รีเซต

ไฮไลต์สำรวจอวกาศ 2020 ดวงจันทร์ ดาวอังคาร ดวงอาทิตย์

ไฮไลต์สำรวจอวกาศ 2020 ดวงจันทร์ ดาวอังคาร ดวงอาทิตย์
ข่าวสด
21 ธันวาคม 2563 ( 14:18 )
245
ไฮไลต์สำรวจอวกาศ 2020 ดวงจันทร์ ดาวอังคาร ดวงอาทิตย์

ไฮไลต์สำรวจอวกาศ 2020 - ปี ค.ศ.2020 ที่กำลังจะผ่านพ้นไป แม้ เป็นปีที่เลวร้ายที่คนบนโลกใบนี้ต้องล็อกดาวน์รับมือโควิด-19 แต่การมุ่งสู่อวกาศกลับเป็นปีที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสำคัญ

 

ฉางเอ๋อ-5

 

พิชิตดวงจันทร์

ภารกิจสำรวจดวงจันทร์ของประเทศจีนภายใต้รหัสภารกิจฉางเอ๋อ-5 ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ใช้เวลารวม 23 วันจากวันที่ 24 พ.ย. ที่ทะยานออกจากโลก ก่อนกลับมาอย่างปลอดภัยเมื่อ 17 ธ.ค. พร้อมหินจากดวงจันทร์ ทั้งปักธงชาติจีนไว้บนดวงจันทร์ เป็นชาติที่สอง ต่อจากสหรัฐอเมริกาด้วย

ฉางเอ๋อสำรวจสภาพภูมิประเทศบริเวณภูเขารีมเกอร์ อดีตภูเขาไฟที่ยุบตัวไปบริเวณแอ่งโอซีอานัสโพรเซลลารัม บริเวณซีกตะวันตกของฟากสว่างของดวงจันทร์และเก็บวัตถุตัวอย่างเป็นหินหนัก 2 ก.ก.กลับมา

 

 

องค์กรอวกาศแห่งชาติจีน หรือ CNA ระบุว่าถือเป็นครั้งแรกในรอบ 44 ปีหลังภารกิจลูน่า 24 ของอดีตสหภาพ โซเวียตที่เดินทางมายังดวงจันทร์เพื่อเก็บดินกลับไปศึกษา 200 กรัม

 

ตัวอย่างที่ว่านี้เป็นพื้นผิวของภูเขา รีมเกอร์ คาดว่ามีอายุเพียง 1.2 ถึง 1.3 พันล้านปี จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษาความเป็นมาของสภาพภูมิประเทศของดวงจันทร์ และใช้เปรียบเทียบกับวัตถุตัวอย่างที่สหรัฐ และอดีตสหภาพโซเวียต เก็บมามีอายุเก่าแก่ถึง 3 พันล้านปี

 

ภารกิจเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจเก็บไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ของทีมงานอวกาศแดนมังกร หลังเคยส่งยานร่อนลงจอดบนดวงจันทร์มาแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ ฉางเอ๋อ-3 เมื่อปีค.ศ.2013 (พ.ศ.2556) และฉางเอ๋อ-4 เมื่อปี 2019 เพื่อเก็บตัวอย่างใหม่ล่าสุดจากดวงจันทร์กลับมาศึกษา? ด้านองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือนาซ่า แสดงความยินดีกับทางการจีนถึงความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมการสำรวจอวกาศจีน? ดร.โธมัส ซูร์บูเชน นักวิทยาศาสตร์จากนาซ่า กล่าวว่า วงการวิทยาศาสตร์ทั่วโลกหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีโอกาสร่วมศึกษาตัวอย่างที่เก็บมาจากดวงจันทร์ในภารกิจฉางเอ๋อ-5 เพื่อความก้าวหน้าของมวลมนุษยชาติ

 

 

เพ่ย จ้าวหยู รองผู้อำนวยการศูนย์โครงการอวกาศและการสำรวจดวงจันทร์ ประจำ CNA กล่าวถึงแผนการต่อไปด้วยว่า จีนหวังที่จะร่วมมือกับประเทศอื่นๆ สร้างสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศขึ้น เพื่อเป็นแพลตฟอร์มที่แบ่งการใช้งานกันในการสำรวจและทดลองทางวิทยาศาสตร์

 

 

ฮายาบุสะ 2 ไล่เกาะดาว?

องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAXA ก็ไม่น้อยหน้าใน ปีนี้ ด้วยภารกิจสำรวจดาวเคราะห์น้อยภายใต้โครงการรหัส ฮายาบูสะ 2 ออกไปไล่เก็บตัวอย่างดาวเคราะห์น้อยริวงุ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบรอบทุก 16 เดือน และมีระยะทางใกล้โลกที่สุด 95,400 กิโลเมตร

ฮายาบูสะ 2 ใช้เวลาอยู่บนดาวเคราะห์น้อยริวงุนาน 16 เดือน ตั้งแต่ปี 2018 ถึง 2019 จนครบรอบโคจร ก่อนจะกลับมายังโลกสำเร็จเมื่อ 6 ธ.ค.2020

จาซ่าเปิดตัวกล่องเก็บตัวอย่างและนำภาพมาให้ประชาคมโลกได้ชมกันเมื่อ 14 ธ.ค. เผยให้เห็นเศษดินและฝุ่นจากดาวเคราะห์น้อยริวงุอยู่ภายใน

 

 

นอกจากนี้ จาซ่ายังพบว่ามีก๊าซแปลกปลอมที่ยานฮายาบูสะ 2 ตรวจพบได้ ซึ่งการตรวจวิเคราะห์ล่าสุดนั้นยืนยันแล้วว่าเป็นก๊าซที่อยู่บนดาวเคราะห์น้อยริวงุ? ตัวอย่างที่ยานฮายาบุสะ 2 เก็บมานั้นจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ทราบถึงความเป็นมาของระบบสุริยะซึ่งโลกเป็นสมาชิกอยู่ ถือกำเนิดขึ้นเมื่อราว 4.6 พันล้านปีก่อน โดยดาวเคราะห์น้อยริวงุ ถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่หลงเหลือจากเมื่อช่วงเวลาดังกล่าว

 

สเปซเอ็กซ์

 

ครูว์ ดราก้อน

เศรษฐีนักประดิษฐ์จอมโปรเจ็กต์ อีลอน มัสก์ เปิดศักราชรับส่งนักบินอวกาศแบบใหม่ พัฒนาการสำคัญทางด้านอุตสาหกรรมอวกาศปีนี้ที่น่าตื่นตาตื่นใจไม่แพ้โครงการสำรวจอื่นๆ

เทคโนโลยีการรับส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่วงโคจรโลกเป็นผลงานบริษัทสเปซเอ็กซ์ของ อีลอน มัสก์ ทดสอบการใช้แคปซูลดราก้อนส่งนักบินอวกาศ 4 นาย ขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ หรือไอเอสเอส และไปรับกลับลงมายังโลกห่างกันเป็นระยะเวลา 2 เดือน ภายใต้รหัสโครงการ เดโม่-2 สนับสนุนงบประมาณจากนาซ่า

 

 

การรับส่งดังกล่าวใช้แคปซูลดราก้อนติดตั้งบนจรวดปล่อยยานอวกาศฟัลคอน-9 ของสเปซเอ็กซ์ ซึ่งเป็นจรวดที่มัสก์คิดค้นให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ช่วยลดต้นทุนการปล่อยกระสวยที่แพงมากในอดีต

โครงการเดโม-2 นี้ ประสบความสำเร็จอย่างงดงามทั้งขาไปส่งนักบิน 4 นาย เมื่อ 30 พ.ค. และไปรับกลับมาเมื่อ 2 ส.ค. ส่งผลให้นาซ่าอนุมัติงบประมาณว่าจ้างสเปซเอ็กซ์ให้เป็นผู้รับส่งนักบินอวกาศไอเอสเอสอย่างเป็นทางการ

ถือเป็นประกาศศักราชใหม่ของการรับส่งนักบินอวกาศสู่ วงโคจรและเปิดประตูให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอวกาศระดับ วงโคจร

 

 

โฮป ย้ำธงสำรวจดาวอังคาร?

อีกหนึ่งภารกิจปีนี้ที่น่าจับตามองเป็นทางการสหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ หรือ ยูเออี แดนนิรมิตแห่งตะวันออกกลาง ส่งยานสำรวจ“โฮป” ทะยานจากฐานยิงประเทศญี่ปุ่น โดยจรวดของมิตซูบิชิ เมื่อ 19 ก.ค.2020

ดีเดย์ถึงดาวอังคาร วันที่ 9 ก.พ.2021 รวมระยะทางกว่า 5 แสนกิโลเมตร? มีเป้าหมายศึกษาชั้นบรรยากาศและสภาพอากาศของดาวแดง ซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์มีความเข้าใจต่อกลไกการทำงานของระบบบรรยากาศดาวอังคารมากขึ้น

การเดินทางของยานสำรวจราบรื่นกว่าที่ทางหน่วยงานของยูเออีคาดการณ์ไว้มาก จึงตัดสินใจแยกยานสำรวจออกเป็น 2 ลำ โดยปล่อยให้ยานหลักเดินทางไปดาวแดงตามกำหนดเดิม ส่วนอีกลำหนึ่งจะเดินทางไปสมทบกับยานสำรวจเบปีโคลอมโบ

 

 

ยานสำรวจจากโครงการความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นกับสหภาพยุโรป หรืออียู ที่ถูกปล่อยจากโลกเมื่อเดือนต.ค.2018 เพื่อสำรวจดาวพุธ คาดว่าจะใช้เวลาเดินทาง 7 ปี

ระหว่างการเดินทางนี้ ยานสำรวจทั้ง 2 ลำ จะทำงานประสานกันเพื่อตรวจ วัดระดับก๊าซไฮโดรเจนระหว่างดวงดาว ที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีทั่วไปในระบบสุริยะ มุ่งศึกษาการรั่วไหลของชั้นบรรยากาศจากดาวอังคาร และค้นหาไฮโดรเจนรูปแบบต่างๆ

เพื่อใช้เปรียบเทียบกับข้อมูลของไฮโดรเจนในชั้นบรรยากาศของดางแดงว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรด้วย

 

 

โซลาร์ ออร์บิเตอร์?

ความคืบหน้าโครงการสำรวจดวงอาทิตย์ขององค์การอวกาศยุโรป หรือ ESA จับมือ NASA สร้างความตื่นตาให้กับนักวิทยาศาสตร์ ด้วยยานสำรวจโซลาร์ออบิเตอร์ ที่ส่งขึ้นไปจากโลกเมื่อ 9 ก.พ. ขณะนี้ยานส่องเก็บข้อมูลดวงอาทิตย์ พบการเปลี่ยนวัฏจักรสุริยะจากช่วงต่ำสุด (โซลาร์ มินิมั่ม) ไปเป็นช่วงสูงสุด (โซลาร์ แม็กซิมั่ม)

ถือเป็นครั้งแรกของการสังเกตการณ์การเปลี่ยนวัฏจักรในระยะใกล้ดวงอาทิตย์ของยานดังกล่าวที่เพิ่งผ่านจุดโคจรใกล้สุดมาเมื่อปลายเดือนก.ค. ที่ระยะห่าง 0.25 หน่วยดาราศาสตร์ หรือเอยู เทียบได้กับประมาณ 41.8 ล้านกิโลเมตร (ใกล้ยิ่งกว่าดาวพุธที่อยู่ถัดจากดวงอาทิตย์)

นาซ่าระบุว่า การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวเป็นวัฏจักรสุริยะที่ 25 หลังจากดวงอาทิตย์อยู่ในภาวะสงบมานานกว่า 9 เดือน จากช่วงวัฏจักรที่ 24 (เริ่มเดือนธ.ค.2008 สิ้นสุดเดือนพ.ค.2020)

การเปลี่ยนผ่านนี้จะเป็นการสลับขั้วเหนือใต้ของดวงอาทิตย์ส่งผลต่อความเคลื่อนไหวของปฏิกิริยาทางเคมีบนดวงอาทิตย์ และรังสีต่างๆ นำไปสู่ช่วงสูงสุด ทำให้ดวงอาทิตย์มีการระเบิดบ่อย ปลดปล่อยพายุสุริยะ และก๊าซต่างๆ ออกสู่ระบบสุริยะ รวมทั้งมีจุดดับเพิ่มขึ้น?

 

 

โอกาสนี้นักวิทยาศาสตร์จะได้นำความแตกต่างระหว่างภาวะทั้งสองแบบมาเปรียบเทียบกัน รวมถึงศึกษารูปแบบการเปลี่ยนวัฏจักรด้วย โดยข้อมูลที่มีอยู่บ่งชี้ว่าขั้วเหนือใต้ของดวงอาทิตย์จะสลับกันเฉลี่ย ทุกๆ 11 ปี เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์ช่วงต่ำและสูงสุด ตลอดช่วงกิจกรรมดวงอาทิตย์แต่ละรอบที่กินเวลาราว 400 ปี

ส่วนผลกระทบต่อโลกนั้นวงการวิทยาศาสตร์ยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนว่ามีผลกระทบต่อโลกหรือไม่ อย่างไร

โดย จันท์เกษม รุณภัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง