รีเซต

ฟังชัดๆ ทำไมรัฐบาล ไม่จ่ายเงินสด 'เราชนะ' รวดเดียว 7พัน

ฟังชัดๆ ทำไมรัฐบาล ไม่จ่ายเงินสด 'เราชนะ' รวดเดียว 7พัน
มติชน
20 มกราคม 2564 ( 15:20 )
188

จากกรณี ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบโครงการเราชนะ แจกเงินให้ประชาชน 3,500 บาท จำนวน 2 เดือน จะต้องใช้จ่ายผ่านแอพฯ เป๋าตัง อย่างเดียวเท่านั้น จนเกิดกาวิพาษ์วิจารณ์

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : แห่คอมเมนต์ขณะ ‘อาคม’ ไลฟ์สดแจงเยียวยา ลั่น ขอเป็นเงินสดดีกว่า

 

คลัง เผย ไม่จ่ายเงินสด เพื่อรองรับ สงคมไร้เงินสด-ลดภาระค่าครองชีพ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ กล่าวว่าว่าจากในช่วงของโครงการเราไม่ทิ้งกัน ก็จะเห็นว่ามีประชาชนจำนวนมากออกมากดเงินสดที่ตู้กดเงินอัตโนมัติ หรือตู้เอทีเอ็ม ทำให้ใช้เวลารอต่อแถวนานและเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19

 

รวมทั้งเมื่อคนใช้ตู้เอทีเอ็มพร้อมกันเยอะๆก็อาจทำให้ระบบของตู้มีปัญหา รวมทั้งเพื่อให้เงินเข้าสู้กระเป๋าได้ทันทีโดยไม่ต้องกดเงิน และเพื่อรองรับสังคมไร้เงินสด ดังนั้น จึงตัดสินใจเติมเงินเข้า ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ (g-Wallet) ใน แอพพลิเคชัน เป๋าตัง

 

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า โดยหลักการและวิธีคิด ของรัฐบาลสำหรับโครงการเราชนะ นั้น ต้องการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนระยะเวลาประมาณ 2 เดือน เพราะฉะนั้น จึงเป็นแนวคิดที่ว่า รัฐบาลจะเติมเงินให้เป็นรายสัปดาห์ ไม่ได้ให้เป็นเงินก้อน โดยประชาชนที่ได้รับสิทธิสามารถนำเงินที่ได้รับจากโครงการเราชนะ ไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อลดภาระค่าครองชีพ และนำเงินสดที่มีอยู่ไปใช้จ่ายส่วนอื่นๆตามที่ต้องการแทน

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 มกราคม  น.ส.กุลยา ตันติเตมิท โฆษกกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ในรายการทีวีช่องหนึ่ง โดยระบุถึงเหตุผลที่รัฐบาลไม่จ่ายเงินเยียวยาผ่านโครงการ “เราชนะ” เป็นเงินสดรวดเดียว จำนวน 7,000 บาท ว่า

 

ไม่ใช่ว่ารัฐบาลไม่มีงบประมาณเพียงพอ แต่ตามที่นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา ได้ชี้แจงไปแล้วว่านโยบายดังกล่าวออกมาเพื่อต้องการช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า ช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย

 

รวมถึงช่วยเหลือร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง และเราชนะซึ่งเป็นรายย่อย เพราะเป็นการให้วงเงินไปใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง

 

ส่วนเหตุผลที่ทำไมรัฐไม่จ่ายรวดเดียว ต้องทยอยจ่ายเป็นรายสัปดาห์ โฆษกคลัง กล่าวว่า รัฐอยากให้เป็นการทยอยใช้จ่าย ป้องกันการนำเงินไปซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ย้ำว่าต้องการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของประชาชน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง