วัยเกษียณควรรู้! แจกสูตรคำนวณเงินบำนาญชราภาพ
สำนักงานประกันสังคมมอบเงินบำนาญชราภาพให้แก่ผู้ประกันตนที่เป็นสมาชิกของสำนักงานประกันสังคม เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตยามเกษียณได้อย่างสบาย โดยเงินบำนาญชราภาพเป็นเงินที่จ่ายให้ผู้ประกันตนเป็นรายเดือนตลอดชีวิต
เงื่อนไขการรับเงินบำนาญชราภาพ มีดังนี้
- 1. ต้องเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน หรือ 15 ปีขึ้นไป
- 2. มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- 3. สิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนประกันสังคม
ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม
การคำนวณเงินบำนาญชราภาพแยกเป็น 2 วิธีดังนี้
- 1. เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 180 เดือนหรือ 15 ปี จะได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย โดยมีฐานเงินเดือนที่คิดคือ 15,000 บาท
ตัวอย่าง
ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี จ่ายเงินสมทบมาแล้ว15 ปี มีรายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 15,000 บาท ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญเดือนละ 3,000 บาท
2. เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนหรือ 15 ปีขึ้นไป จะได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย โดยมีฐานเงินเดือนที่คิดคือ 15,000 บาท และได้เพิ่ม อีก 1.5% ของทุกปี = 20% + (1.5*จำนวนปี)
ตัวอย่าง
ผู้ประกันตนอายุ 60 ปี จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 35 ปี มีรายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 15,000 บาท ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ เดือนละ 7,500 บาท
*กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน (5 ปี) นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ทายาทมีสิทธิ์ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย
ที่มาข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม
ที่มาภาพ : AFP