถ่ายรูปไร้เลนส์ที่มีชื่อว่า พารากราฟพลิกา (Paragraphica) โดยอาศัยข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งและปัญญาประดิษฐ์ในการสร้างภาพถ่าย ทำให้ได้รูปที่มีรายละเอียดสมจริงคล้ายกับการถ่ายด้วยกล้องถ่ายรูปทั่วไป แต่เป็นผลงานจากการสังเคราะห์ผ่านปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยมีฐานข้อมูลมาจากสถานที่จริงและปัจจัยอื่น ๆ ในขณะนั้นแทน


พารากราฟพลิกามีหน้าตาเป็นอย่างไร?

รูปลักษณ์ภายนอกของกล้องพารากราฟพลิกา หน้าตาคล้ายกล้องถ่ายรูปทรงสี่เหลี่ยมทั่วไป ตัวกล้องด้านหน้าไม่มีเลนส์ แต่จะมีวัสดุตกแต่งหน้าตาคล้ายจมูกของตุ่นจมูกดาว (Star-nosed mole) แปะอยู่ ส่วนด้านหลัง ประกอบด้วยจอภาพสัมผัสจำนวนหนึ่งจอ มีช่องมองภาพ (Viewfinder) เหมือนกับกล้องถ่ายรูปทั่วไป แต่มีจุดที่แตกต่างคือช่องมองภาพของพารากราฟพลิกาจะแสดงข้อความอธิบายตำแหน่งที่ตั้งปัจจุบันของผู้ใช้ และแป้นหมุนสามปุ่มด้านบนตัวเครื่อง ซึ่งทำหน้าที่คล้ายปุ่มปรับความเร็วซัตเตอร์ ความยาวโฟกัสในกล้องทั่วไป


จุดเด่นของพารากราฟพลิกา คงหนีไม่พ้นอุปกรณ์สีแดงรูปร่างคล้าย จมูกตุ่นจมูกดาว (Star-nosed mole) ที่แทนที่บริเวณเลนส์กล้อง โดยคาร์มันน์ตั้งใจนำเอกลักษณ์ของตุ่นจมูกดาวมาใช้กับพารากราฟพลิกา เนื่องจากตุ่นจมูกดาวเป็นสัตว์ตาบอด อาศัยการดมกลิ่นเป็นหลัก ไม่ต้องพึ่งพาแสงในการมองเห็น เช่นเดียวกับพารากราฟพลิกาที่ไม่ต้องอาศัยแสงตกกระทบบนเลนส์ในการสร้างรูปถ่ายออกมา


https://bjoernkarmann.dk/project/paragraphica

 พารากราฟพลิกาทำงานอย่างไร?

เมื่อผู้ใช้กดปุ่มชัตเตอร์ถ่ายภาพ พารากราฟพลิกาก็จะทำงาน โดยเริ่มต้นจากการเก็บข้อมูลตำแหน่งที่ตั้ง สภาพอากาศ วันที่เวลา และสถานที่ใกล้เคียงขณะถ่ายภาพด้วย โอเพน เอพีไอ (Open APIs) ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่อาศัยการเชื่อมต่อโปรแกรมหลายตัวเพื่อนำมาประมวลผลข้อมูล หลังจากนั้นพารากราฟพลิกา ก็จะสร้างสร้างข้อความที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่และช่วงเวลาขณะนั้น ก่อนจะส่งข้อมูลดังกล่าวให้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อแปลงข้อความออกมาเป็นรูปภาพ


https://bjoernkarmann.dk/project/paragraphica

 

เว็บไซต์ของคาร์มันน์ระบุว่า ตัวพารากราฟพลิกาใช้คอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว ราสเบอร์รี่ พาย 4 (Raspberry Pi) เพื่อใช้ควบคุมระบบปฏิบัติการ ในส่วนของซอฟต์แวร์ พารากราฟพลิกาใช้โมเดลปัญญาประดิษฐ์ สเตเบิล ดิฟฟิวชัน (Stable Diffusion) นูเดิล (Noodl) และเขียนโค้ดหรือคำสั่งด้วยภาษาไพทอน (Python)


นอกจากนี้ ผู้ใช้สามารถใช้แป้นหมุนสามปุ่มบนตัวเครื่อง เพื่อควบคุมข้อมูลและตั้งค่าการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ ปรับแต่งรูปภาพได้ตามต้องการ คล้ายกับหลักการตั้งค่ากล้องถ่ายรูปทั่วไปที่มีเลนส์ แต่ผู้ใช้พารากราฟพลิกาต้องกำหนดรัศมีพื้นที่การค้นหาข้อมูลและสถานที่ของกล้อง ตั้งค่าตั้งค่าจุดสีในรูป (Noise) และตั้งค่าระดับความสำคัญในภาพ (Guidance Scale) เพื่อให้ปัญญาประดิษฐ์ทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากที่สุด 


https://bjoernkarmann.dk/project/paragraphica

 


https://bjoernkarmann.dk/project/paragraphica

เมื่อปัญญาประดิษฐ์ประมวลผลเสร็จสิ้น รูปภาพที่ได้ ก็จะแสดงผ่านหน้าจอสัมผัส ซึ่งคาร์มันน์กล่าวว่า “รูปถ่ายที่สร้างจากพารากราฟพลิกามีอารมณ์และโทนสีคล้ายกับสถานที่จริง แต่ยังไม่เหมือนกับถ่ายภาพจริงทุกประการ” เนื่องจากพารากราฟพลิกาประมวลผลรูปภาพจากชุดข้อมูลที่ป้อนให้ปัญญาประดิษฐ์เป็นหลัก ทำให้รายละเอียดต่าง ๆ ในภาพ เช่น สีรถยนต์ เครื่องแต่งกาย และรูปร่างก้อนเมฆจะแตกต่างกันตามความละเอียดของชุดข้อมูล

 

แน่นอนว่าพารากราฟพลิกายังไม่อาจแทนที่กล้องถ่ายรูปทั่วไปได้เสียทีเดียว นอกจากนี้คาร์มันน์ยังชี้แจงว่า พารากราฟพลิกาเป็นเพียง ‘โปรเจกต์ศิลปะ’ เขาไม่มีเจตนาที่ผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ หรือท้าทายวงการการถ่ายภาพแต่อย่างใด แต่คาร์มันน์ตั้งใจจะตั้งคำถามถึงบทบาทของปัญญาประดิษฐ์ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่กำลังก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการว่าในอนาคตปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาแทนที่ศิลปินมนุษย์ได้หรือไม่ หรือศิลปินมนุษย์ควรหันมาทำงานร่วมมือกับปัญญาประดิษฐ์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ 


โดยผู้ที่สนใจสามารถรับชม ‘ภาพถ่าย’ จากพารากราฟพลิกาได้ผ่านเว็บไซต์ bjoernkarmann 

และทดลองใช้กล้องพารากราฟพลิกาได้ผ่านเว็บไซต์ camera


ที่มาข้อมูล Futurism, Indianexpressbjoernkarmann.dk

ที่มารูปภาพ bjoernkarmann.dk

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง