รีเซต

SpaceX จับมือ NASA ศึกษาความเป็นไปได้ใช้ยาน Dragon ยืดอายุกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

SpaceX จับมือ NASA ศึกษาความเป็นไปได้ใช้ยาน Dragon ยืดอายุกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
TNN ช่อง16
1 ตุลาคม 2565 ( 01:19 )
58

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลกำลังได้รับการต่ออายุอีกครั้งหลังจากนาซาประกาศความร่วมมือกับบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ยานอวกาศดราก้อน (Dragon) ทำภารกิจยืดอายุของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล หนึ่งในกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่มีความสำคัญและปฏิบัติภารกิจสำรวจมายาวนานมากที่สุดตัวหนึ่งของโลก


กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศระหว่าง NASA และ ESA (European Space Agency) ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกในปี 1990 ชื่อของกล้องถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติให้กับเอ็ดวิน ฮับเบิล นักดาราศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงชาวสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันโคจรรอบโลกอยู่เป็นระยะเวลากว่า 32 ปี ตลอดระยะเวลาในการทำภารกิจกล้องได้สามารถถ่ายภาพอวกาศที่สำคัญหลายภาพ เช่น ดาวฤกษ์ และเนบิวลาต่าง ๆ เป็นไขความลับจักรวาลเปิดมุมมองที่มนุษย์ไม่เคยเห็นมาก่อน 


กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเคยได้รับการซ่อมบำรุงมาแล้วทั้งหมด 5 ครั้ง หากภารกิจของนาซาและบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) เกิดขึ้นจะเป็นการซ่อมบำรุงครั้งที่ 6 และคาดว่าจะยืดอายุการใช้งานของตัวกล้องไปได้อีก 15-20 ปี


สำหรับรูปแบบภารกิจร่วมกันระหว่างนาซากับบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะอยู่ในรูปแบบใด แต่คาดว่าจะเป็นภารกิจส่งยานอวกาศดราก้อน  (Dragon) พร้อมอุปกรณ์บางอย่างที่สามารถใช้เพิ่มความสูงให้กับกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ปัจจุบันกล้องโคจรอยู่ที่ระดับความสูง 540 กิโลเมตร ต่ำกว่าความสูงที่ทำภารกิจครั้งแรกประมาณ 60 กิโลเมตร ซึ่งระดับความสูงที่ต้องการ คือ 600 กิโลเมตร  


การศึกษาความเป็นได้ดังกล่าวคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการทดสอบและประเมินด้านต่าง ๆ นานประมาณ 6 เดือน รวมไปถึงรายละเอียดด้านงบประมาณในการทำภารกิจ แน่นอนว่าจะต้องเป็นภารกิจที่ปลอดภัยหากมีนักบินอวกาศเดินทางไปพร้อมกับยานดราก้อน (Dragon) 


สำหรับยานอวกาศดราก้อน (Dragon) ปัจจุบันมีความพร้อมสูงสุดที่จะทำภารกิจเดินอวกาศ การส่งมนุษย์อวกาศเดินอวกาศออกจากยานเป็นครั้งแรกภายใต้โครงการโพลาริส (Polaris) ภารกิจ Polaris Dawn ที่จะเกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2023 รวมไปถึงภารกิจอื่น ๆ ที่ยานขนส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติ ISS  


ที่มาของข้อมูล space.com

ที่มาของรูปภาพ en.wikipedia.org

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง