กลยุทธ์ลงทุนเดือนเมษายน : ลงทุนธีมผลประกอบการที่ยัง Laggard ลดเก็งกำไรกลุ่ม Sentiment
เดือนเมษายน เป็นเดือนที่มีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยังน่ากังวล โดยเฉพาะการระบาดรอบ 3 ดังนั้นนักลงทุนต้องเพิ่มความระมัดระวังการลงทุนเป็นอย่างมาก กลยุทธ์การลงทุนในเดือนนี้เป็นอย่างไร TNN WEALTH รวบรวมกลยุทธ์จากโบรกเกอร์มาฝากกัน
บล.กสิกรไทย เปิดเผยเดือนกลยุทธ์การลงทุนในเดือนเมษายน 2564 “แนะรักษาเงินต้น” ลดการเก็งกำไรกลุ่ม Sentiment หันเข้ากลุ่มผลประกอบการ ที่ยัง Laggard
บล.กสิกรไทย วิเคราะห์ว่าภายหลังดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้น 10% ตั้งแต่ต้นปี 2564 สูงกว่าภูมิภาค 8% สูงกว่าตลาดหุ้นโลกกว่า5% ตามลำดับ และเป็นระดับเทียบเท่ากับช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 แล้ว ในขณะที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ และคาดว่าจะใช้เวลายาวนานกว่าประมาณการเดิมที่คาด Output gap หรือช่องว่างระหว่าง Potential GDP กับ Real GDP ที่เดิมถูกประมาณการว่าจะปรับขึ้นก่อนเกิดวิกฤตในช่วง 3Q22 แต่ล่าสุดที่เกิดการระบาดระลอกสามขึ้น ทำให้เชื่อว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินไว้
ในขณะที่ EPS ปีนี้คาดว่า จะใช้เวลาอีกมากกว่า 1ปีก่อนที่กำไรตลาดหุ้นจะเทียบเท่ากับก่อนเกิดโควิด-19 ในระดับ 90+ ฉะนั้นเราประเมินว่า ณ.ระดับ SET ที่บริเวณ 1,600จุด+/- จะเริ่มรับปัจจัยลบมากขึ้น และ กลยุทธ์การลงทุนเดือนเมษายน เราให้น้ำหนักต่อการรักษาเงินต้น ลดการเก็งกำไรในหุ้นเชิง Story play หรือ Sentiment ลง หันมาสะสมหุ้นที่คาดผลประกอบการไตรมาส1/64 ดี, ฐานะการเงินแข็งแกร่ง และได้รับผลกระทบต่อการระบาดระลอกใหม่ที่จำกัด เช่นเดียวกับสหรัฐที่นับจากเดือนเม.ย.เป็นต้นไปจะเผชิญกับแรงกดดันจากทั้งเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวเร็วกว่าที่หลายคนประเมิน นำมาซึ่งเงินเฟ้อ และ Bond yield ที่เร่งตัว จากทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ความหวังของแผนกระตุ้น 2.2ล้านล้านเหรียญในระยะยาว รวมถึงฐานที่ต่ำในช่วงไตรมาส2/63
สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดระลอก 3 ภายในประเทศยังคงมุมมองเดิมว่าให้จับตาดูจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันว่ายังคงฟื้นตัวต่อเนื่องหรือไม่ หากตัวเลข เติบโตในอัตราที่น้อยลงหรือกล่าวคือการระบาดระลอก 3 มีสถานการณ์ที่ดีขึ้น เราคาดจะเป็นบวกต่อตลาดทุนไทย ยังคงแนะนำกลุ่ม Vaccine play และ แนะจับตาตัวเลขดังกล่าวช่วงปิดเทศกาลสงกรานต์และหลังเทศกาลสงกรานต์
ส่วนหุ้นแนะนำ คือ JWD (พื้นฐาน 10.00 บาท) ธุรกิจทุกภาคส่วนฟื้นตัวทั้งคลังสินค้า ห้องเย็น ธุรกิจเกี่ยวข้องกับยานยนต์ และ Barge Terminal, หุ้นขนาดกลางในกลุ่ม Logistic ที่ราคาดหุ้นค่อนข้าง Laggard กลุ่มมาก
TU (พื้นฐาน 16.40 บาท) ธุรกิจของ TU ในไตรมาส 2/2564 ยังคงแข็งแกร่งแม้จะมีประเด็นเรื่องของฐานสูงโดยเบื้องต้นคาดกำไรไตรมาส 1/2564 ที่ 1,400 ล้านบาท (+
37% YoY, -4.4% QoQ), ทุกๆการอ่อนค่าของเงินบาทจะส่งผลบวกต่อกำไรของ TU 6-8%
บล.โนมูระ พัฒนสิน วิเคราะห์ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ภายในประเทศยังค่อนข้างน่าเป็นห่วง ทำให้ศบค.ประกาศมาตรการป้องกันที่เข้มงวดขึ้น โดยสั่งปิดสถานบันเทิงทุกแห่งใน 41 จังหวัด เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ขณะที่หลายจังหวัดเริ่มประกาศงดรับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นทีเสี่ยง ซึ่งการเกิดขึ้นในช่วงสงกรานต์ ยิ่งกระทบ Mobility ภายในประเทศหดตัวอย่างมีนัย เศรษฐกิจไทยมี Downside และอาจกระทบต่อประมาณการณ์ตลาด ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเหมือนจะผ่านจุดต่ำสุดไป โดยปัจจุบัน EPS ตลาดปี 2564-2565อยู่ที่ 79.23 และ 93.39 บาท/หุ้น ทั้งนี้ การที่ SET ปรับตัวลงแรงในช่วงก่อนหน้า อาจจะทำให้ระยะสั้นเกิดการ Rebound หลังตลาดตอบรับการเกิดระบาดรอบ 3 ไปส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ยังคงแนะนำระมัดระวัง แนะนำให้อยู่ฝั่งขายลดน้ำหนักการลงทุนก่อนหยุดยาว เพื่อประเมินสถานการณ์ การเก็งกำไรให้ใช้เม็ดเงินจำกัด โดยดัชนีหุ้นไทย ยังมีความเสี่ยงพักฐานในกรอบหลักถัดไปคือ 1,540-1,510จุด และกรณีมีความเสี่ยงเพิ่มเติมคือ 1,490-1,469จุด โดยแนะสะสมกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจำกัดจากโควิด-19 ได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนฯ(HANA, KCE) Consumer Finance(SAWAD) โรงไฟฟ้า(GULF, RATCH, GPSC) กลุ่มสื่อสาร(INTUCH) กลุ่มเครื่องดื่ม(ICHI, SAPPE) กลุ่มซ่อมแซมบ้าน(HMPRO) และ High Yield (KKP, SPALI)
บล. เอเชีย พลัส วิเคราะห์ว่าภาพรวมตลาดหุ้นโลกในเดือน เม.ย. ส่วนใหญ่ได้แรงหนุนจากสภาพคล่องส่วนเกินรวมถึง Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นหลายแห่งในภูมิภาค โดยมียอดซื้อสุทธิสะสมทั้ง 5 ประเทศ อยู่ที่ 3,470 ล้านเหรียญ (เป็นการซื้อสุทธิทุกวันทำการ)
หากพิจารณาเป็นรายประเทศจะเห็นความสอดคล้องของ Fund Flow กับตัวเลขการติดเชื้อโควิด-19 ในทิศทางตรงกันข้ามอย่างชัดเจน คือ ประเทศที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อไม่ถึง 1,000 รายต่อวัน อย่าง ประเทศไต้หวัน, เกาหลีใต้ และไทย ตลาดหุ้นถูกต่างชาติซื้อสุทธิทั้งสิ้น ในทางตรงกันข้ามประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียมีผู้ติดเชื้อต่อวันจำนวนมากเกิน 10,000 ราย และ 5,000 รายตามลำดับ ซึ่งตลาดหุ้นถูกต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่อง
ดังนั้นตลาดหุ้นไทยที่กำลังจะเข้าสู่ช่วงวันหยุดสงกรานต์ ทำให้นักลงทุนน่าจะอยู่ในภาวะ Wait & See รอดูตัวเลขการแพร่ระบาด หากควบคุมได้ดีเชื่อว่า Fund Flow ยังมีโอกาสไหลเข้าต่อเนื่อง ในทางกลับกันหากตัวเลขผู้ติดเชื้อเร่งตัวแรงเหมือนประเทศเพื่อนบ้านอาจกดดันให้ตลาดหุ้นไทยย่อตัวได้
กลยุทธ์เลือกหุ้นที่ได้รับผลกระทบจากโควิด -19 จำกัด และอาจจะได้ประโยชน์ในบางมุม เป็น Toppick เริ่มจาก BDMS มีคนมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก, BLA ได้อานิสงค์จากการทำประกัน โควิด -19 และ SCC อาจได้แรงหนุนขอเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม รวมถึงกำไร 1Q64 เติบโตดีทั้ง QoQ และ YoY