รีเซต

อินเดียไฟเขียว! ใช้วัคซีนโควิดจาก "DNA" ตัวแรกของโลก

อินเดียไฟเขียว! ใช้วัคซีนโควิดจาก "DNA" ตัวแรกของโลก
TNN ช่อง16
21 สิงหาคม 2564 ( 17:27 )
75

วันนี้( 21 ส.ค.64) สำนักงานกำกับดูแลยาของอินเดีย อนุมัติการใช้วัคซีนโควิด-19 “ไซคอฟ-ดี” ของ “ไซดัสคาดิลา” บริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ของอินเดียเป็นกรณีฉุกเฉินแล้ว โดยวัคซีนดังกล่าวจะเป็นวัคซีนดีเอ็นเอ (DNA) ตัวแรกของโลก ในการใช้ป้องกันโควิดสำหรับผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้น

วัคซีนไซคอฟ-ดี ใช้สารพันธุกรรมโดยตรงจากไวรัสที่ใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอ หรือ อาร์เอ็นเอ เพื่อสร้างโปรตีนเฉพาะที่ระบบภูมิคุ้มกันรับรู้และตอบสนอง โดยต้องฉีด 3 เข็ม มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อ อยู่ที่ร้อยละ 66.6 หลังทดสอบในกลุ่มตัวอย่าง มากกว่า28,000คนทั่วประเทศ นอกจากนี้วัคซีนดังกล่าวต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ เพื่อให้วัคซีนเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังด้วยความเร็วสูง โดยบริษัทไซดัสคาดิลา ตั้งเป้าผลิตวัคซีนนี้ประมาณ 120 ล้านโดสต่อปี ซึ่งจะช่วยยกระดับการรับมือเชื้อโควิดชนิดกลายพันธุ์โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตา

ขณะที่หนังสือพิพม์นิวยอร์คไทม์ รายงานว่า องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ หรือ เอฟดีเอ เตรียมอนุมัติการใช้วัคซีนไฟเซอร์อย่างเต็มรูปแบบ วันที่ 23 สิงหาคมนี้ โดยเป็นการยกระดับจากการอนุมัติใช้เพียงกรณีฉุกเฉิน ข่าวนี้เกิดขึ้นหลังจากเอฟดีเอ เพิ่งอนุมัติให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์ เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น หรือ เข็มที่ 3 สำหรับกลุ่มผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ และทางทำเนียบขาวเพิ่งประกาศแผนการฉีดวัคซีนเข็ม 3 ไปเมื่อต้นสัปดาห์นี้ ว่า จะเริ่มฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายนนี้ ให้ได้ 100 ล้านคน โดยจะฉีดให้แก่กลุ่มเสี่ยงสูง คือ กลุ่มที่ฉีดวัคซีนมานานกว่า 8 เดือนแล้ว หรือได้ฉีดวัคซีนไปตั้งแต่ช่วงต้นของการเริ่มฉีดวัคซีนในสหรัฐฯ ที่เริ่มฉีดเข็มแรกไปตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว

ด้าน บริษัทโมเดอร์นา ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ว่านับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป พนักงานทุกภาคส่วนและทุกระดับของโมเดอร์นา ที่อยู่ในสหรัฐต้องฉีดวัคซีนให้ครบ "อย่างน้อยสองเข็ม" 

จึงจะสามารถเข้ามาปฏิบัติงานภายในพื้นที่ได้ โดยยกเว้นให้กับเงื่อนไขทางศาสนาและสุขภาพส่วนบุคคลเท่านั้น บริษัทจะพิจารณาเป็นรายกรณี ซึ่งพนักงานที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนต้องยอมรับเงื่อนไขในการเข้ารับการตรวจคัดกรองมากกว่าปกติ ทั้งนี้ บริษัท ไฟเซอร์ คู่แข่งสำคัญ ได้ประกาศมาตรการคล้ายกันนี้เช่นกัน เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง