รีเซต

ผู้ชายดีๆ มีแต่ในซีรี่ย์เกาหลี? สะท้อนวัฒนธรรม "ชายเป็นใหญ่" ในเกาหลีใต้หรือเปล่า

ผู้ชายดีๆ มีแต่ในซีรี่ย์เกาหลี? สะท้อนวัฒนธรรม "ชายเป็นใหญ่" ในเกาหลีใต้หรือเปล่า
Ingonn
21 ตุลาคม 2564 ( 16:57 )
1.9K
ผู้ชายดีๆ มีแต่ในซีรี่ย์เกาหลี? สะท้อนวัฒนธรรม "ชายเป็นใหญ่" ในเกาหลีใต้หรือเปล่า

พฤติกรรมที่นักร้อง หรือนักแสดงเกาหลีผู้ชาย ที่มักมีเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ หรือการข่มขู่เพศหญิง เป็นการสะท้อนวัฒนธรรมของประเทศ “เกาหลีใต้” ที่ได้รับอิทธิพลมาจาก “ลัทธิขงจื๊อ”

 

จากรายงาน “Global Gender Gap Report” ของ World Economic Forum ซึ่งจัดอันดับความเท่าเทียมระหว่างเพศจากทั้งหมด 145 ประเทศ พบว่าเกาหลีใต้ติดอันดับ 116 ที่ความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงชาย มีช่องว่างระหว่างรายได้ของผู้ชายกับผู้หญิงเกาหลีนั้นมากถึง 36% สอดคล้องกับ ผลสำรวจของเทศบาลกรุงโซล (Seoul Metropolitan Government) ในปี 2017 ที่พบว่า ผู้หญิงในกรุงโซลมากถึงเก้าในสิบ เคยถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจจากคู่รักหรือสามี

 


“ผู้ชายเกาหลี” กับ ความคิดชายเป็นใหญ่

ประเทศเกาหลีใต้อยู่ภายใต้ “ระบบชายเป็นใหญ่ (Patriarchy)”  ที่ได้มาจาก “ลัทธิขงจื๊อ” ที่กำหนดให้ ผู้ชายในเกาหลีใต้ สามารถมีอำนาจควบคุมการเมืองและความมั่นคงได้ ผู้ชายต้องเป็นหัวหน้าครอบครัว มีอำนาจใรการตัดสินใจทุกเรื่อง ต้องมีหน้าที่การงานที่ดี ต้องเกณฑ์ทหารรับใช้ชาติ 

 

ขณะที่ผู้หญิงจะต้อง รักนวลสงวนตัว มีศีลธรรม หากแต่งงานจะต้องเป็นภรรยา และแม่ที่ดี ลาออกจากงานไม่มีรายได้ คอยทำงานบ้าน เชื่อฟังคำสั่งผู้ชาย เพราะเป็นหัวหน้าครอบครัว รวมถึงผู้หญิงเกาหลีใต้ มักเสียเปรียบเรื่องรายได้ อาชีพ หน้าที่การงานเช่นเดียวกัน

 

อาจารย์เรืองรวี พิชัยกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา (GDRI) ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวมติชนว่า การเรียนการสอนในประเทศเกาหลีใต้ ปี 2019 มีหลักสูตรเพศศึกษา เช่น การสอนว่าเพศหญิงควรปรุงแต่งตนเองให้สวยงาม เพื่อให้ผู้ชายพึงพอใจ และผู้ชายควรทำงานให้หนัก เพื่อให้มีสถานะทางสังคม และเศรษฐกิจที่ดี หรือการอธิบายว่า การหลอกนัดข่มขืนเกิดขึ้น เพราะผู้ชายต้องการสิ่งตอบแทนจากการลงแรง และลงเงิน เพื่อจีบผู้หญิงสักคนหนึ่ง


ในปัจจุบันยังมีผู้หญิงอีกมากที่มีสิทธิและโอกาสในการทำงานที่น้อยกว่าผู้ชาย แม้จะเคยมีการรวมกลุ่มต่อต้าน หรือแคมเปญเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ ไม่ว่าจะเป็น ME Too หรือ  Four nos ไม่เดท ไม่แต่งงาน ไม่มีลูก เพื่อจะได้ไม่ต้องถูกเลือกปฏิบัติ และเป็นภรรยาที่ดีตามวัฒนธรรมที่เกาหลีใต้กำหนด เพื่อปกป้องสิทธิสตรีของตัวเอง และปัญหาความรุนแรงทางเพศ หรือการล่วงละเมิดทางเพศอีกด้วย

 


ผู้ชายเกาหลีต่อต้าน “เฟมินิสต์”

ขณะเดียวกันผู้ชายเกาหลีใต้ก็ลุกขึ้นมาต่อต้านกลุ่มเฟมินิสต์ ที่เรียกร้องสิทธิสตรีด้วยเช่นกัน เนื่องจากฝ่ายชายมองว่า พวกเขาก็ต้องสูญเสียสิทธิในการพัฒนาตัวเอง จากการเข้าไปเกณฑ์ทหารนานถึง 22 เดือน ผู้หญิงควรได้รับการเกณฑ์ทหารบ้าง เพื่อความเท่าเทียม รวมถึงผู้ชายเกาหลีใต้มองว่า ถูกลิดรอนสิทธิโดยกลุ่มผู้หญิง ใช้อำนาจกดขี่ผู้ชาย และไม่สามารถออกมาเรียกร้องได้ เพราะแนวคิด “ชายเป็นใหญ่” ทำให้ผู้มีอำนาจต้องแบกรับความผิดชอบเหล่านั้นไว้ จนเกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมา 

 

ส่วนเพศทางเลือก เพศที่ 3 จะต้องถูกตีกรอบกับค่านิยมที่สังคมกำหนดให้มีแค่ เพศชาย และเพศหญิง เท่านั้น

 

 

 

 

ข้อมูลจาก มติชน , BrandThink , ชายเป็นใหญ่ หญิงเป็นรองในสังคมเกาหลีใต้ เกรียงไกร ฮ่องเฮงเส็ง, gypzyworld

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง