รีเซต

จัดแข่ง Hackulture 2023 “illuminate Thai อัปเวลแฟชั่นไทยด้วยดิจิทัล”

จัดแข่ง Hackulture 2023 “illuminate Thai อัปเวลแฟชั่นไทยด้วยดิจิทัล”
TNN ช่อง16
11 สิงหาคม 2566 ( 16:34 )
77
จัดแข่ง Hackulture 2023 “illuminate Thai อัปเวลแฟชั่นไทยด้วยดิจิทัล”

สดช. ดัน soft power ไทย จัดแข่ง Hackulture 2023 “illuminate Thai อัปเวลแฟชั่นไทย ด้วยดิจิทัล” ชิงเงินรางวัลกว่า 4 แสนบาท เริ่ม 15 สิงหาคมนี้ 


เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) หรือ ONDE กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แถลงข่าวเปิดตัวโครงการส่งเสริมการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสู่รูปแบบดิจิทัล หรือ Digital Cultural Heritage ระยะที่ 2 พร้อมเชิญชวยร่วมกิจกรรมแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ “Hackulture 2023 illuminate Thai อัปเวลแฟชั่นไทย ด้วยดิจิทัล” เชิญชวนเยาวชนและประชาชนทั่วไป ประชัน  ไอเดียช่วยกันแฮกแฟชั่นไทยด้วยวัฒนธรรมและดิจิทัลคอนเทนต์ ปลุกพลัง Soft Power ไทยชิงเงินรางวัลรวมกว่า 400,000 บาท 


นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของกิจกรรมแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ (Hackathon) จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีประชันความสามารถของมนุษย์ยุคดิจิทัลให้ใช้ทักษะความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ ในการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม และยกระดับอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย ประกอบไปด้วย สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย เครื่องหนัง เครื่องประดับและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแฟชั่นไทย ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลและดิจิทัลแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการสร้าง Soft Power ที่สามารถสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจของชาติอย่างยั่งยืน”



“Hackulture 2023 illuminate Thai อัปเวลแฟชั่นไทย ด้วยดิจิทัล” จัดแข่งขัน 2 ระดับ ได้แก่ ระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษา (มัธยม / ปวช. / ปวส. / ปริญญาตรี) และระดับประชาชนทั่วไป (ประชาชนทั่วไป / ปริญญาโท / ปริญญาเอก) โดยรวมกลุ่ม 4-6 คน ร่วมประชันไอเดียและสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 สาขา ได้แก่ 


1) สาขาเทคโนโลยีดิจิทัล: คิดค้น สร้างสรรค์นวัตกรรมหรือปรับปรุงชิ้นงานกระบวนการที่มีอยู่เดิมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น สามารถสร้างความสะดวกสบายหรือเพิ่มมูลค่าเชิงการตลาด เช่น Application Game นวัตกรรมที่ใช้ใน Platform ที่มีอยู่เดิม AR VR นวัตกรรมที่ใช้การ Coding เทคโนโลยีบล็อกเชน และอื่น ๆ


2) สาขาสื่อมัลติมีเดีย: สร้างสรรค์ชิ้นงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงความคิดเดิม ๆ เพื่อนำไปสู่การสร้างกรอบความคิดใหม่ นำเสนอผลงานในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง อาทิ แอนิเมชัน โมชันกราฟิก 2D 3D Motion ภาพยนตร์สั้นที่มีการใช้ Computer Graphic เป็นองค์ประกอบในการนำเสนอ และอื่น ๆ เปิดรับผลงานตั้งแต่วันที่15 สิงหาคม- 30 กันยายน 2566 สมัครได้ที่ www.hackulture.com สอบถามเพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/dchthackulture หรือdcht2@event.hackulture.com เบอร์โทรศัพท์ : 099-4946664 


“ยังมีโอกาสนำเสนอผลงานต่อผู้บริหารองค์กรทางด้านดิจิทัลชั้นนำของประเทศไทย อาทิ สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชันและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ผู้บริหารห้างสรรพสินค้า Show DC ฯลฯอีกด้วย ซึ่งถ้าผลงานโดดเด่นและโดนใจนักลงทุน ก็จะเกิดการต่อยอดพัฒนาผลงาน และสร้างรายได้ได้จริงในอนาคต และทีมที่ผ่านรอบคัดเลือกทุกทีมจะได้รับทุน Smart Skills หลักสูตร E-Learning เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ที่ได้รับการยอมรับจากบริษัทดิจิทัลชั้นนำระดับโลก มูลค่าประมาณ 5,700 บาท โดยมอบให้กับสมาชิกในทีมทุกคนที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก”นายภุชพงค์


ทั้งนี้ นายภุชพงค์ ยังกล่าวอีกว่า “ในปีนี้ สดช. เลือก 1 ใน 5F (Food Film Fashion Fighting และ Festival) ของ Soft Power ไทยนั่นคือ F-Fashion มาเป็นธีมแข่งขัน Hackulture 2023 illuminate Thai อัปเวลแฟชั่นไทย ด้วยดิจิทัล จึงอยากเชิญชวนเยาวชนและประชาชนทั่วไป ร่วมประชันไอเดียช่วยกันแฮกแฟชั่นไทยด้วยวัฒนธรรมและดิจิทัลคอนเทนต์ ปลุกพลัง Soft Power ไทย ให้ดังไกลระดับโลก เพราะแฟชั่นไทยมีเสน่ห์ มีเรื่องเล่า มีเรื่องราวและแฝงด้วยวัฒนธรรมที่น่าสนใจสามารถนำสตอรี่ของแฟชั่นไทยเหล่านั้นมาสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจของชาติได้อย่างยั่งยืน โดยตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้แฟชั่นไทยดังไกลระดับโลกได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางก็คือดิจิทัลนั่นเอง


“การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมให้อยู่ในรูปแบบเนื้อหาดิจิทัล หรือ Digital Content อย่างสร้างสรรค์ ถือเป็นแนวทางหนึ่งในการธำรงรักษามรดกทางวัฒนธรรมของไทยให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน และเข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง สดช. จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสู่รูปแบบดิจิทัล หรือ Digital Cultural Heritage ขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะที่ 2 แล้ว 


นอกจากจัดแข่งขัน Hackathon ก็ยังมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยผ่านกระบวนการห้องปฏิบัติการนโยบายสาธารณะ หรือ Policy Lab เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ที่เกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรมแต่ละด้าน มีส่วนร่วมในการออกแบบนโยบายสาธารณะเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

ทั้งเจ้าของมรดกวัฒนธรรม เจ้าของแพลตฟอร์ม บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยี และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทุกภาคส่วนยอมรับว่า Cultural Contentมีความสำคัญมากๆ และเป็นรากฐานของ Soft Power ไทย ซึ่งต้องถูกนำมาใช้และสร้างรายได้เข้าประเทศ ผ่านยุทธศาสตร์ 5 แนวทาง ได้แก่ ศึกษารวบรวม อนุรักษ์ พัฒนาทักษะ ต่อยอด และเผยแพร่เนื้อหาวัฒนธรรมด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี



ภาพจาก คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.)

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง