รีเซต

“กัมพูชา” เสี่ยงหายจากแผนที่โลก จากวิกฤตโลกร้อน

“กัมพูชา” เสี่ยงหายจากแผนที่โลก จากวิกฤตโลกร้อน
TNN ช่อง16
25 กรกฎาคม 2568 ( 14:06 )
31

กัมพูชาถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมากที่สุด และอยู่อันดับที่ 23 สำหรับผลกระทบจากคลื่นความร้อน ตามแผนยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกัมพูชา (Cambodia Climate Change Strategic Plan: CCCSP) 

 

สำหรับปี 2024–2033 สะท้อนถึงความเปราะบางที่เพิ่มขึ้นของประเทศต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความจำเป็นเร่งด่วนในการมีมาตรการปรับตัวรายงานระบุว่า น้ำท่วมจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงกำลังเป็นภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นต่อภาคการเกษตร เมือง และชุมชนชนบท ขณะที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนและลดประสิทธิภาพแรงงาน

แม้ว่าประชากรราว 75% ของประเทศจะยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท แต่กัมพูชากำลังเผชิญกับอัตราการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ผู้คนสัมผัสถึงความรุนแรงของสภาพอากาศในชีวิตประจำวัน อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่น้ำท่วมและภัยแล้งเกิดถี่ขึ้น

 

เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารของประชาชนบางกลุ่ม รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งภาคเกษตรกรรมมีสัดส่วนเกือบหนึ่งในสี่ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และเป็นแหล่งจ้างงานสำคัญของประชากร

 

สำหรับกัมพูชาตั้งเป้าหมายพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับสูงภายในปี 2030 และเป็นประเทศรายได้สูงภายในปี 2050 แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจซ้ำเติมความท้าทายในการพัฒนาเดิมที่มีอยู่ โดยเฉพาะผลกระทบต่อภาคเกษตร ระบบชลประทาน และอุตสาหกรรมประมงจากข้อมูลในแผน CCCSP กัมพูชามีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน มีแม่น้ำโขงและพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาว โดยประมาณ 80% ของพื้นที่ประเทศตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงซึ่งเกิดน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมก็นำฝนตกหนักที่บางครั้งทำให้เกิดน้ำท่วมได้

ตามดัชนีความเสี่ยง INFORM Risk Index กัมพูชาถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมากที่สุดในโลก ขณะเดียวกันก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุด โดยมีถึง 64 วันที่อุณหภูมิสูงเกิน 35 องศาเซลเซียสต่อปี

 

ประเด็นคลื่นความร้อนที่รุนแรงขึ้นก่อให้เกิดความกังวลเพิ่มขึ้นต่อคุณภาพชีวิตในเขตเมือง การผลิตทางเกษตร การดำรงชีวิตของแรงงานนอกระบบ การผลิตในภาคอุตสาหกรรม และสุขภาพของกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย เด็ก และผู้สูงอายุ

โฆษกคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติ (NCDM) ของกัมพูชา เปิดเผยว่า เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น รัฐบาลได้จัดตั้งทีมแทรกแซนทั้งในระดับชาติและระดับจังหวัดเพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

 

ในปี 2024 น้ำท่วมจากฝนตกหนักและระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อ 22 จังหวัดรวมถึงกรุงพนมเปญ มีครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบมากกว่า 59,000 ครัวเรือน และมีผู้เสียชีวิต 27 ราย 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง