รีเซต

เปิดจุดเริ่มต้น "ฝีดาษลิง" ระบาดจากแอฟริกาลามไปถึงยุโรป

เปิดจุดเริ่มต้น "ฝีดาษลิง" ระบาดจากแอฟริกาลามไปถึงยุโรป
TNN ช่อง16
20 พฤษภาคม 2565 ( 08:11 )
232


อังกฤษเป็นประเทศแรกที่มีรายงานผู้ติดเชื้อ "ฝีดาษลิง" หรือ "ไข้ทรพิษลิง" (Monkeypox) เมื่อ 7 พฤษภาคม หลังเดินทางกลับจากไนจีเรีย ล่าสุดผุ้ติดเชื้อเพิ่มเป็น 9 คนแล้ว ทำให้มีความกังวลว่าอาจมีการระบาดของโรคฝีดาษลิงในชุมชนครั้งแรก 

หลายคนเกิดความหวาดกลัวและกังวลถึงอันตรายของโรคนี้ ซึ่งโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) กับโรคไข้ทรพิษ หรือโรคฝีดาษ (Smallpox) ที่เคยระบาดในอดีต จะกลับมาระบาดอีกครั้ง ส่วนสหรัฐฯ สำนักงานสาธารณสุขรัฐแมสซาชูเส็ตส์  ยืนยันพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง

เมื่อ 18 พฤษภาคม เป็นชายที่เดินทางกลับจากแคนาดา เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเมื่อ 12 พฤษภาคม  นับเป็นผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิงคนแรกในสหรัฐฯ ของปีนี้ ส่วนปีที่แล้วสหรัฐฯรายงานผิดเชื้อฝีดาษลิง เป็นผู้ที่กลับจากไนจีเรีย

แต่สิ่งที่ผิดปกติคือ ผู้ติดเชื้อรายนี้ไม่มีประวัติการเดินทางไปที่อื่นนอกจากแคนาดา และไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ที่เป็นแหล่งแพร่โรคนี้  เช่น ลิง  หนู กระรอก กระต่าย

ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส อาจเกิดจากการมีเพศสัมพันธุ์ระหว่างกลุ่มหลากหลายทางเพศ   ที่เป็นสาเหุตทำให้ติดเชื้อได้เช่นกัน จึงต้องเร่งสอบสวนข้อมูลโดยละเอียด  และเร่งติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยรายแรกนี้

ส่วนที่แคนาดา ได้เฝ้าอย่างใกล้ชิด โดยแคนาดาพบผู้ต้องสงสัยเข้าต่ายติดเชื้อฝีดาษลิง 12 คน ล่าสุดสเปนก็รายงานพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว 8 คน และโปรตุเกสอีก 6 คน เมื่อ 18 พฤษภาคม โดยโปรตุเกสยังมีอีกกว่า 20 คนที่เข้าข่ายต้องสงสัยติดเชื้อ 

"โรคฝีดาษลิง" (Monkeypox) เป็นโรคเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เกิดอาการในคนคล้ายกับโรคไข้ทรพิษหรือโรคฝีดาษ (Smallpox) โดยโรคฝีดาษ ได้หมดไปจากโลกแล้ว ตั้งแต่ปี 2523 การฉีดวัคซีน หรือที่เรียกกันว่า "การปลูกฝี" 

อัตราการเสียชีวิตจากโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) พบสูงสุดในกลุ่มเด็กเล็ก ซึ่งอาจสูงถึงร้อยละ 10  และยังพบการระบาดในบางพื้นที่ของทวีปแอฟริกา  ส่วนใหญ่อยู่ในชนบทห่างไกลของแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันตก บริเวณใกล้เขตป่าร้อนชื้น ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสสัมผัสกับสัตว์ได้บ่อย  


ส่วนสาเหตุทำให้ติดเชื้อโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) มาจากสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระต่าย  โดยคนสามารถติดโรคนี้จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ 

หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด หรือการกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ ส่วนการแพร่เชื้อจากคนสู่คนอาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิด หรือสารคัดหลั่ง เช่นการมีเพศสัมพันธ์  แต่มีโอกาสน้อยมาก  

อาการของโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) จะแสดงหลังจากติดเชื้อไปแล้วประมาณ 12 วัน โดยมีอาการคล้ายโรคไข้ทรพิษหรือโรคฝีดาษ (Smallpox) มีลักษณะอาการ อาทิ มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย

อาจมีอาการไอหรือปวดหลังร่วมด้วย หลังจากนั้นจะมีผื่นขึ้นกระจายตามร่างกาย และกลายเป็นตุ่มหนอง ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา 

อาการป่วยจะเป็นอยู่ประมาณ 2-4 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคได้เอง แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีภูมิต้านทานโรคต่ำหรือมีโรคประจำตัว อาจเกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ปอดบวม หรือเสียชีวิตได้ สำหรับประเทศไทยยังไม่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง  

ด้าน องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ออกคำเตือนว่าอาจพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในอังกฤษมากขึ้น โดยจากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน  คล้ายกับว่าเป็นการติดเชื้อในท้องถิ่น แต่ขอบเขตของการแพร่เชื้อยังไม่ชัดเจน และมีความเป็นไปได้ที่จะพบผู้ป่วยเพิ่มอีก 

โดยผู้ป่วยในอังกฤษส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มผู้หลากหลายทางเพศ ซึ่งหน่วยงานสาธารณสุขของอังกฤษกำลังตรวจสอบแหล่งที่มาของการแพร่เชื้อ และการที่พบการติดเชื้อทั้งในสหรัฐฯ โปรตุเกส สเปน และแคนาดาที่ต้องสงสัยติดเชื้อนั้น ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกมากขึ้น เนื่องจากโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง โดยน้อยมากที่จะแพร่กระจายไปที่อื่น



ข่าวที่เกี่ยวข้อง