นักวิทย์จีนเผยการค้นพบใหม่ คาดเป็น 'ดาวนิวตรอน' ใกล้โลกที่สุด-เบาที่สุด
ปักกิ่ง, 16 มี.ค. (ซินหัว) -- คณะนักดาราศาสตร์จีนเผยการค้นพบวัตถุที่คาดว่าอาจเป็นดาวนิวตรอนลักษณะแปลกประหลาดในระบบดาวคู่ ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 385 ปีแสง โดยอาจเป็นดาวนิวตรอนใกล้โลกที่สุดและเบาที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมาหากได้รับการยืนยันคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งและหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน รายงานการค้นพบข้างต้นโดยอ้างอิงจากการสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ลามอสต์ และกล้องโทรทรรศน์สนามกว้างหนานซาน ขนาด 1 เมตร ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนผลการวิจัยที่เผยแพร่ผ่านวารสารแอสโตรฟิสิคอล เจอร์นัล เลตเตอร์ส (Astrophysical Journal Letters) ระบุว่าวัตถุดังกล่าวเป็นชิ้นส่วนคู่มิตรกับดาวอายุมากดวงหนึ่ง โดยมีมวลเพียง 0.98 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ และถูกสันนิษฐานว่าคล้ายคลึงกับดาวนิวตรอนที่แยกตัวออกจากแสงวาบรังสีเอกซ์ (XDINS) ทว่าอยู่ในระบบดาวคู่ปัจจุบันมีการค้นพบดาวเอ็กซ์ดีไอเอ็นเอสเพียง 7 ดวงเท่านั้น มันเป็นวัตถุแปลกประหลาดที่มีสัญญาณวิทยุที่ตรวจจับแทบไม่ได้ และถูกตั้งชื่อว่าแมกนิฟิเซนต์ เซเวน (Magnificent Seven) โดยอยู่ห่างจากโลกประมาณ 391-1,630 ปีแสงก่อนหน้านี้ผู้เชี่ยวชาญเชื่อกันว่าดาวนิวตรอนข้างต้นก่อตัวเป็นรูปร่างผ่านซูเปอร์โนวาแกนยุบ แต่พวกมันมีแนวโน้มว่าอาจมีมวลมากกว่า 1.17 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ข้อมูลเชิงสเปกตรัมของกล้องโทรทรรศน์ลามอสต์ยังแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของจานรวมมวล (accretion disk) ขนาดเล็กรอบวัตถุที่อาจเป็นดาวนิวตรอนนี้ รวมถึงระดับกิจกรรมของจานรวมมวลคณะนักวิจัยระบุว่าการค้นพบครั้งใหม่บอกเป็นนัยว่าวัตถุที่อาจเป็นดาวนิวตรอนข้างต้นอาจจะถือกำเนิดผ่านแนวทางอื่น เช่น การยุบตัวของดาวแคระขาวหลังจากสะสมมวลเพิ่ม