รีเซต

เปิดอาการ "โรคขี้เต็มท้อง" ชอบอั้นอุจจาระ เสี่ยงขี้เต็มท้องได้ เช็กวิธีป้องกันโรคที่นี่!

เปิดอาการ "โรคขี้เต็มท้อง" ชอบอั้นอุจจาระ เสี่ยงขี้เต็มท้องได้ เช็กวิธีป้องกันโรคที่นี่!
Ingonn
10 กุมภาพันธ์ 2565 ( 11:34 )
631
เปิดอาการ "โรคขี้เต็มท้อง" ชอบอั้นอุจจาระ เสี่ยงขี้เต็มท้องได้ เช็กวิธีป้องกันโรคที่นี่!

โรคขี้เต็มท้อง กลายเป็นภัยใกล้ตัวอีกเรื่องหนึ่งที่สังคมไทยเริ่มจับตา เมื่อ ตุ๊กตา จมาพร แสงทอง หรือ ตุ๊กตา The Voice ได้โพสต์เล่าประสบการณ์ ที่ตนเองป่วยเป็นโรคขี้เต็มท้อง ซึ่งก็คือเกิดจากการอั้นอุจาระ เวลาปวดก็ไม่ไปเข้าห้องน้ำ จนต้องไปอัลตราซาวด์ช่องท้อง และเข้ารับการรักษาต่อไป

 

จากกรณีนี้เราจะเห็นได้ว่า โรคแต่ละโรค เกิดง่ายขึ้นจากพฤติกรรมที่เราทำเป็นประจำ เช่น การอั้นอุจาระ ไม่ยอมไปเข้าห้องน้ำ ซึ่งตุ๊กตา จมาพร ได้เล่าเพิ่มเติมว่า "คุณหมอบอกว่าเวลาเราอั้น จากที่มันต้องจะต้องออกไปร้อยนึง มันจะออกสักสามสิบ แล้วที่เหลือเจ็ดสิบมันก็จะค้าง" จนกลายเป็นขี้เต็มท้อง คืออุจาระไม่ได้ระบายออกนั่นเอง TrueID จึงพาทุกคนมาเช็กอาการว่า ตัวเองมีความเสี่ยงใกล้เป็นโรคขี้เต็มท้องแล้วหรือยัง ถ้าไม่อยากเป็นจะมีวิธีป้องกันอย่างไร ไปดูเลย

 

 

 

ภาพจาก Jamaporn Saengthong

 

อาการ "โรคขี้เต็มท้อง" เป็นยังไง

  1. เวียนหัวคลื่นไส้ ตลอดเวลา แบบต้องการพิงหัวตลอดเวลา
  2. หายใจติดขัด หายใจได้ครึ่งเดียว รู้สึกต้องหายใจลึกๆ ตลอดเวลา
  3. กินข้าวได้น้อยมาก
  4. แน่นท้อง ลมในท้องเยอะ
  5. เรอเปรี้ยว และ ตดเปรี้ยว ตลอดทั้งวัน
  6. มีอาการแสบท้อง คล้ายโรคกระเพาะ
  7. ปวดเมื่อยตัว
  8. อ่อนเพลีย
  9. นอนไม่ค่อยหลับ

 

"โรคขี้เต็มท้อง" เกิดจากอะไร

โรคขี้เต็มท้อง เกิดจากการชอบอั้นอุจจาระและมีการขับถ่ายที่ไม่ถูกสุขลักษณะ วิธีสังเกต เช่น เบ่งออกแล้วหน้าท้องแฟ่บ หรือ หายใจออกแล้วหน้าท้องแฟ่บ แบบนี้ถือเป็นการนั่งถ่ายที่ผิด

 

วิธีป้องกัน "โรคขี้เต็มท้อง" เริ่มจากการขับถ่ายที่ดี

ข้อมูลจากเว็บไซต์ www.acare.co.th ระบุว่า การนั่งขับถ่ายอย่างถูกวิธี ช่วยแก้ปัญหาท้องผูก หรือทำให้เราขับถ่ายได้มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันความเสี่ยงของการเป็นโรคขี้เต็มท้องได้ โดยมีพฤติกรรมการขับถ่ายที่ถูกต้อง ดังนี้

  1. ฝึกถ่ายอุจจาระเป็นเวลา เพื่อให้ร่างกายเคยชิน ซึ่งในช่วง 05.00 - 07.00 น.  หรือหลังอาหารเช้า เป็นเวลาขับถ่ายที่ดีที่สุด

  2. ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำปกติ 1 แก้วใหญ่ ในตอนเช้าหลังตื่นนอน ไม่ควรดื่มน้ำเย็น เพื่อช่วยในการขับถ่ายได้สะดวกมากขึ้น

  3. อย่าอั้นอุจจาระ ต้องเข้าห้องน้ำทันทีที่รู้สึกปวด ขณะเดียวกันถ้ายังไม่รู้สึกปวดอย่าเบ่งอุจจาระ

  4. ถ้าในเด็กให้นวดรอบสะดือ ถ้าในผู้ใหญ่ให้นวดตรงท้องด้านล่างซ้ายเลยสะดือ แล้วทิ้งไว้สักพักจะรู้สึกปวดถ่ายขึ้นมา

  5. ท่านั่งที่เหมาะกับการขับถ่ายมากที่สุด คือ นั่งยอง ๆ เพราะจะมีแรงกดจากหน้าขาช่วยให้ขับถ่ายได้คล่องที่สุด ท่าถ่ายอุจจาระที่เหมาะสม คือ โค้งตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย ถ้าเป็นเด็กและเท้าเหยียบไม่ถึงพื้น ควรมีที่รองเท้าให้เด็ก เพื่อให้ออกแรงเบ่งอุจจาระได้ดีขึ้น คนที่ขับถ่ายยาก ขณะขับถ่ายอาจใช้มือกดท้องด้านซ้ายล่างก็จะช่วยกระตุ้นให้ลำไส้เคลื่อนตัวได้ดีขึ้น

 

 

ข้อมูล เว็บไซต์ www.acare.co.th , Jamaporn Saengthong

ภาพจาก Jamaporn Saengthong

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง