นกแก้วมาคอว์สีฟ้า หายากสุดในโลก ถูกไฟเผาบ้าน ป่าบราซิล
นกแก้วมาคอว์สีฟ้า - ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า นกแก้วมาคอว์สีฟ้า นกพันธุ์หายากที่สุดในโลก เผชิญอันตรายใหญ่หลวง เมื่อเขตที่อยู่อาศัยของมันถูกเพลิงไหม้
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในบราซิลเป็นถิ่นอาศัยของนกชนิดนี้ถึงร้อยละ 15 ของจำนวนประชากรนกแก้วมาคอว์สีฟ้าทั่วโลก
อานา มาเรีย บาร์เรโต เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์และเขตรักษาพันธุ์นกในรัฐมาตูโกรสซูโดซูล ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่า 150,000 ไร่ กล่าวว่าครอบครัวดูแลและอนุรักษ์ธรรมชาติมานานหลายสิบปี แต่ไฟเผาผลาญพื้นที่การเกษตรไปกว่าร้อยละ 70 ซึ่งเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้
ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์นก คาดว่ามีนกแก้วมาคอว์สีฟ้าประมาณ 700-1,000 ตัว ซึ่งเป็นนกมาคอว์กลุ่มใหญ่ที่สุดโลกที่อาศัยตามธรรมชาติ
- (Photo by CARL DE SOUZA / AFP)
ด้านสถาบันอาซูลซึ่งเป็นองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติประเมินว่าน่าจะมีนกแก้วมาคอว์สีฟ้าทั้งโลกประมาณ 6,500 ตัว ซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับการสูญพันธุ์และถูกคุกคามการอยู่ตามธรรมชาติในบราซิล
ส่วนเนียวา กูเอเดส ประธานสถาบันอาซูลกล่าวว่านกส่วนใหญ่อพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัยกว่าเพื่อหนีไฟ แต่อีกไม่นานนัก นกอาจจะขาดแคลนอาหารเพราะนกแก้วมาคอว์สีฟ้ากินผลไม้และถั่วนานาชนิด แต่ป่าถูกทำลาย อาหารก็ถูกทำลายไปด้วย
ไฟเริ่มลุกลามตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. แม้เจ้าหน้าที่ควบคุมเพลิงที่ลุกลามใกล้กับแหล่งที่นกทำรังได้แล้ว แต่ไฟอาจปะทุขึ้นได้อีก หากอุณหภูมิสูงและอากาศแห้ง
- Smoke rises from a burnt area of the Amazon rainforest reserve, south of Novo Progresso in Para state, Brazil, on August 15, 2020. (Photo by JOÃO LAET / AFP)
โรเจริโอ เพอร์ดิเกา เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกล่าวว่ายังควบคุมเพลิงไม่ได้ทั้งหมด แต่จะสู้ต่อไป พร้อมทั้งแสดงคลิปให้นักข่าวซีเอ็นเอ็นดูว่านกแก้วมาคอว์บางตัวเกาะอยู่บนต้นไม้ใกล้กับจุดที่ไฟเพิ่งจะดับ นกมาคอว์จะมาวนเวียนอยู่ใกล้ๆ กับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและส่งเสียงร้องไม่หยุดเหมือนจะขอบคุณเจ้าหน้าที่
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในปันตานัล เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุม 2 รัฐของบราซิล ทั้งรัฐมาตูโกรสซู และรัฐมาตูโกรสซูดูซูล กิน อาณาเขตทั้งหมดกว่า 93 ล้านไร่
บราซิลและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโกยกย่องว่าผืนป่าแห่งนี้มีความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดสมบูรณ์ แต่ก็ตกเป็นพื้นที่เสี่ยงเกิดไฟเช่นกันและยังถูกแผ้วถางป่าเพื่อบุกเบิกทำเป็นพื้นที่ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
- ภาพมุมสูง ฝั่งซ้ายพื้นที่ป่าใกล้รัฐมาตูโกรสซู ถูกแผ้วถางทำลาย Aerial picture of a deforested area close to Sinop, Mato Grosso State, Brazil, taken on August 7, 2020. (Photo by Florian PLAUCHEUR / AFP)
เมื่อวันที่ 16 ก.ค. นายชาอีร์ โบลโซนาโร ประธานาธิบดีบราซิล ลงนามในร่างกฎหมายห้ามจุดไฟในปันตานัล 120 วัน หลังจากถูกกดดันจากนักลงทุนนานาชาติซึ่งขู่ว่าจะย้ายฐานลงทุนออกจากบราซิล หากไม่แก้ไขปัญหาดังกล่าว
ขณะที่สถาบันวิจัยอวกาศแห่งชาติบราซิลเปิดเผยว่าตรวจจับเพลิงไหม้ได้ 3,121 จุด ในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนนี้ เมื่อเทียบกับ 1,690 จุด ตลอดเดือน ส.ค. ปีที่แล้ว
- นกบินหนีไฟจากป่าขึ้นไปบนฟ้า Birds escape as smoke rises from an illegally lit fire on a maize field that border a rainforest reserve, in Sinop, Mato Grosso State, Brazil, on August 9, 2020. (Photo by Carl DE SOUZA / AFP)
ส่วนคาร์อส ริตล์ เลขานุการบริหารหน่วยสังเกตการณ์สภาพอากาศบราซิล ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคม ตำหนิรัฐบาลว่าล้มเหลวในการป้องกันไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตั้งแต่รัฐบาลนายฌาอีร์ โบลโซนารูขึ้นมาบริหารประเทศ มีการตรวจตราและจับตามองสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมทรามและทรุดโทรมลงทุกขณะ เนื่องจากสภาพอากาสที่แห้งกว่าปกติ อันเป็นผลมาจากการตัดไม้ทำลายป่า
ขณะนี้ นักวิจัยกำลังศึกษาว่าอากาศที่แห้งแล้งขึ้น เป็นผลจากการตัดไม้ในป่าแอมะซอนซึ่งทำให้ความชื้นในปันตานัลลดลงหรือไม่
ระหว่างการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศที่ครอบคลุมผืนป่าแอมะซอนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นายโบลซานารูยืนยันว่าเพลิงไหม้ในป่าแอมะซอนไม่ใช่เรื่องจริงและยืนยันว่าบราซิลพยายามอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่ รวมทั้ง ต่อสู้กับการละเมิดกฎหมายเพื่อรักษาป่าฝนแอมะซอน
คำพูดของผู้นำขัดกับความจริงที่เจ้าของที่ดินเซา ฟรานซิสโก โด เปริการ่า ได้แก่ อานา มาเรีย บาร์เรโต และพี่สาว มาเรีย อิกเนส ที่เผชิญกับไฟโหมไหม้พื้นที่อนุรักษ์มานานหลายปี
https://www.youtube.com/watch?v=BqZwJXkvcSw
ปี 2545 มีนกแก้วมาคอว์สีฟ้าในฟาร์มเพียง 200 ตัวเท่านั้น และเมื่อไม่กี่ปีมานี้เพิ่งจะกลับมาเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า
"มันเศร้ามากค่ะ เราต้องลงเอยด้วยความวิตกอย่างยิ่งว่าจะมีอะไรตามมา ถ้าเราเจอเรื่องอย่างนี้ในเขตคุ้มครอง ต่อไปในอนาคตเราจะเจออะไรอีก"