รีเซต

ข้อมูล สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 วิธีสมัคร ช่องทางการส่งเงินสมทบมีกี่ทางเลือก สิทธิประโยชน์คุ้มครองอะไรบ้าง และขั้นตอนการแจ้งขอเปลี่ยนแปลงทางเลือกต้องทำอย่างไร

ข้อมูล สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 วิธีสมัคร ช่องทางการส่งเงินสมทบมีกี่ทางเลือก สิทธิประโยชน์คุ้มครองอะไรบ้าง และขั้นตอนการแจ้งขอเปลี่ยนแปลงทางเลือกต้องทำอย่างไร
TrueID
19 มกราคม 2565 ( 10:07 )
7.9K

ไม่ว่ากำลังทำอาชีพอิสระอะไรอยู่ หากอยากได้รับความคุ้มครองและสวัสดิการดีๆละก็อย่ารอช้าสามารถสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนม.40 กันเลย วันนี้ TrueID จะพาไปดูรายละเอียดของการสมัครกันเลย ว่ามีกี่ทางเลือกในการส่ง และสิทธิประโยชน์คุ้มครองอะไรบ้าง

 

 

โดยสามารถเลือกจ่ายได้ 3 ทางเลือก ได้แก่

  1. ทางเลือกที่ 1 70 บาท/เดือน
  2. ทางเลือกที่ 2 100 บาท/เดือน
  3. ทางเลือกที่ 3 300 บาท/เดือน

 

ผู้ที่สนใจสามารถสมัครได้ที่

  • เซเว่น-อีเลฟเว่น ทุกสาขา
  • ธนาคาร ธ.ก.ส. ทุกสาขา
  • เว็บไซต์ www.sso.go.th
  • Big C ซุปเปอร์เซ็นเตอร์
  • เครือข่ายประกันสังคม ทั่วประเทศ
  • สายด่วนประกันสังคม 1506

 

 

สิทธิประโยชน์คุ้มครอง 5 กรณี

ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยผู้ประกันตนมาตรา 40 ของสำนักงานประกันสังคม มีสิทธิประโยชน์คุ้มครอง 5 กรณี

 

 

1. กรณีเจ็บป่วย

จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

ทางเลือกที่ 1 และ 2

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้

- นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท

- ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท

- ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์ไม่มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัว หรือ ให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน (มีใบรับรองแพทย์มาแสดง) ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้ง ต่อปี

**ภายใน 1 ปี ได้รับสิทธิตาม (1) และ (2) รวมกันไม่เกิน 30 วันต่อปี**

ทางเลือกที่ 3

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้

(1) นอนพักรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 300 บาท

(2) ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปวันละ 200 บาท

*ภายใน 1 ปี รับสิทธิตาม (1) และ (2) รวมกันไม่เกิน 90 วัน

หมายเหตุ : สิทธิการรักษาใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ/บัตรทอง (สปสช.) หรือสิทธิเดิมที่มีอยู่

 

2. กรณีทุพพลภาพ

- จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือนใน 10 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 500 บาท

- จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 12 เดือนใน 20 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 650 บาท

- จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 24 เดือนใน 40 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 800 บาท

- จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 36 เดือนใน 60 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 1,000 บาท

ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี

*เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินค่าทำศพ 25,000 บาท

ทางเลือกที่ 3

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือน ตลอดชีวิต

*เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินค่าทำศพ 50,000 บาท*

 

3. กรณีเสียชีวิต

- จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 ใน 12 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย ยกเว้น กรณีตายเพราะอุบัติเหตุ

- หากจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 6 ใน 12 เดือน แต่มีการจ่ายเงินสมทบ 1 ใน 6 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย

ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2

- ได้รับเงินค่าทำศพ 25,000 บาท จ่ายให้กับผู้จัดการศพ

- ได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย 8,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 60 เดือนก่อนเดือนที่ตาย

ทางเลือกที่ 3

- ได้รับเงินค่าทำศพ 50,000 บาท ก่อนเดือนที่ตายจ่ายให้กับผู้จัดการศพ

 

4. กรณีสงเคราะห์บุตร

จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 24 ใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน *ขณะรับเงินสงเคราะห์บุตร ต้องจ่ายเงินสมทบทุกเดือน*

ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2

- ไม่คุ้มครอง

ทางเลือกที่ 3

- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน คนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน บุตรอายุตั้งแต่แรกเกิดแต่ไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์

 

5. กรณีชราภาพ

เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

ทางเลือกที่ 1

ไม่คุ้มครอง

ทางเลือกที่ 2

- ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินสมทบ 50 บาท คูณ จำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบ บวกเงินออมเพิ่ม) พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปีตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด

ทางเลือกที่ 3

- ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินสมทบ 150 บาท คูณ จำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบ บวก เงินออมเพิ่ม) พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปีตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด

*ผู้ประกันตนทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม (ออมเพิ่ม) ได้ไม่เกิน 1,000 บาท ต่อเดือน

 

ขั้นตอนการแจ้งขอเปลี่ยนแปลงทางเลือกสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40

หากผู้ประกันตนมาตรา 40 มีต้องการเปลี่ยนแปลงทางเลือก สามารถดำเนินการโดยใช้เอกสารการแจ้งขอเปลี่ยนแปลงทางเลือกดังนี้

1. แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงและทางเลือกการนำส่งเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ( สปส. 1-40/1 ) ดาวน์โหลดที่นี่

2. สำเนาบัตรประชาชน

 

ช่องทางการยื่นเอกสาร

  1. ยื่นด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมทุกพื้นที่
  2. ยื่นทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียน

เช็กสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ได้ที่นี่

 

ข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง