รีเซต

เมื่อเงินเก็บก็เหลือน้อย แต่ยังมีหนี้ที่ต้องจ่าย ควรทำอย่างไรดี

เมื่อเงินเก็บก็เหลือน้อย แต่ยังมีหนี้ที่ต้องจ่าย ควรทำอย่างไรดี
TrueID
10 สิงหาคม 2564 ( 16:33 )
186
เมื่อเงินเก็บก็เหลือน้อย แต่ยังมีหนี้ที่ต้องจ่าย ควรทำอย่างไรดี

ชีวิตของใครหลายคนต้องประสบกับปัญหาหมุนเงินไม่ทัน เงินติดลบ ไม่พอใช้ ต้องเจอกับปัญหาเงินช็อต เงินติดลบ หมุนเงินไม่ทัน ยืมเงินจากนั่น มาโปะนี่ จนทำให้เปิดหนี้ท่วมหัว พอถึงสิ้นเดือนก็ใช้แต่หนี้ หมุนนั่นหมุนนี่ ไม่มีเงินเก็บสักที แต่หลายๆ คนก็ไม่รู้จะทำอย่างไรดี วันนี้ trueID มีวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะมีวิธีอะไรบ้างไปติดตามกัน

 

1.ตั้งสติเอาไว้ก่อน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง หยุดก่อหนี้ หยุดสร้างหนี้เพิ่มโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะต้องลำบากขนาดไหน ที่สำคัญต้องหยุดหาหนี้ใหม่มาจ่ายหนี้เก่า เพราะจะทำให้เป็นหนี้แบบงูกินหาง ไม่รู้จักจบ ต้องอยู่ให้ได้ด้วยเงินเดือนของตัวเอง

 

2. ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น อันดับแรกต้องทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายของตนเองทุกวัน ในแต่ละเดือนมีรายได้จากไหนบ้าง พอใช้จ่ายหรือไม่ หรือในแต่ละเดือนต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง เช่น ค่าใช้จ่ายในครอบครัว ค่าเดินทาง ค่า อ า ห า ร ค่าโทรศัพท์ ค่า ผ่ อ น ชำ ร ะ หนี้สินค้า ค่าใช้จ่ายสังสรรค์ แล้วรวมกันว่ามีค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่าไหร่ ใช้เงินไปกับอะไรมากที่สุด จำเป็นหรือไม่จำเป็นต่อชีวิต ถ้าไม่จำเป็นต้องเลิกหรือหยุดทันที หากใครไม่เคยจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย จะทำให้ไม่รู้ว่าในแต่ละเดือนมีการใช้จ่ายอะไรบ้าง และหมดไปกับอะไรบ้าง ดังนั้น เมื่อรู้ปัญหาแล้วว่าเงินหมดไปกับอะไร หากเป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยที่สามารถประหยัดได้ ควรประหยัดอย่างจริงจัง

 

3. แยกหนี้ดีและหนี้ไม่ดี เมื่อเราจดรายการหนี้สินทั้งหมดออกมาแล้ว ทำให้เรารู้จักพฤติกรรมการใช้เงินของตนเองมากขึ้น รู้สาเหตุการเกิดหนี้ ก่อนเริ่มแก้ปัญหาหนี้ควรแบ่งหนี้ออกเป็น 2 ส่วน คือหนี้ดี (หนี้ที่สร้างรายได้กลับมาให้เรา) และหนี้ไม่ดี (หนี้ที่ไม่สร้างเงินกลับมาให้เรา) จะทำให้เราจัดการหนี้ได้ดีขึ้น
 
สมมติว่า หนี้สินนั้นเกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อปล่อยเช่า จัดว่าเป็น “หนี้ดี” นอกจากเราได้ค่าเช่ามาผ่อนทรัพย์สินแล้ว มูลค่ายังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ได้รับกำไรจากการขายอีกด้วย ในขณะที่ “หนี้ไม่ดี” นั้นเกิดจากการใช้เงินซื้อสิ่งของเพื่อความสุขต่าง ๆ เช่น ซื้อมือถือใหม่ กินก่อนผ่อนทีหลัง ช้อปปิ้ง เป็นต้น
 
ถ้าช่วงเวลาหนึ่งชีวิตของเราต้องสะดุดจนกลายเป็นวิกฤตทางการเงินในครอบครัว หากเกิดขึ้นเพียงช่วงสั้น ๆ เราก็ยังเก็บส่วนของหนี้ดีไว้ได้ แล้วขายหนี้ไม่ดี เช่น ขายเสื้อผ้าเก่า ขายกระเป๋ากับรองเท้าเพื่อให้เรามีเงินมาใช้จ่ายในระยะสั้นได้ แต่ถ้าหนี้สินลุกลามใหญ่โต เราจึงค่อยมานั่งคิดว่าจะขายทรัพย์สินที่เป็นส่วนของหนี้ดีเพื่อมาชำระหนี้ก้อนโตนั้นหรือไม่

 

4. สำรวจภาระหนี้สินที่มีอยู่ ควรแยกแบ่งประเภทหนี้สินที่มี แยกประเภทหนี้ จำนวนหนี้ อัตราดอกเบี้ยที่ต้องชำระ อัตราขั้นต่ำที่ต้องชำระ จากนั้นให้คำนวณยอดหนี้ทั้งหมด คำนวณรายได้ทั้งหมด เรียงลำดับยอดหนี้ที่สำคัญจากมากไปหาน้อย

 

5. หนี้สำคัญจ่ายก่อน โดยเฉพาะหนี้ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ส่วนหนี้บัตรเครดิต หรือหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล ให้จ่ายเท่าที่จ่ายได้ โดยเลือกจ่ายหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงก่อน และติดต่อขอประนอมหนี้ ขอผ่อนจ่ายในแต่ละเดือน และควรติดต่อเจ้าหนี้อยู่ตลอด อย่าคิดหนีหนี้

 

6. เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาหนี้ จ่ายขั้นต่ำเพื่อรักษาบัญชีและเครดิต วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีหนี้ไม่เยอะ อาจจะมีหนี้เพียง 2-3 บัญชี แนะนำให้จ่ายขั้นต่ำตามใบเรียกเก็บเงิน หรือจ่ายให้มากกว่าขั้นต่ำสักเล็กน้อย ที่สำคัญต้องมีวินัยในการผ่อนชำระ หากหมดภาระหนี้แล้ว ไม่ควรก่อหนี้ใหม่เพิ่มอีกเป็นอันขาด เพราะจะทำให้มีหนี้ไม่หมดสิ้น มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น ขายทรัพย์สินที่ขายได้ออกไปเป็นเงินสด เพื่อนำมาปิดหนี้ให้ได้มากที่สุด หากมีหนี้สินมากให้เลือกปิดทีละรายการที่สามารถปิดหนี้ได้ เพื่อให้เหลือจำนวนเจ้าหนี้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากไม่สามารถทำได้ หรือไม่มีทรัพย์สินที่สามารถขายเพื่อปลดหนี้ได้ ก็จะเข้าสู่กระบวนการของศาล ในระหว่างนั้นแนะนำให้เก็บเงินให้มากที่สุด อย่าได้หลงระเริงกับเงินที่มี ต้องเตรียมสะสมเงินเพื่อเคลียร์หนี้สินทั้งหมด

 

7. หาช่องทางสร้างรายได้เพิ่ม ตามหลักความจริงแล้ว เมื่อเงินหมด ก็ต้องหาเพิ่ม เหมือนน้ำในตุ่มหมดก็ต้องตักมาเพิ่ม ใครที่เป็นหนี้ เงินติดลบ ลองสำรวจตัวเองว่า มีของอะไรขายได้ มีความสามารถอะไร หรือมองหาอาชีพเสริมที่พอสร้างรายได้ เช่น ทำกับข้าว ทำขนมขาย หรือไม่ถ้ามีทักษะการขาย ก็หาซื้อสินค้าต่างๆ ไปขายตามตลาดนัด หรือหากมีทักษะอื่นๆ ก็ทำได้เลย

 

ข้อมูล : ธ.กรุงศรีฯ , sabailey , ศคง.

รูปภาพโดย ฟอร์ม PxHere

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง