รีเซต

เปิดข้อมูลวัคซีนโควิด-19 กับผู้ป่วยโรคไมเกรน ต้องหยุดยาก่อนฉีดหรือไม่

เปิดข้อมูลวัคซีนโควิด-19 กับผู้ป่วยโรคไมเกรน ต้องหยุดยาก่อนฉีดหรือไม่
TNN ช่อง16
26 มิถุนายน 2564 ( 08:29 )
80

วันนี้ (26มิ.ย.64) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้เผยแพร่ข้อมูลที่มาโดยรศ.ดร.นพ.รนินทร์ อัศววิเชียรจินดา และศูนย์ประสาทศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยระบุว่า วัคซีนโควิด-19 กับการใช้ยารักษาไมเกรน

1. ไม่จำเป็นต้องหยุดยาป้องกันปวดศีรษะไมเกรน เพราะอาจทำให้ปวดศีรษะเป็นถี่ขึ้น ได้แก่

ยากลุ่มยากันชัก เช่น Topiramate, Valproic Acid

ยากลุ่มต้านแคลเซียม เช่น Flunarizine

ยากลุ่มต้านเบต้า เช่น Propranolol

ยากลุ่มยาต้านเศร้า รวมทั้งยากลุ่ม SรRI เช่น Sertraline, Fluoxetine

ยาป้องกันไมเกรนชนิดอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยรับประทานเป็นประจำ

(ยากลุ่ม SSRI จะยับยั้งปัจจัยส่งเสริมการอักเสบ อาจจะไปลดการสร้างภูมิคุ้มกัน แต่ยังไม่มีงานวิจัยถึงผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันโดยตรง)

2. ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวด เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้รับประทานเมื่มีอาการแล้วเท่านั้น โดยยาแก้ปวดดังกล่าว ได้แก่

ยา Acetaminophen

ยากลุ่ม NSAIDS

ยา Acetaminophen และยากลุ่ง NSAIDs เป็นยาลดการอักเสบ อาจมีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน มีงานวิจัยของบริษัทแอสตร้า เซนเนก้า โดยให้ยา Acetaminophen ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-14 เพื่อป้องการเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ปรากฎว่าไม่มีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันอย่างมีนัยสำคัญ

3. ควรหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของ Ergotamine และยาในกลุ่มทธิปแทนก่อนและหลังการฉีดวัคซีน เนื่องจากมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว

4. ข้อแนะนำผู้ป่วยโรคปวดศีรษะไมเกรน ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

พักผ่อนให้เพียงพอ

ดื่มน้ำให้เพียงพอ

หลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน

5. อาการผิดปกติทางระบบประสาทชั่วคราว เช่น อาการชา หรืออาการอ่อนแรงเล็กน้อยที่พบได้หลังดวัคซีน เป็นการตอบสนองของร่างกายต่อวัคซีน หรืออาจเกี่ยวข้องกับโรคปวดศีรษะไมเกรนชนิดมีอาการเตือนแต่เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน ทางโรงพยาบาลกำลังศึกษาถึงสาเหตุที่แท้จริง

คำแนะนำจากแพทย์

หากมีอาการปวดศีรษะรุนแรง ซึ่งแตกต่างจากอาการปวดไมเกรน หรือมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทอื่น เช่น อาการอ่อนแรงครึ่งซีก ตามัว ชัก ควรรีบพบแพทย์

หากมีความกังวลใจในการใช้ยารักษาไมเกรน ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล เพื่อวางแผนในการใช้ยาควบคู่กับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

(วัคซีนโควิด-1 9 มีหลายชนิด แตกต่างกันในการพัฒนาและการผลิต บางชนิดพัฒนาขึ้นมาโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่)

ข้อมูล ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2564



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง