นักวิจัยจีนพบฟอสซิลแรด อายุ 14 ล้านปีในเอเชียตะวันออก
(แฟ้มภาพซินหัว : รูปปั้นหินรูปแรดในพิพิธภัณฑ์ซีอัน เปยหลิน ในนครซีอัน มณฑลส่านซีทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน วันที่ 9 พ.ค. 2023)
ปักกิ่ง, 20 ธ.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิจัยชาวจีนค้นพบฟอสซิลแรดที่มีอายุ 14 ล้านปีในเอเชียตะวันออกเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ถึงการอพยพของสัตว์เหล่านี้มายังเอเชียตะวันออก
โพรซานทอร์ไฮนัส (Prosantorhinus) เป็นสกุลของแรดเทเลโอเซอราทีนขนาดเล็กที่สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยมีกระดูกแขนขาสั้นกว่าและกระจายพันธุ์เป็นวงกว้างในยุโรป ทว่าวิวัฒนาการของแรดสกุลนี้ในเอเชียยังคงคลุมเครือ เนื่องจากขาดการเก็บบันทึกฟอสซิลที่เกี่ยวข้องนักวิจัยจากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและมานุษยวิทยาบรรพกาล สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ดำเนินการวิจัยทางสัณฐานวิทยาและค้นพบฟอสซิลแรดที่มีอายุย้อนกลับไปในสมัยไมโอซีนตอนกลาง (Middle Miocene) ในเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยของจีน
การวิเคราะห์วิวัฒนาการโดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยา 282 แบบใน 36 ลำดับขั้น (taxa) พบว่าเป็นลำดับขั้นในสกุลโพรซานทอร์ไฮนัส โดยตัวอย่างของฟอสซิลที่ค้นพบมีกะโหลกศีรษะที่โตเต็มวัยและอยู่ในสภาพที่ดี และมีกระดูกจมูกที่หนาและยกสูงขึ้นเพื่อรองรับนอขนาดเล็กเติ้งเทา นักวิจัยจากสถาบันฯ ระบุว่าการค้นพบดังกล่าวบ่งชี้ว่าการกระจายตัวทางภูมิศาสตร์บรรพกาลของโพรซานทอร์ไฮนัสนั้นกว้างมาก โดยครอบคลุมตั้งแต่ยุโรปไปจนถึงปากีสถานตอนใต้และจีน ซึ่งหมายความว่าการอพยพของพวกมันไม่ได้ถูกจำกัดด้วยอุปสรรคทางนิเวศวิทยาและภูมิศาสตร์ในยูเรเซียอนึ่ง การศึกษาดังกล่าวเผยแพร่ในวารสารสัตววิทยา (Zoological Journal) ของสมาคมลินเนียน