รีเซต

จับตาเทรนด์เทค2021 5จี-เอไอ-เวิร์กฟรอมโฮม

จับตาเทรนด์เทค2021 5จี-เอไอ-เวิร์กฟรอมโฮม
ข่าวสด
4 มกราคม 2564 ( 14:44 )
77
จับตาเทรนด์เทค2021 5จี-เอไอ-เวิร์กฟรอมโฮม

จับตาเทรนด์เทค2021 - ปี 2020 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป เป็นปีที่เทคโนโลยีถูกนำมาใช้และพัฒนาแบบก้าวกระโดดเป็นผลสืบเนื่องจากการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาปี 2019 หรือโควิด-19 บีบบังคับให้ธุรกิจและมนุษย์ต้องปรับตัวสู่โลกออนไลน์ โดยตลอดช่วงปีที่ผ่านมา มีธุรกิจเข้าสู่ระบบออนไลน์มากกว่าปริมาณตลอดทศวรรษรวมกัน ซึ่งทางเว็บไซต์ iSHIR ที่ปรึกษาธุรกิจและการตลาดจากสหรัฐอเมริกา มองว่าโควิด-19 จะยังเป็นหนึ่งในเป็นปัจจัยหลักที่กำหนดทิศทางเทรนด์เทคโนโลยีในปีนี้

 

 

พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ต (IoB)

 

เป็นส่วนที่จะเชื่อมโยงกับ CDP แต่เป็นโปรแกรมระดับการบันทึก ติดตาม และตรวจตรา พฤติกรรมการบริโภคของผู้คนทั่วไปเพื่อนำไปสู่การจัดการข้อมูลฐานลูกค้าของบรรดาองค์กรผู้ให้บริการประเภทต่างๆ เช่น บิ๊กดาต้า และระบบบันทึกใบหน้า ซึ่งจากการคาดการณ์เบื้องต้น พบว่าประชากรโลกร้อยละ 50 จะมีข้อมูลอยู่ในองค์กรต่างๆ ภายในปี 2025

 

 

ไฮบริด คลาวด์

 

นิติบุคคลจะหันไปใช้ระบบการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์มากขึ้น โดยจะเก็บไว้ทั้งบนเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท และใช้บริการ คลาวด์ของบริษัทอื่น อาทิ Amazon Web Service (AWS), Google Cloud, Azure, Oracle และ IBM ขณะที่บุคคลทั่วไปก็จะมีแนวโน้มใช้การจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์มากขึ้นด้วย

 

 

เทคโนโลยีทำงานจากที่บ้าน

 

การทำงานที่บ้าน หรือ เวิร์กฟรอมโฮม ซึ่งถูกกระตุ้นให้เป็นนิวนอร์มัล หรือการใช้ชีวิตแนวใหม่ให้ปกติ จากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 จะนำไปสู่ผลิตภัณฑ์อำนวยความสะดวกแบบโฮมออฟฟิศ และแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่จะเข้ามาเป็นสื่อกลางในการติดต่อประสานงานภายในองค์กร เช่น WebEx, Zoom และ Microsoft Team ซึ่งช่วงปีที่ผ่านมา มีปริมาณผู้ใช้พุ่งสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด

 

 

หุ่นยนต์ทำงานแทนมนุษย์

 

การใช้หุ่นยนต์ทำงานภายในโรงงานแทนมนุษย์จะยิ่งถูกยกระดับมากขึ้นอีกในปีนี้ โดยจะเปลี่ยนจากการทำงานเป็นรายการ มาเป็นทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นกระบวนการ ส่งผลให้มีอัตราว่างงานของผู้ใช้แรงงานมากขึ้นด้วย

 

 

ความเป็นส่วนตัวทางด้านข้อมูล

 

ผู้ใช้งานโลกดิจิตอลจะมีความตระหนักมากขึ้นถึงสิทธิความเป็นส่วนตัวทางด้านข้อมูล และจะเป็นประเด็นแหลมคมที่บรรดาเอกชนผู้จัดเก็บข้อมูลลูกค้าต้องใส่ใจให้ความสำคัญทั้งการไม่ล่วงละเมิด และการเก็บรักษาไม่ให้เกิดรั่วไหล

 

 

คอมพิวเตอร์ควอนตัม

 

คอมพิวเตอร์แบบควอนตัมซึ่งถูกใช้ร่วมกับการบริหารจัดการการระบาดของโรคโควิด-19 การค้นหาทางแก้ไขปัญหาของการระบาดในช่วงที่ผ่านมา จะมีผลงานออกมาให้ประชาคมโลกเห็นอีกอย่างต่อเนื่องในปีนี้ หลังจีนเป็นชาติล่าสุดที่บรรลุแสนยานุภาพทางควอนตัม และมนุษยชาติเริ่มมีความเข้าใจในการใช้คอมพิวเตอร์ชนิดนี้มากขึ้น

 

 

ผลิตภัณฑ์แปลงขนาด

 

การทำงานที่ยืดหยุ่นจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ที่ยืดหยุ่นขึ้นด้วยในปีนี้ ส่งผลให้จะมีสินค้าที่เน้นเรื่องของรูปแบบ และขนาดออกมา เช่น สมาร์ตโฟนแปลงขนาดอย่าง Samsung Galaxy Z Fold series เป็นต้น

 

 

ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI)

 

เอไอที่พัฒนาตัวเองมาอย่างต่อเนื่องจากการใช้งานนานหลายปีจะกลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของผู้คน โดยจะมีความชาญฉลาดมากขึ้นสืบเนื่องจากช่วงปีที่ผ่านมาผู้คนกว่าครึ่งค่อนโลกหันมาใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์มากขึ้น ทำให้เอไอเหล่านี้ได้รับโอกาสเรียนรู้จากปริมาณข้อมูลที่สูงขึ้นอย่างท่วมท้น ตั้งแต่ เอไอที่ทำหน้าที่แนะนำสินค้าตามร้านค้าออนไลน์ เอไอที่คอยแนะนำภาพยนตร์ในแอพฯ Netflix ไปจนถึงเอไอของเสิร์ช เอ็นจิ้นยักษ์ใหญ่อย่าง Google

 

 

เทคโนโลยี 5 จี

 

เครือข่ายการสื่อสารยุคที่ห้า เทคโนโลยี 5G จะมาถึงมือผู้บริโภคส่วนใหญ่ในปี 2021 ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารมีเสถียรภาพสูงและมีความว่องไวอย่างยิ่ง เปิดประตูสู่ศักราชแห่งการทำงานจากนอกสถานที่ และผลิตภัณฑ์อัตโนมัติอัจฉริยะที่จะเข้ามามีบทบาทเป็นปกติในชีวิตประจำวัน อาทิ รถยนต์อัตโนมัติ และอุปกรณ์อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) ที่บรรดาผู้พัฒนาจะแข่งขันกันดุเดือดในปีนี้ โดยผลการศึกษาเอกชนที่ใช้เทคโนโลยี IoT เข้ามาประยุกต์ พบว่าร้อยละ 51 ทราบพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าได้ดีขึ้น

 

 

บริหารประสบการณ์ ครบวงจร (TX)

 

การบริหารประสบการณ์แบบครบวงจรจะถูกผลักดันจนถึงขีดสุด เนื่องด้วย แนวโน้มการทำงานจากที่บ้านของพนักงานจากมาตรการชะลอการระบาดของ โรคโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการทำงานประสานงานแบบออนไลน์ทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง และลูกค้า นำไปสู่การบริหารแบบ Total Experience (TX)

 

 

แพลตฟอร์มข้อมูลลูกค้า (CDP)

 

เอกชนผู้ให้บริการทุกแห่งจำเป็นต้องมีฐานข้อมูลของกลุ่มลูกค้าตัวเอง แต่ข้อมูลเหล่านี้มีความหลากหลายและกระจายตัวสูง โดยผลจากการศึกษาพบว่า มีเงินลงทุนที่ไม่ก่อกำไรกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 90 ล้านล้านบาทต่อปี จากการบริหารจัดการข้อมูลลูกค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน แอพพลิเคชั่นด้าน CDP ที่ประยุกต์ความก้าวหน้าบิ๊กดาต้าจากอุปกรณ์ไอทีจะเข้ามามีบทบาทช่วยให้การบริหารจัดการข้อมูลเหล่านี้เป็นระเบียบและเข้าถึงง่ายขึ้นทำให้องค์กรทั้งหลายจำเป็นต้องหันมาใช้ประโยชน์

 

 

โครงข่ายความปลอดภัยแบบตาข่าย (แมช)

 

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต้องมาพร้อมกับการรักษาความปลอดภัยรูปแบบใหม่ทางโลกออนไลน์ เรียกว่า ตาข่ายความปลอดภัย หรือแมช (Mesh) เป็นการเชื่อมโยงระบบความปลอดภัยขององค์กร บุคคล หรืออุปกรณ์หลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัย อาทิ ระบบยืนยันตัวตนแบบหลายขั้นตอน (Multi-Factor Authentication) ที่จะเข้ามารักษาความปลอดภัยให้กับองค์กร หลังพนักงานมีแนวโน้มทำงานจากนอกสถานที่มากขึ้น ทำให้ความปลอดภัยข้อมูลขององค์กรเข้าไม่ถึง

 

จันท์เกษม รุณภัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง