รีเซต

Crypto Currency: รู้จักเหรียญ อีเธอเรียม และสมาร์ทคอนแทรค คืออะไร?

Crypto Currency: รู้จักเหรียญ อีเธอเรียม และสมาร์ทคอนแทรค คืออะไร?
TrueID
17 กุมภาพันธ์ 2564 ( 11:30 )
3.2K

สำหรับนักลงทุนเกือบทุกคนในปัจจุบันที่ปรับตัวเข้ามาสู่วงการ ซื้อ-ขาย เงินตรา ย่อมรู้จัก “บิตคอยน์” ในฐานะสกุลเงินดิจิทัลอันดับ 1 ของโลก เมื่อมีที่ 1 ก็ย่อมมีที่ 2 นั่นก็คือคริปโตที่มีชื่อว่า “Ethereum (อีเธอเรียม)” ซึ่งก็อยู่เป็นอันดับสองมาโดยตลอด สกุลเงินชนิดนี้มีคุณสมบัติเด่นในการเป็น “แพลตฟอร์ม Smart Contract”  ในวันนี้ trueID news จะพาไปทำความรู้จักกับสมาร์ทคอนแทรคในสกุลเงินชนิดนี้ว่ามีการทำงานอย่างไร

 

อ่าน ย้อนดูราคา "บิทคอยน์" ราชาแห่ง cryptocurrency

 

ทำความรู้จักสกุลเงิน “Ethereum (อีเธอเรียม)

Ethereum เปิดตัวในปี 2015 เป็นผลงานการผลิตของ Vitalik Buterin ที่มีชื่อเสียงซึ่งเห็นการใช้ศักยภาพของเทคโนโลยี Blockchain พื้นฐานของ Bitcoin เป็นขั้นตอนต่อไปในการส่งเสริมการขยายตัวของชุมชน Blockchain ขณะนี้ Ethereum เป็นสกุลเงินดิจิตอลบน Marketcap เป็นอันดับ 2 รองจาก Bitcoin และคาดว่าจะสูงกว่า Bitcoin เนื่องจากเป็นการลงทุนที่มีค่าและเป็นสกุลเงินดิจิตอลที่มุ่งหวังที่จะได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก

Ethereum เป็นบล็อกเชนที่เขียนโปรแกรมได้ ไม่เหมือนกับบิทคอยน์บล็อกเชนที่ได้เพียงการรับ-ส่งบิทคอยน์เท่านั้น อีเธอเรียมทำให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างระบบของตัวเองได้ พูดง่ายๆคือ อีเธอเรียมเปรียบเสมือนซอฟต์แวร์ที่เปิดรับให้คนมาใช้ได้

โดยทำงานผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน ทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถสร้างและส่งแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ขึ้นบนบล็อกเชนได้ ระบบที่ผู้ใช้งานสร้างขึ้น หรือเรียกอีกอย่างนึงว่า จะถูกก๊อปปี้ และ ประมวลผลในคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องที่อยู่ในเครือข่าย

หากจะให้อธิบายแบบสั้นๆง่ายๆนั้น Ethereum ก็คือคอมพิวเตอร์ของโลกใบนี้ที่สามารถที่จะทำให้ทุกอย่างกระจาย (decentralize) และอาจถึงขั้นทำให้ระบบโมเดลของเซอเวอร์มาตรฐานต้องเปลี่ยนโฉมไปตลาดกาล

ด้วย Ethereum นั้น ระบบเซอเวอร์และ cloud จะถูกแทนที่ด้วยระบบที่เรียกว่า node นับพัน โดย node เหล่านี้จะถูกติดตั้งและเปิดให้ทำงานด้วยอาสาสมัครจากทั่วโลก (จนกระทั่งกลายเป็นคอมพิวเตอร์ของโลกใบนี้)

วิสัยทัศน์นี้ได้แสดงให้เห็นว่า Ethereum สามารถที่จะทำให้ผู้คนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นใครที่ไหนบนโลกนี้ ต่างก็สามารถที่จะสร้างบริการและระบบดีๆผ่าน Ethereum ได้

 

อะไรคือสมาร์ทคอนแทรค ?

        Smart Contract (สมาร์ทคอนแทรค) คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กซึ่งถูกเก็บไว้ในรูปของบล็อคเชนอีเธอเรียม ตัวสมาร์ทคอนแทรคสามารถใช้งานได้โดยใส่เหรียญอีเธอเรียมเข้าไปในตัวสัญญานั้นๆ นอกเหนือจากนั้นสมาร์ทคอนแทรคจะระบุกฎระเบียบระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายไว้ซึ่งมันจะช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องของการแลกเปลี่ยนเอกสาร, หุ้นในบริษัท, เงิน, สินทรัพย์ และอื่นๆอีกมากมายที่มีมูลค่าในตัวมันเอง โดยสมาร์ทคอนแทรคมีจุดประสงค์หลักคือ ตรวจสอบ, ยืนยัน, บังคับใช้หรือเซ็นสัญญาและข้อตกลงต่างๆผ่านระบบดิจิตอล

        สมาร์ทคอนแทรคแตกต่างจากสัญญาทั่วๆไปตรงที่สมาร์ทคอนแทรคสามารถดำเนินการหรือยืนยันข้อตกลงต่างๆได้อย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง อาทิเช่น ธนาคาร, รัฐบาล, โบรกเกอร์, ตัวแทนหรือทนาย

        ซึ่งตามจริงแล้ว ตัวบล็อคเชนของบิทคอยน์น์ก็สามารถสร้างสมาร์ทคอนแทรคในนั้นได้ แต่ข้อเสียหลักๆของมันก็คือโครงสร้างภาษาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มันซับซ้อนเกินกว่าที่จะนำไปพัฒนาระบบต่างๆได้ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อคเชนของอีเธอเรียมที่เป็นมิตรกับนักเขียนโปรแกรมมากกว่าเนื่องด้วยโครงสร้างของระบบที่สามารถทำงานได้โดยไม่ติดขัดเรื่องภาษาโปรแกรม

 

แล้วสมาร์ทคอนแทรคทำงานยังไง ?

การสร้างข้อตกลง
      - ข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายจะถูกแปลงเป็นรหัสคอมพิวเตอร์ จากนั้นการทำธุรกรรมต่างๆที่เกิดขึ่นจะถูกบันทึกโดยอัตโนมัติในบล็อคเชนของอีเธอเรียม สมาร์ทคอนแทรคแต่ละอันจะมีหมายเลขที่อยู่เป็นของตัวเองและเมื่อใดก็ตามที่สมาร์ทคอนแทรคถูกบันทึกในบล็อคเชนของอีเธอเรียมใครก็ตามที่มีที่อยู่ของตัวสมาร์ทคอนแทรคนั้นๆจะสามารถเข้าถึงสมาร์ทคอนแทรคได้

Triggering Events
      - สมาร์ทคอนแทรคจำเป็นที่จะระบุถึงเหตุการณ์/จุดประสงค์พร้อมด้วยวันหมดอายุของสัญญาเพื่อให้ตัวสมาร์ทคอนแทรคทำงานได้ด้วยตัวมันเองโดยพิจารณาจากข้อตกลงที่ถูกแปลงเป็นรหัส ซึ่งรหัสเหล่านี้จะระบุขั้นตอนต่างๆโดยอาศัยหลักเหตุและผล เราสามารถอธิบายหลักเหตุและผลได้ว่า ถ้าคำสั่งชุดนึงถูกส่งออกมาก็จะให้ผลในรูปแบบรูปแบบหนึ่ง โดยสมาร์ทคอนแทรคก็จะทำงานไปเรื่อยๆจนกว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะยุติสัญญา

การยุติข้อตกลง
      - เมื่อสมาร์ทคอนแทรคถูกสร้างมาแล้ว ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นที่จะบรรลุจุดประสงค์หรือเหตุการณ์ต่างๆตามที่ได้ตกลงกันไว้ตอนแรก ถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ทำตามที่ระบุไว้ในสัญญาภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ บล็อคเชนจะคืนเงินไปให้อีกฝ่ายหนึ่ง

 

ภาพโดย Peter Patel จาก Pixabay 

ข้อมูล :

https://bitblockthai.com/about-ethereum/

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง