รีเซต

MEA ร่วมงาน สวทช. เปิดตัวและส่งมอบ E-bus โครงการการพัฒนารถโดยสารประจำทางใช้แล้ว ขสมก.

MEA ร่วมงาน สวทช. เปิดตัวและส่งมอบ E-bus โครงการการพัฒนารถโดยสารประจำทางใช้แล้ว ขสมก.
TNN ช่อง16
1 มิถุนายน 2565 ( 17:35 )
101

ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประธานในงานเปิดตัวและส่งมอบผลงานโครงการการพัฒนาต้นแบบอุตสาหกรรมการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าภายใต้โครงการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้า จากรถโดยสารประจำทางใช้แล้ว ขสมก. (City transit E-buses) หรือ E-bus ครั้งแรกในไทย พร้อมด้วย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภาคีเครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าไทย ส่งมอบต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้าให้แก่ 4 หน่วยงานประกอบด้วย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) การไฟฟ้านครหลวง (MEA) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) โดยมี นางสาวภัทรา สุวรรณเดช ผู้ช่วยผู้ว่าการ MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง เป็นผู้แทนรับมอบ พร้อมทั้งมีคณะผู้บริหารหน่วยงานและสื่อมวลชน เข้าร่วมงานและนั่งทดสอบประสิทธิภาพและสมรรถนะของรถโดยสารไฟฟ้าที่สามารถวิ่งได้อย่างราบรื่น ไม่ก่อมลพิษทั้งทางเสียง และทางอากาศ ภายในกว้างขวางมีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยต่อผู้โดยสารตามมาตรฐานสากล ณ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยผู้ว่าการ MEA เปิดเผยว่า MEA เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้นำการขับเคลื่อนการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย มุ่งมั่นขับเคลื่อนวิสัยทัศน์พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร พร้อมขับเคลื่อนตามแผนงานด้านพลังงานของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย และพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในฐานะผู้สนับสนุนการพัฒนาจะนำรถโดยสารไฟฟ้าโครงการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าจากรถโดยสารประจำทางใช้แล้วของ ขสมก. (City transit E-buses)” หรือ E-bus ซึ่งเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญของภาคีเครือข่าย โดยมี บริษัท โชคนำชัย-ไฮเทคเพลสซิ่ง จำกัด พัฒนารถโดยสารไฟฟ้า (E-bus) สัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ 40% ที่มุ่งเน้นการพัฒนาตัวถังจากวัสดุน้ำหนักเบา ด้วยตัวถังอลูมิเนียม ลดน้ำหนักตัวถังเพิ่มประสิทธิภาพการขับขี่ ใช้ระยะเวลาในการประจุไฟฟ้า 2-3 ชั่วโมง ระยะทางต่อรอบการประจุ 250 กิโลเมตร/การประจุไฟฟ้า 1 ครั้ง เพื่อส่งมอบให้แก่ MEA นำมาศึกษาวิจัยการใช้งานจริงภายในองค์กร เพื่อการออกแบบรูปแบบการให้บริการรถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะในระยะยาวสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าในประเทศ ที่สำคัญทำงานร่วมกับของหน่วยงานต่างๆ แบบจตุภาคี ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำตามแนวนโยบายโมเดลเศรษฐกิจ BCG หรือ Bio-Circular-Green Economy เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่พัฒนาต่อยอด บูรณาการการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่ม ที่สามารถผลิตรถโดยสารไฟฟ้าใช้เองในประเทศ ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับคนไทย โครงการดังกล่าว ฯ นอกจากจะช่วยขับเคลื่อนนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาลในการเปลี่ยนรถโดยสารสาธารณะเป็นรถพลังงานไฟฟ้าแล้วยังช่วยลดมลพิษทางอากาศและฝุ่น PM 2.5 และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงของผู้ใช้งานทุกภาคส่วน ในการเตรียมความพร้อมรองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่จะมาทดแทนรถยนต์น้ำมันในอนาคตนอกจากนี้ MEA ได้ดำเนินนโยบายในด้านรถยนต์ไฟฟ้า (EV) มาอย่างต่อเนื่อง MEA ครบรอบ 10 ปี EV ในการเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนผ่านการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทดแทนรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน ภายใต้โครงการ "มหานครสดใส ชาร์จไฟกับ กฟน." ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ในการติดตั้งหัวชาร์จ MEA EV จำนวน 100 หัวชาร์จ และขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าในพื้นที่สาธารณะในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ให้มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการใช้งานหัวชาร์จ MEA EV ที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้บริการหัวชาร์จที่สะดวกผ่าน MEA EV Application ปัจจุบัน MEA ได้ดำเนินการติดตั้งหัวชาร์จ MEA EV จำนวน 24 สถานีชาร์จ ที่ทำการไฟฟ้านครหลวงเขตต่าง ๆ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ และที่บริเวณ 7-Eleven สาขาบ้านสวนลาซาล (ศรีนครินทร์) และ สาขา สน.บางขุนนนท์ สวนเบญจกิติ และจะดำเนินการติดตั้งหัวชาร์จ MEA EV แล้วเสร็จครบทุกจุดในเดือนธันวาคม 2565 นี้ ตลอดจนการติดตั้งและพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าของ MEA พร้อมเชื่อมต่อ Platform ระบบบริหารจัดการสถานีอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ วิเคราะห์ข้อมูลการชาร์จ และเชื่อมต่อกับ MEA EV Application รองรับการใช้งานและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด MEA EV Application ได้ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ได้ที่ https://onelink.to/meaevทั้งนี้ ผู้ใช้ไฟฟ้าที่สนใจใช้บริการออกแบบและติดตั้งเครื่องชาร์จไฟยานยนต์ไฟฟ้าภายในที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยของ MEA สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง MEA Call Center 1130 รวมถึงแจ้งผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ได้แก่ Facebook : การไฟฟ้านครหลวง MEA, Line : MEA Connect, Twitter: @mea_news ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

#E-bus #สวทช #ขสมก

#MEA10ปีEV #MEAEV #MEAsmartservice #EV #EVChargingStation #EVcharger 

#รถยนต์ไฟฟ้า #รถอีวี #รถพลังงานไฟฟ้า

#MEA #การไฟฟ้านครหลวง #พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง