รีเซต

"แก๊งคอลเซ็นเตอร์" ทำพิษ คนไทย 1 ใน 4 ตกเป็นเหยื่อ แม้จะระวังตัวเพิ่มขึ้นก็ตาม

"แก๊งคอลเซ็นเตอร์" ทำพิษ คนไทย 1 ใน 4 ตกเป็นเหยื่อ แม้จะระวังตัวเพิ่มขึ้นก็ตาม
TNN ช่อง16
15 ตุลาคม 2567 ( 11:23 )
14
"แก๊งคอลเซ็นเตอร์" ทำพิษ คนไทย 1 ใน 4 ตกเป็นเหยื่อ แม้จะระวังตัวเพิ่มขึ้นก็ตาม

บริษัท โกโกลุก (Gogolook) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันฮูส์คอลล์ (Whoscall) ร่วมกับองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก (Global Anti-Scam Alliance: GASA) และ ScamAdviser เปิดรายงานสถานการณ์การหลองลวงจากมิจฉาชีพในประเทศไทย (State of Scams in Thailand) ประจำปี 2024 เผยถึงรูปแบบการหลอกลวงที่เปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อคนไทยกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 28 ของผู้ตอบแบบสอบถามการสำรวจความคิดเห็นของคนไทยกว่า 9,360 คนจากหลากหลายกลุ่มประชากรตลอด 1 ปี ที่ผ่านมา



คนไทย 1 ใน 4 เป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

รายงานดังกล่าวระบุว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 28 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ตกเป็นเหยื่อของมิชฉาชีพ โดยการส่งข้อความผ่านมือถือยังเป็นวิธีการหลอกลวงที่มิจฉาชีพใช้มากที่สุด ตามด้วย โฆษณาออนไลน์ การใช้แอปพลิเคชันต่างๆสำหรับส่งข้อความ และโพสต์บนโซเชียลมีเดีย โดย 5 ช่องทางที่ มิจฉาชีพใช้มากที่สุดในการหลอกลวงได้แก่ Facebook ร้อยละ 50 ตามด้วย Line ร้อยละ 43, Messenger ร้อยละ 39, TikTok ร้อยละ 25 และ Gmail ร้อยละ 20


ในรายงานยังระบุว่า กลุ่มสำรวจกว่าร้อยละ 55 ระมัดระวังในการป้องกันตนเองจากมิจฉาชีพมากขึ้น โดยร้อยละ 44 มั่นใจว่ารู้ทันกลลวง มิจฉาชีพด้วยการตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ ในขณะที่ร้อยละ 37 ของกลุ่มสำรวจมีการใช้แอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับ


อย่างไรก็ตาม กลุ่มสำรวจกว่าร้อยละ 89 ยังต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยเดือนละครั้ง และในกลุ่มสำรวจกว่าร้อยละ 58 ระบุว่าต้องรับมือกับมิจฉาชีพบ่อยขึ้น โดยเกือบ 1 ใน 10 ระบุว่าถูกก่อกวนจากมิจฉาชีพถี่ขึ้นต่อเดือน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 35 ของกลุ่มสำรวจเผยว่าได้รับโทรศัพท์และข้อความหลอกลวงหลายครั้งต่อสัปดาห์ 


ทั้งนี้ การได้รับคืนเงินที่ถูกมิจฉาชีพหลอกไปนั้นทำได้ยากขึ้นเมื่อเทียบกับปีผ่านมา ผลสำรวจพบว่ากว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 39 สูญเสียเงินภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากได้รับการติดต่อจากมิจฉาชีพ โดยมีเหยื่อเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น ที่ได้เงินที่ถูกหลอกไปคืนทั้งหมด แต่มีเหยื่อมากถึงร้อยละ 71 ไม่สามารถนำเงินที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้ และร้อยละ 73 ระบุว่าได้รับผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรงหลังจากถูกหลอกลวง


นายแมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกโกลุก (ประเทศไทย) กล่าวว่า “แม้จะมีความพยายามในการป้องกันภัยมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่องทั้งจากภาครัฐและเอกชน แต่ประเทศไทยยังคงประสบกับปัญหาจากการหลอกลวง และความพยายามในการหลอกกลวงจากมิจฉาชีพ โดยพบว่ามูลค่าความเสียหายที่เหยื่อถูกหลอกจากมิจฉาชีพเฉลี่ยสูงถึง 1,106 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 36,000 บาทต่อคน ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา”


มิจฉาชีพใช้ AI ปลอมหน้าตำรวจมากที่สุด

การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Identity Thef) และการใช้เทคโนโลยี AI เป็นรูปแบบกลโกงที่มิจฉาชีพใช้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ผลสำรวจระบุว่าการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลโดยการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อหลอก ให้เหยื่อโอนเงิน เป็นกลลวงที่พบมากที่สุดถึงร้อยละ 22  แซงหน้าการหลอกลวงให้ซื้อสินค้า (Shopping scams) ที่ร้อยละ 19 ตามมาด้วยการออกใบแจ้งหนี้ปลอม หรือการหลอกให้ชำระหนี้ที่ร้อยละ16 และการหลอกให้ลงทุนร้อยละ 14 ตามลำดับ 


นอกจากนี้ รายงานระบุว่าคนไทยมีความตระหนักรู้มากขึ้นว่ามิจฉาชีพนำเทคโนโลยี AI มาเป็นเทคนิคใหม่ในการเขียนข้อความสร้างบทสนทนาเลียนแบบเสียง รวมถึงสร้างภาพของบุคคลหรือสถานการณ์หลอกลวงในรูปแบบ ต่างๆ โดยร้อยละ 66 ของผู้ตอบแบบสอบถามมั่นใจว่าเคยได้รับข้อความที่เขียนโดยใช้เทคโนโลยี AI


นายจอริจ อับบราฮัม (Jorij Abraham) ผู้จัดการทั่วไป Global Anti-Scam Alliance (GASA) กล่าวว่า “รายงานสถานการณ์การหลองลวงจากมิจฉาชีพในประเทศไทยฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อปรับปรุงมาตรการป้องกัน เพิ่มการดำเนินการที่เข้มงวดและสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับภัยจาก มิจฉาชีพ  จากความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลและผลกระทบทางจิตใจที่เกิดขึ้นต่อผู้เสียหายทำให้เรา จำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อปกป้องประชาชนและฟื้นความเชื่อมั่นในการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล”


Whoscall เสนอตัวช่วยให้รอดจากมิจฉาชีพ

ในปัจจุบัน Gogolook ประกาศตัวเองเป็นบริษัทเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) ผ่านบริการ Whocalss ที่ในปัจจุบันนอกเหนือจากฟีเจอร์ Caller ID  และ Smart SMS Assistant ที่เป็นด่านหน้าในการป้องกันสายโทรเข้า และข้อความหลอกลวงแล้ว  Whoscall ได้เปิดตัวฟีเชอร์ใหม่ เช่น ID Security  (เช็กข้อมูลรั่วไหล) เพื่อช่วยตรวจสอบความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึง Auto Web Checker เพื่อปกป้องผู้ใช้จากการคลิก ลิงก์ฟิชชิ่ง (Phishing link) รวมไปถึง Scam Alert ศูนย์รวมข้อมูลเตือนภัยกลโกงมิจฉาชีพแห่งแรกในไทยด้วยเช่นกัน


โดยรายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุม the second GASA Global Anti-Scam Summit - Asia (GASS) ซึ่งเป็นการประชุมระดับนานาชาติเพื่อต่อต้านการหลอกลวงในภูมิภาค โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก GASA ผู้แทนจากองค์กรระดับโลกอย่าง Amazon, Google, Gogolook, Mastercard และ Meta รวมถึงเจ้าหน้าที่ จากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย สถาบันการเงิน และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เข้าร่วมงานเพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้ ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และพัฒนากลยุทธ์เพื่อปกป้องผู้คนจากการหลอกลวงในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง


ข้อมูล Gogolook (ประเทศไทย)

ภาพ Pexels

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง