รีเซต

ระวัง! มิจฉาชีพหลอกโอนค่าเทอม เปิดวิธีเช็ก จะรู้ได้ไงว่าใครเป็นมิจฉาชีพ

ระวัง! มิจฉาชีพหลอกโอนค่าเทอม เปิดวิธีเช็ก จะรู้ได้ไงว่าใครเป็นมิจฉาชีพ
Ingonn
4 มิถุนายน 2564 ( 12:51 )
674
ระวัง! มิจฉาชีพหลอกโอนค่าเทอม เปิดวิธีเช็ก จะรู้ได้ไงว่าใครเป็นมิจฉาชีพ

 

เศรษฐกิจแบบนี้ ยังจะมีมิจฉาชีพกวนใจอีก! ล่าสุดทางสพฐ. ได้ออกประกาศเตือนให้ระวังมิจฉาชีพอ้างเป็นครูการเงินหลอกให้โอนเงินค่าเทอม โดยติดต่อตรงหาผู้ปกครอง และขณะนี้มีมิจฉาชีพแฝงเข้ามาในใลน์กลุ่มสถานศึกษาแล้ว อย่าเผลอโอนเงินเข้าบัญชีมิจฉาชีพไป

 

 


โดยเนื้อหาในประกาศจาก สพฐ.ระบุว่า


ด้วยขณะนี้มีมิจฉาชีพเข้ามาในไลน์กลุ่มการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นไลน์รับนักเรียนหรือใลน์ต่าง ๆ ให้มีการจ่ายค่าเทอมแล้วได้เรียน 100% หรือการทำประกันโควิด-19 โดยระให้โอนเข้าบัญชีมิจฉาชีพ รวมทั้งมีมิจอาชีพแฮบอ้างเป็นครูการเงินโรงเรียน โดยใช้ชื่อและรูปโปรไฟ Facebook ของครูการเงิน และสร้าง open chat สำหรับติดต่อกับผู้ปกครองของนักเรียนเพื่อหาประโยชน์โดยมิชอบ

 


 
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน มีความห่วงใยในต้านความเป็นอยู่และการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงการใช้จ่ายและค่าครองชีพของนักเรียนในสังกัด จึงขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษแจ้งสถานศึกษาในสังกัดเพื่อแจ้งเตือนผู้ปกครองของนักเรียนให้ทราบต่อไป จึงเรียนมาเพื่อทราบและดำเนินการ

 

 

 


วันนี้ TrueID ไม่รอช้า รีบมาเตือนผู้ปกครอง น้องๆหนูๆทุกคน อย่าหลงเชื่อโอนเงินให้คนที่ไม่แน่ใจว่าใช้คุณครูที่โรงเรียนหรือไม่ โดยมีวิธีเช็กง่ายๆ ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

 

 

จับพิรุธ มิจฉาชีพหลอกโอนเงิน


วิธีการของมิจฉาชีพที่ใช้ในการหลอกลวงมีมากมาย วิธีที่มักใช้เป็นประจำมีดังนี้

 

1.หลอกให้โอนเงิน เช่น ปลอมตัวเป็นญาติพี่น้องหรือคนรู้จักเพื่อขอยืมเงินโดยอาจมีการนำรูปภาพหรือสร้างบัญชีขึ้นโดยเฉพาะ หรือทำการแฮ็กบัญชีโซเชียลมีเดียเพื่อสวมรอยแอบอ้าง หากเจอกรณีเช่นนี้ ควรโทรเช็คเพื่อยืนยันตัวตนให้ชัดเจนก่อน 


2.หลอกลวงเพื่อขอข้อมูลที่สำคัญ เช่น พาสเวิร์ด หรือข้อมูลบัตรเครดิตโดยการแนบ link ไปกับ e-mail หรือ SMS หรือ social media หรือหลอกให้กรอกข้อมูลผ่านแอพต่างๆ 


3.แฮ็คข้อมูลส่วนตัว ขโมย password หรือแอบเข้าใช้งาน Email address โปรแกรม Chat หรือบัญชี social media

 


สิ่งที่ควรทำ

 

1.ทำธุรกรรมทางการเงินด้วยตนเอง และ ไม่ควรให้ผู้อื่นทำแทน


2.ตรวจสอบศึกษาข้อมูลและเงื่อนไข ก่อนทำธุรกรรมทางการเงิน


3.เก็บหลักฐานการทำธุรกรรมทางการเงินทุกครั้ง


4.ทำธุรกรรมทางการเงินด้วยอุปกรณ์ (device) ของตนเองเท่านั้น


5.ระมัดระวังไม่ตกเป็นเหยื่อของการทำธุรกรรม เช่นเปิดบัญชีแทนผู้อื่น

 

 


สิ่งที่ไม่ควรทำ

 

1.การใช้งาน (access) ให้ข้อมูล และ/หรือทำธุรกรรม online ที่เสี่ยง เช่น web พนัน, web เถื่อนต่างๆ


2.ให้หรือขายข้อมูลส่วนตัว รวมทั้งข้อมูลลับกับบุคคลอื่น เช่น password, PIN


3.บอกหรือเปิดเผยรหัส OTP กับบุคคลอื่น


4.โอนเงินให้บุคคลที่ไม่รู้จัก หรือเป็นคนที่รู้จักก็ควรจะโทรสอบถามก่อนทุกครั้ง หากมีการขอให้โอนเงิน

 

 

 


เมื่อรู้ว่าโดนโกงแล้ว ต้องทำอย่างไรต่อ


1.รวบรวมหลักฐาน


- หน้าเว็บไซต์ หรือรูปโปรไฟล์ของคนที่หลอกให้เราโอนเงิน 


- ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เลขที่บัญชี


- ข้อความในแชตที่พูดคุยกัน ไม่ว่าจะเป็นการสอบถาม สั่งซื้อ ยืนยันการชำระเงิน ฯลฯ ผ่านทางไลน์ เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม


- หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชี เช่น สลิป, ใบนำฝาก


- สมุดบัญชีธนาคารของเรา 


- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเรา

 

 

2.แจ้งความ


ให้นำหลักฐานทั้งหมดเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ (สน. ที่ได้โอนเงิน) ภายใน 3 เดือนตั้งแต่วันที่รู้ว่าถูกโกง โดยระบุว่าต้องการแจ้งความเพื่อดำเนินคดีจนกว่าจะถึงที่สุด ไม่ใช่แค่ลงบันทึกประจำวัน หรือจะเข้าแจ้งความที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถนนแจ้งวัฒนะ ก็ได้

 

 

3.ติดต่อธนาคาร


หลังจากทำการแจ้งความดำเนินคดีแล้ว ให้ติดต่อธนาคารเพื่อทำการแจ้งอายัดยอดเงินจากบัญชีปลายทาง โดยต้องเอาเอกสาร ดังนี้

 

- เอกสารหนังสือแจ้งความตัวจริง


- เอกสารใบสำเนาบันทึกประจำวัน


- เอกสาร statement ของเราที่มีการโอนเงิน


- เอกสารหมายเลขบัญชี ปลายทางที่เราโอนเงิน


- เอกสารหลักฐานรูป บทสนทนา การซื้อขาย

 

 

หลังจากที่ส่งเรื่องให้ธนาคารแล้ว ธนาคารจะดำเนินการอายัดบัญชีปลายทางและตรวจสอบข้อมูลก่อนจะพิจารณาการคืนเงิน

 

 

 

หลอกโอนเงินผิดกฏหมายอะไรบ้าง


1.ฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกหรือแจ้งให้ทราบ มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มีอายุความ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด ดังนั้น หากรู้ตัวว่าถูกโกงให้รีบแจ้งความภายใน 3 เดือน)

 

 

2.พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 นำเข้าซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ หลอกลวง ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท (มีอายุความ 10 ปี)

 

 


ข้อมูลจาก สพฐ. , moneyguru , truemoney

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง