รีเซต

หวังอี้ : ความร่วมมือ 'จีน-รัสเซีย-อินโดฯ' เอื้อสันติภาพ-เสถียรภาพในภูมิภาค

หวังอี้ : ความร่วมมือ 'จีน-รัสเซีย-อินโดฯ' เอื้อสันติภาพ-เสถียรภาพในภูมิภาค
Xinhua
14 กรกฎาคม 2566 ( 18:54 )
88
หวังอี้ : ความร่วมมือ 'จีน-รัสเซีย-อินโดฯ' เอื้อสันติภาพ-เสถียรภาพในภูมิภาค

จาการ์ตา, 14 ก.ค. (ซินหัว) -- เมื่อวันพุธ (12 ก.ค.) หวังอี้ นักการทูตอาวุโสของจีน ซึ่งร่วมการประชุมไตรภาคีกับเซอรเกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซีย และเรตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซียในกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย กล่าวว่าความร่วมมือระหว่างจีน รัสเซีย และอินโดนีเซีย จะช่วยส่งเสริมกระบวนการพหุภาคี รวมถึงยกระดับสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคหวัง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศส่วนกลางของจีน กล่าวว่าจีน รัสเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ และสมาชิกหลักของกลุ่มจี20 (G20) มีผลประโยชน์ร่วมกันในการดำเนินการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างกัน พร้อมชี้ว่าโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบศตวรรษ ซึ่งประกอบด้วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทว่าการแสวงหาสันติภาพ การพัฒนา และความร่วมมือยังคงเป็นแนวโน้มที่มิอาจหยุดยั้งได้ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องเสริมสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวและการประสานงาน ปฏิบัติตามแนวคิดพหุภาคีนิยมที่แท้จริง ร่วมจัดการความเสี่ยงและความท้าทาย และสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติจีนซึ่งเป็นคู่เจรจาของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN) สนับสนุนโครงสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคที่มีอาเซียนเป็นศูนย์กลาง สนับสนุนกลุ่มประเทศอาเซียนรักษาความร่วมมือกับเอเชียตะวันออกในทิศทางที่ถูกต้อง รวมถึงความพยายามเพื่อเร่งการสร้างประชาคมอาเซียนด้านลาฟรอฟและมาร์ซูดีร่วมแสดงความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศและระดับภูมิภาคในปัจจุบัน โดยทั้งสองเชื่อว่าการพบปะหารือในครั้งนี้เป็นการทดลองที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่าง 3 ฝ่าย ซึ่งสะท้อนฉันทามติในการรักษาความเป็นกลางและวิถีทางของอาเซียน โดยทั้งสามฝ่ายยังเห็นพ้องที่จะรักษาการสื่อสารในประเด็นนี้ด้วยนอกจากนั้นทั้งสามฝ่ายยังแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน พร้อมชี้ว่าควรมีการปรับปรุงธรรมาภิบาลโลกเพื่อรับรองห่วงโซ่อุปทานที่ราบรื่น รวมถึงความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง