รีเซต

ศบค.เผยพบ 2 คลัสเตอร์ใหม่ใน กทม. ยังไม่คลอดการรักษาการตัวที่บ้านเพราะยังเสี่ยง

ศบค.เผยพบ 2 คลัสเตอร์ใหม่ใน กทม. ยังไม่คลอดการรักษาการตัวที่บ้านเพราะยังเสี่ยง
มติชน
7 กรกฎาคม 2564 ( 16:00 )
45
ศบค.เผยพบ 2 คลัสเตอร์ใหม่ใน กทม. ยังไม่คลอดการรักษาการตัวที่บ้านเพราะยังเสี่ยง

ศบค. เผย พบ 2 คลัสเตอร์ใหม่ใน กทม. ปรับแผนเพิ่มศักยภาพในการเคลื่อนย้าย-หาเตียง ยังไม่คลอด การรักษาการตัวที่บ้านเพราะยังเสี่ยง ขอพิจารณาอย่างรอบคอบก่อน

 

 

 

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. กล่าวว่า สำหรับรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ แยกตามจังหวัด พบว่า 1. กทม. มีผู้ติดเชื้อ 1,549 ราย2.สมุทรปราการ 548 ราย 3.สมุทรสาคร 434 ราย 4.นครปฐม 266 ราย และ 5. ชลบุรี 262 ราย ฉะเชิงเทรา 252 ราย, ประจวบคีรีขันธ์ 241 ราย, นนทบุรี 235 ราย, ปทุมธานี 21 ราย และปัตตานี 190 ราย

 

 

 

โดย มีรายงานคลัสเตอร์ใหม่ 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ มีนบุรี และโรงงานผลิตจิวเวลรี่ บางนา ทำให้มีคลัสเตอร์ที่ต้องเฝ้าระวัง 118 แห่ง ส่วนการรายงานผู้ป่วยที่รอเตียงของกทม. สำหรับผู้ป่วยสีแดง 40-50 รายต่อวัน สีเหลือง 200-300รายต่อวัน และสีเขียว 300-400 รายต่อวัน ทำให้มีสะสมรวมระดับ 1,000 ราย ในขณะที่การขนส่ง โดยเฉพาะ ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) สามารถขนส่งผู้ป่วยได้ 500 เที่ยวต่อวัน

 

 

 

สะท้อนให้เห็นว่าศักยภาพในเรื่องจำนวนเตียงแต่การบริการทางการแพทย์มีอยู่อย่างจำกัด ในที่ประชุมศบค.ชุดเล็กและประชุมอีโอซีกระทรวงสาธารณสุข จึงได้ออกมาตรา เร่งจัดการเพิ่มศักยภาพในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ให้ความสำคัญไปที่ผู้ป่วยสีแดง จะต้องเข้าสู้ระบบทันที และผู้ป่วยสีเหลือจะต้องเร่งให้เข้าสู่ระบบ โดยใช้เวลาคอยให้น้อยที่สุดไม่เกิน 1 วัน ผู้ป่วยสีเขียวหรืสีขาว หรือ ที่ไม่มีอาการ จะจัดสรรให้ไปพักอยู่ที่ศูนย์พักคอยของ กทม.ในแต่ละเขต ซึ่ง กทม. รายงานว่า ศูนย์พักคอย ที่เปิดได้ในทันทีมี 5 ศูนย์

 

 

 

อีกส่วน คือ การขยายศักยภาพของเตียงที่จะรองรับผู้ป่วย ที่ประชุมได้มีการกล่าวถึง การจัดตั้ง โรงพยาบาลสนามระดับสูง ที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยใช้เวลาเตรียมการ 3 สัปดาห์ที่จะเปิดรับผู้ป่วยได้ ประมาณเดือน สิงหาคม จำนวน 5,000 เตียง และสำรองผู้ป่วยสีแดง 1,360 เตียง และอีกส่วนคือ เรื่อง ป่วยโควิด-19 แบบกักตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation ที่ได้หารือมาหลายครั้งแล้ว แต่ที่ยังไม่ออกมาตรการมานั้น เนื่องจากการการการกักตัว และดูแลที่บ้านยังมีความเสี่ยงอยู่ จึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ

 

 

 

สิ่งสำคัญคือ จะต้องมีแบบประเมินด้วยตนเองของผู้ป่วยที่แม่นยำ วัดอุณหภูมิ และค่าออกซิเจน เป็นต้น และการติดต่อผู้ป่วยผ่านช่องทางเทคโนโลยีดิจิทัล นอกจากนี้ต้องมีความร่วมมือจากผู้ป่วยที่จะปฏิบัติตามาตรการแยกกัก เพื่อให้ไม่มีการแพร่เชื้อไปสู้ครอบครัวและชุมชนได้ ทำให้แพทย์ไม่สามารถอนุญาตผู้ป่วยทุกรายได้ ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ถ้าหากบ้านไม่เหมาะสม มีห้องน้ำห้องเดียวและต้องใช้ร่วมกัน รวมทั้งพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ มีอาการป่วยทางจิต หรือการสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่ส่งผลให้ปอดอักเสบ ก็จะทำให้แพทย์พิจารณาว่าไม่เหมาะกับการกักตัวที่บ้าน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง