รีเซต

งาน Space 2060 Night มองอนาคตวงการอวกาศในอีก 40 ปีข้างหน้า

งาน Space 2060 Night มองอนาคตวงการอวกาศในอีก 40 ปีข้างหน้า
TNN ช่อง16
8 พฤศจิกายน 2566 ( 11:10 )
27
งาน Space 2060 Night มองอนาคตวงการอวกาศในอีก 40 ปีข้างหน้า

งาน Space 2060 Night มองอนาคตวงการอวกาศในอีก 40 ปีข้างหน้า เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่าง FutureTales LAB by MQDC และ Spaceth.co เพื่อทำวิจัยอนาคตศึกษา มองหาแนวโน้มและความเป็นไปได้ของสถานการณ์ (Scenario) อนาคตทั้ง 4 รูปแบบของวงการอวกาศโลก ผ่านการมองอดีตและปัจจุบัน


Scenario 1: The Next Polarizing Race : ภาพอนาคตแบบที่ 1 การแข่งขันเพื่อแบ่งขั้วอำนาจครั้งใหม่ 


โครงการที่นำโดยภาครัฐ โดยมีการจัดตั้งฐานที่มั่นบนดวงจันทร์และดาวอังคาร เช่นเดียวกับฐานอวกาศเพื่อการทหารและวิทยาศาสตร์ที่แอนตาร์กติกา


สิ่งปลูกสร้างที่พึ่งตนเองได้ การดึงทรัพยากรจากในอวกาศมาใช้ในภารกิจที่มีระยะเวลานานหรือในสิ่งปลูกสร้างที่พึ่งตนเองได้ มีความก้าวหน้าในเรื่องการวิจัยและการนำไปใช้จริง


การทบทวนนโยบายระหว่างประเทศ รัฐบาลจะเจรจาต่อรองข้อตกลงและข้อกำหนดใหม่ ๆ เกี่ยวกับอวกาศ การถกเถียงเรื่องสิทธิบนดวงจันทร์และดาวอังคารระหว่างชาติต่าง ๆ อาจนำไปสู่การทบทวนสนธิสัญญาด้านอวกาศที่มีอยู่ในปัจจุบัน


Scenario 2: The Multi-Planetary Voyage : ภาพอนาคตแบบที่ 2 การเดินทางข้ามอวกาศ


โครงสร้างพื้นฐานในอวกาศ ให้ความสำคัญกับการดึงทรัพยากรจากในอวกาศมาใช้ และการออกแบบสถาปัตยกรรมบนดาวอื่น เพื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์บนดาวอื่นที่ไม่ใช่โลก


การออกแบบเพื่อมนุษย์ในอวกาศ ให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องสุขภาวะของมนุษย์ในอวกาศ เช่น เรื่องสรีรวิทยา การวิจัยด้านสุขภาพ และยาเพื่อดูแลสุขภาพของนักบินอวกาศสำหรับภารกิจที่ยาวนาน รวมถึงเพิ่มความสะดวกสบายให้กับการเดินทางท่องอวกาศของทุกคน


การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ให้คุณค่ากับความสำคัญของการสำรวจและตั้งถิ่นฐานในอวกาศมากขึ้น เมื่ออุตสาหกรรมอวกาศเติบโตขึ้นและผู้คนรู้สึกคุ้นเคยกับการเป็นสิ่งมีชีวิตที่เดินทางท่องอวกาศได้


การเดินทางระหว่างดาวต่าง ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ การพักอาศัยระยะสั้นบนดาวต่าง ๆ และการเดินทางท่องเที่ยวอวกาศเป็นระยะทางไกลได้รับความนิยมอย่างสูง


Scenario 3: The New Horizon Endeavor : ภาพอนาคตแบบที่ 3 มุมานะสู่ขอบฟ้าใหม่


โครงการขนาดใหญ่เพื่อขยายพรมแดนความรู้ ให้ความสำคัญกับโครงการขนาดใหญ่เพื่อขยายพรมแดนความรู้เรื่องอวกาศที่นำโดยองค์กรของรัฐ เช่น การสำรวจระบบสุริยะรอบนอก กล้องโทรทรรศน์อวกาศยุคใหม่ และเทคโนโลยีเพื่อการเดินทางท่องอวกาศ์ที่มีความล้ำหน้ากว่าเดิม


สังคมให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ ความก้าวหน้าของการคิดในเชิงวิทยาศาสตร์และการเห็นถึงคุณค่าของการสำรวจอวกาศ ซึ่งรวมทั้งการสนับสนุนการวิจัยและสำรวจด้านอวกาศ และการให้ความสำคัญกับคุณค่าของความรู้และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์


ความร่วมมือและความขัดแย้งในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ การเกิดขึ้นของความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ เมื่อชาติต่าง ๆ แข่งขันกันในด้านทรัพยากรและข้อได้เปรียบทางกลยุทธ์ อาจนำไปสู่การแบ่งขั้วอำนาจระหว่างชาติที่มีอิทธิพล และความขัดแย้งในเรื่องการใช้ทรัพย์สินด้านอวกาศ


Scenario 4: Superterrestrial Circulation : ภาพอนาคตแบบที่ 4 จักรวาลที่เป็นหนึ่งเดียว


ความก้าวหน้าและการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นระหว่างวงโคจรของโลกและดวงจันทร์ มีผู้เล่นจากภาคเอกชนมากขึ้น ในมิติของการท่องเที่ยวอวกาศ สถานีอวกาศเอกชน และการใช้สถานีอวกาศของรัฐในเชิงพาณิชย์


ค่าใช้จ่ายที่ลดลงของการปล่อยยานและเทคโนโลยีด้านอวกาศอื่น ๆ เนื่องจากการแข่งขันกันระหว่างบริษัทเอกชนซึ่งเป็นผลจากตลาดทุนนิยม


การเข้าถึงอย่างกว้างขวาง โครงการด้านอวกาศมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลงและเข้าถึงได้มากขึ้นสำหรับผู้เล่นที่หลากหลาย ทัศนคติของสังคมที่มีต่อการสำรวจอวกาศเปลี่ยนไป โดยมองว่าเป็นอุตสาหกรรมที่เข้าถึงได้มากขึ้น


อวกาศสำหรับทุกคน เน้นเรื่องการทำให้อวกาศเข้าถึงได้สำหรับทุกคน เพิ่มการมีส่วนรวม และมีตัวแทนจากกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมให้มากขึ้นในอุตสาหกรรมอวกาศ มีความต้องการกฎระเบียบข้อบังคับที่ทันสมัยและครอบคลุมมากขึ้นในการควบคุมกิจกรรมทางอวกาศของเอกชน


เทคโนโลยีด้านภูมิอวกาศ (Geo-Space tech) มีการใช้ดาวเทียมภูมิศาสตร์อย่างแพร่หลายในกระบวนการต่าง ๆ เช่น การสื่อสาร การสำรวจเส้นทาง การสังเกตการณ์โลก และการสำรวจข้อมูลระยะไกล (remote sensing)


ที่มาของข้อมูล Futuretaleslab.com


ข่าวที่เกี่ยวข้อง