รีเซต

นักวิจัยจำลอง 'อุณหภูมิ' ที่ราบจีนตอนเหนือ ระยะ 3 หมื่นปี

นักวิจัยจำลอง 'อุณหภูมิ' ที่ราบจีนตอนเหนือ ระยะ 3 หมื่นปี
Xinhua
24 มีนาคม 2565 ( 10:46 )
33
นักวิจัยจำลอง 'อุณหภูมิ' ที่ราบจีนตอนเหนือ ระยะ 3 หมื่นปี
ปักกิ่ง, 23 มี.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิจัยจีน นำโดยคณะนักวิจัยจากสถาบันธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ได้จำลองการเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิและอุทกวิทยา บริเวณพื้นที่ราบตอนเหนือของจีน ซึ่งมักเผชิญลมมรสุม ในช่วงระยะ 30,000 ปีที่ผ่านมา
 

บทความวิจัยจากวารสารควอเทอร์นารี ไซแอนซ์ รีวิวส์ (Quaternary Science Reviews) ระบุว่าอุณหภูมิอากาศในพื้นที่ราบตอนเหนือของจีนในยุคโฮโลซีน (Holocene) ตอนกลาง หรือเมื่อราว 6,000 ปีก่อน อุ่นกว่ายุคน้ำแข็งใหญ่สุดครั้งสุดท้าย (Last Glacial Maximum) หรือราว 22,000 ปีก่อน ราว 8-9 องศาเซลเซียส

 

ส่วนค่าพีเอช (pH) ของดินมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความชื้นของดิน และมีเวลาล่าช้าราว 2,000-4,000 ปี เนื่องด้วยปฏิกิริยาชนกันของคาร์บอเนต ทว่าความชื้นของดินเพิ่มขึ้นพร้อมอุณหภูมิอากาศ ซึ่งบ่งชี้ว่าปริมาณฝนจากพายุมรสุมฤดูร้อนในเอเชียตะวันออกจะเพิ่มขึ้น และจีนตอนเหนือจะชุ่มชื้นเพิ่มขึ้นในอนาคตตามภาวะโลกร้อน

 

นอกจากนั้นการเพิ่มขึ้นระยะแรกของอุณหภูมิบนบกและทะเลในยุคน้ำแข็งฯ เกิดขึ้นช้ากว่าการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ช่วงฤดูร้อนที่เขตละติจูดสูงทางตอนเหนือ โดยภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเร็วกว่าการเปลี่ยนแปลงด้านความหนาแน่นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งบ่งชี้ว่าการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์เป็นตัวกระตุ้นสุดท้ายของยุคน้ำแข็งฯ

อนึ่ง พายุมรสุมฤดูร้อนในเอเชียตะวันออกถือเป็นส่วนสำคัญของระบบหมุนเวียนมรสุมทั่วโลก และมีความสำคัญต่อการถ่ายเทน้ำและความร้อนระหว่างซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง