สาวอัดคลิปเปิดวิธีสู้ชีวิตรับมือ "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" ง่ายๆได้ผลจริง
วันนี้ ( 23 มี.ค. 65 )นับเป็นปัญหาสังคมที่กำลังเป็นปัญหาหนักใจของพี่น้องชาวไทยอยู่ในขณะนี้สำหรับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่ชอบโทรหลอกลวงเหยื่อ โดยอ้างเป็นบริษัทขนส่ง หรือ แม้กระทั่งมาจากหน่วยงานรัฐต่างๆ ซึ่งมีบางรายหลงเชื่อสูญเสียเงินไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังสร้างความรำคาญให้แก่คนที่รู้ทันด้วยการโทรหาวันหนึ่งหลายสาย ล่าสุดผู้ใช้ติ๊กต็อกรายหนึ่งได้แชร์วิธีการรับมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ด้วยการรับสาย หลอกพูดคุยว่าจะให้ข้อมูล และ นำกะละมังสังกะสีมาครอบแล้วใช้ช้อนเคาะให้เกิดเสียงดัง จนกระทั่งมิจฉาชีพยอมพ่ายแพ้วางสายไป ซึ่งชาวเน็ตต่างระบุว่าเป็นวิธีง่ายๆใช้ได้ผลจริงโดยไม่ต้องไปต่อปากต่อคำกับบุคคลเหล่านี้
ทั้งนี้สตช.ได้ข้อมูลระบุว่ารูปแบบอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่มิจฉาชีพมักใช้ในการหลอกลวงประชาชน จำนวน 14 รูปแบบ ได้แก่
1.หลอกขายของออนไลน์
2.Call Center หลอกลวงข่มขู่ อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ให้เหยื่อโอนเงินให้
3.เงินกู้ออนไลน์ดอกเบี้ยโหด
4.เงินกู้ออนไลน์ที่ไม่มีจริง (เงินกู้ทิพย์)
5.หลอกให้ลงทุนต่างๆ โดยอ้างผลตอบแทนสูงที่ไม่มีจริง
6.หลอกให้เล่นพนันออนไลน์
7.Romance scam หรือ Hybrid scam หลอกให้รักลวงเอาทรัพย์สิน ลวงให้ลงทุน
8.ลิงก์ปลอมหลอกแฮกข้อมูลโทรศัพท์
9.แชท Line/Facebook ปลอม Account ลวงยืมเงิน
10.หลอกเอาข้อมูลส่วนตัว - OTP
11.ข่าวปลอม (Fake news) - ชัวร์ก่อนแชร์
12.หลอกลวงเอาภาพโป๊เปลือยเพื่อใช้แบล็คเมล์
13.โฆษณาออนไลน์ลวงทำงาน หลอกบังคับทำงานในต่างประทศ
14.ยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ร่วมกันกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชน หรือฟอกเงิน ซึ่งสำนักงานฯ และโอเปอเรเตอร์จะช่วยกันประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันกลอุบายของมิจฉาชีพ
ขณะที่ทุกฝ่ายกำลังร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหา Call Center และ SMS หลอกลวงอยู่นั้น สำนักงานอยากขอให้ประชาชนระมัดระวังอย่าหลงเชื่อโทรศัพท์ที่แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ DSI พนักงานธนาคาร หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ อย่าเพิ่งให้ข้อมูลส่วนตัว หรือโอนเงินไปตามที่เขาขอ อย่ากดลิงก์ที่แนบมาพร้อม SMS ที่ไม่ทราบที่มา แต่ให้ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าสายที่โทรมา หรือผู้ที่ส่ง SMS มานั้นไม่ใช่มิจฉาชีพ เพื่อป้องกันการสูญเสียเงินทองของพี่น้องประชาชนเอง
ทำยังไงดีเมื่อเจอ ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวง’
- อย่าให้ข้อมูลส่วนบุคคล และกดวางสายทันที
- อย่าหลงเชื่อโอนเงิน
- อย่าคลิกลิงก์หรือเปิดไฟล์ที่ส่งจาก SMS หรืออีเมลต้องสงสัย
- หากโดนหลอก ให้รวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องและไปแจ้งความกับสถานีตำรวจในท้องที่
ข้อมูลจาก : สตช./ TikTok intirasatitummach
ภาพจาก : TikTok intirasatitummach