รีเซต

'น้ำแข็ง' ก้อนเล็ก แต่ 'รายได้' ไม่เล็ก

'น้ำแข็ง' ก้อนเล็ก แต่ 'รายได้' ไม่เล็ก
TeaC
24 พฤษภาคม 2564 ( 13:48 )
572

 

ข่าววันนี้ น้ำแข็ง สินค้าที่หลายคนนิยมเพิ่มความเย็นให้เครื่องดื่มในการดับกระหาย ดับร้อนในช่วงอากาศร้อน ๆ ยุคโควิดแบบนี้ได้ดี แต่เคยสำรวจกันไหมว่า

 

 

วันนึงเราซื้อ น้ำแข็ง บ่อยแค่ไหน? 

คำถามต่อมา อากาศร้อนแบบนี้ น้ำแข็ง ขายดีขนาดไหน?

 

 

จากการสำรวจสินค้าที่ขายดีใน 7-Eleven ในพื้นที่ กทม. หนึ่งในนั้นมี น้ำแข็ง โดยมียี่ห้อที่วางจำหน่าย คือ

 

 

7-Eleven จำหน่าย 2 ยี่ห้อ

 

  • น้ำแข็ง ร็อกไอซ์ ของบริษัท โคคุโบะ ร็อกไอซ์ (ประเทศไทย) จำกัด  ราคาถุงละ 18 บาท
  • น้ำแข็งตราโลตัส ของบริษัท ตั้งมีนบุรี จำกัด ราคาถุงละ 8 บาท 

 

 

สิ่งที่น่าสนใจของ "ธุรกิจน้ำแข็ง" นั่นคือ รายได้ทั้ง 2 ยี่ห้อนี้ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว

 



1. น้ำแข็ง ร็อกไอซ์ ของ บริษัทโคคุโบะ ร็อกไอซ์ (ประเทศไทย) จำกัด

 

มีรายได้ ดังนี้

  • ปี 2558 รายได้ 83 ล้านบาท ขาดทุน 9 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้ 105 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6.5 แสนบาท
  • ปี 2560 รายได้ 109 ล้านบาท กำไรสุทธิ 4.4 ล้านบาท

 

 

 

2. น้ำแข็งตราโลตัส ของบริษัท ตั้งเจริญมีนบุรี จำกัด

 

มีรายได้ดังนี้

  • ปี 2558 รายได้ 168 ล้านบาท กำไรสุทธิ 4 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้ 167 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2.8 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 188 ล้านบาท กำไรสุทธิ 9.6 ล้านบาท

 

 

จากข้อมูลดังกล่าว ธุรกิจน้ำแข็ง ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สร้างรายได้ไม่ธรรมดา ด้วยน้ำแข็งเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคต่างนิยมซื้อเพิ่มความเย็นให้กับเครื่องดื่มต่าง ๆ แต่ทำยังไงนะถึงจะให้น้ำแข็งละลายช้า

 

 

 

3. น้ำแข็งใส่อะไรละลายเร็วที่สุด 

 

 

โดยข้อมูลนี้จากเพจ Jones salad เล่าเรื่องเกี่ยวกับวิธีเก็บน้ำแข็งกับภาชนะที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี และเมื่อรู้แล้วก็สามารถปรับใช้ให้เข้ากับชีวิตในประจำวันที่อยากได้ น้ำแข็ง มาดับร้อน และไม่ละลายได้เร็ว

 

 

น้ำแข็งใส่กระติก

 

ภาชนะสุดคลาสิกที่หลายบ้านต้องมีไว้ติดครัวแน่นอน และขึ้นชื่อว่าเก็บความเย็นได้เป็นอย่างดี หลายผู้ประกอบการก็มักจะใส่น้ำแข็งไว้ในกระติกจนเต็ม ข้อดีคือ ละลายช้า เก็บความเย็นได้ดี ตรงกลางมักเป็นโฟมอีกชั้น ความร้อยเลยเข้ามายาก

 

 

น้ำแข็งใส่กล่องโฟม

 

กล่อโฟมสี่เหลื่อมที่หลายคนนิยมมาใช้ เพราะยังสามารถขนย้ายได้ง่าย มีหลายขนาดให้เลือกตามความเหมาะสม หรือการใช้ง่าย ข้อดีคือ ละลายกลาง ๆ เพราะโฟมสามารกันความร้อน ไม่ให้เข้ามาข้างในได้

 

 

น้ำแข็งใส่ถังพลาสติก

 

จะพบบ่อยในหมู่สังสรรค์ ที่ในยุคโควิดแบบนี้ต้องเว้นระยะ เพราะการสังสรรค์ปาร์ตี้เป็นหมู่ขณะเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้อโควิดแพร่ติดรวดเร็วอย่างที่เป็นข่าว ข้อเสียคือ ละลายเร็ว เพราะพลาสกิตสามารถดูดความร้อน เข้ามาได้มากกว่าโฟม

 

 

น้ำแข็งใส่ถังอลูมิเนียม

 

หลายคนคิดว่าการใส่น้ำแข็งใส่ถังอลูมิเนียมจะช่วยให้น้ำแข็งละลายช้า แต่กลายเป็นว่าละลายเร็วมาก เพราะนำความร้อนได้ดี เลยดูดเอาความร้อนเข้ามาได้เยอะ

 

 

และหากใครอยากให้น้ำแข็งละลายข้า ต้องการแช่ของให้เย็น ๆ แนะนำให้ใส่เกลือลงไปในน้ำแข็ง จะช่วยให้น้ำแข็งเย็นขึ้น เพราะเกลือดูดความร้อจากน้ำแข็ง

 

 

4. น้ำแข็ง มีกี่ประเภท  

 

สำหรับน้ำแข็งที่เรามักจะเห็นกันบ่อย ได้แก่ น้ำแข็งสี่เหลี่ยม (Cube), น้ำแข็งเกล็ดกรอบ (Nugget), น้ำแข็งถ้วย (Gourmet) และน้ำแข็งแผ่น (Flake) ซึ่งลักษณะการใช้งานก็จะแตกต่างกันออกไป

 

 

ยกตัวอย่าง

 

  • น้ำแข็งสี่เหลี่ยม ถือเป็นน้ำแข็งยอดนิยมใช้เพิ่มความเย็นให้กับเครื่องดื่ม เช่น กาแฟนเย็น น้ำหวานต่าง ๆ 
  • น้ำแข็งเกล็ดกรอบ เชื่อว่าไม่มีใครไม่เคยซื้อน้ำแข็งประเภทนี้ เพราะเราจะพบเห็นได้บ่อยมาก ๆ เมื่อเข้าร้านสะดวกซื้ออย่าง เซเว่น อีเลฟเว่น มีขนาดเล็ก ไม่แข็งมาก ถือว่าเป็นน้ำแข็งที่เคี้ยวง่ายที่สุด กรุบกรอบ เคี้ยวเพลิน โดยใส่ได้กับเครื่องดื่มทุกชนิด เช่น น้ำอัดลม, น้ำหวาน, ชา, กาแฟ เป็นต้น

 

 

จะเห็นได้ว่าน้ำแข็ง ก้อนเล็ก ๆ ที่เราคุ้นเคยกันดีไม่เพียงเพิ่มความเย็นช่วยดับร้อนได้แล้ว แต่เมื่อมองเป็นสินค้าก้ถือว่าทำรายได้ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจน้ำแข็งได้เป็นอย่างดี และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้น 

 

 

เนื่องจากยังเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคนิยมซื้อ รวมทั้งการเลือกซื้อสินค้าประเภทน้ำแข็ง ควรสังเกตถุงว่ามิชิดเรียบร้อยหรือไม่ ขณะที่ โรงงานผู้ผลิตต้องคุ้มเข้มในการผลิต ต้องใส่ใจในขั้นตอนกระบวนการผลิตอย่างสะอาดและถูกสุขลักษณะที่ดีด้วยตามที่ กรมอนามัยแนะนำก่อนส่งถึงมือผู้ประกอบการรายย่อย และผู้บริโภคในที่สุด 

 

 

เพราะความสะอาดต้องมาตั้งแต่ต้นทางสู่ปลายทางยิ่งในยุคโควิดแบบนี้ด้วยแล้ว ต้องช่วยกันให้มากขึ้น

 

 

ข้อมูล : ลงทุนแมน

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง