รีเซต

ธ.ก.ส. VS ออมสิน เทียบเงื่อนไขสินเชื่อสู้ภัยโควิด-19

ธ.ก.ส. VS ออมสิน เทียบเงื่อนไขสินเชื่อสู้ภัยโควิด-19
Ingonn
12 พฤษภาคม 2564 ( 14:34 )
440

ในช่วงเวลาที่สถานการณ์โควิด-19 ระบาดหนัก ทำให้ทั้งภาคธุรกิจต่างๆ รวมถึงมนุษย์เงินเดือนต้องพบปัญหาทางสภาพการเงิน ทำให้ภาครัฐเริ่มมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโควิดระลอกใหม่ ด้วยการปล่อยสินเชื่อบรรเทาความเดือดร้อนจาก 2 ธนาคารใหญ่ ได้แก่ ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 

 

 

วันนี้ TrueID พร้อมกางเงื่อนไขการสินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 จากทั้ง 2 ธนาคาร เพื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่าและพิจารณาความเหมาะสมก่อนตัดสินใจกู้สินเชื่อ

 

 


Highlight

  • เงินกู้สินเชื่อทั้งสองธนาคารวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก ระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี มีอัตราดอกเบี้ยคงที่

 

  • สินเชื่อจากธนาคารออมสินเหมาะกับผู้ประกอบการหรือผู้มีรายได้จากเอกชน ส่วนสินเชื่อจากธ.ก.ส.เหมาะกับเกษตรกร หรือกลุ่มชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากโควิด-19

 

  • ธ.ก.ส. มีทั้งสินเชื่อและพักชำระหนี้ต้นเงินที่ถึงงวดชำระให้กับเกษตรกร ให้เลือกตามความเหมาะสม

 

 


ธนาคารออมสิน 


ชื่อสินเชื่อ : สินเชื่อสู้ภัย COVID-19


วงเงินให้กู้ : รายละ 10,000 บาท


อัตราดอกเบี้ยคงที่ : 0.35% ต่อเดือน


ระยะเวลาชำระเงินกู้ : ไม่เกิน 3 ปี ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก


ระยะเวลาโครงการ : 13 พ.ค.- 31 ธ.ค. 2564


ช่องทางการกู้ : แอป MyMo 

 

 

คุณสมบัติผู้กู้


1.ผู้ประกอบอาชีพอิสระ 


2.ผู้ประกอบการรายย่อย 


3.ผู้มีรายได้ประจำของหน่วยงานเอกชนที่ได้รับผลกระทบกระทบจาก COVID-19 


4.มีสัญชาติไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป 


5.ไม่เป็นผู้มีรายได้ประจำจากภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ

 

 

สินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จากออมสิน แบ่งเป็น 3 เฟส


เฟส 1 วันที่ 13 พฤษภาคม 2564  ช่วยเหลือเร่งด่วนแก่ลูกค้าธนาคารมากกว่า 9 ล้านคนในพื้นที่สีแดงเข้ม 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี ชลบุรี สมุทรปราการ และเชียงใหม่

 

เฟสที่ 2 วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ขยายความช่วยเหลือครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ 

 

เฟส 3 วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ลูกค้ากลุ่มอื่นที่ไม่มีแอป MyMo แต่สนใจเข้าร่วมโครงการ กำหนดสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ หรือจนกว่าจะครบจำนวนวงเงินโครงการ

 


หมายเหตุ ผู้กู้ต้องเป็นลูกค้าที่ดาวน์โหลดและใช้บริการแอป MyMo อยู่ก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม 2564

 

 

 


ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 

 

ชื่อสินเชื่อ : สินเชื่อสู้ภัย COVID-19


วงเงินให้กู้ : รายละ 10,000 บาท


อัตราดอกเบี้ยคงที่ : 0.35% ต่อเดือน


ระยะเวลาชำระเงินกู้ : ชำระหนี้เป็นรายเดือน ไม่เกิน 3 ปี โดยปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก


ระยะเวลาโครงการ : ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธ.ค. 2564

 

 

คุณสมบัติ


1.เกษตรกรรายย่อย


2.ลูกจ้างภาคการเกษตร


3.มีสัญชาติไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป 


4.มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายฉุกเฉิน


5.เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID – 19

 

 

เงื่อนไขการพิจารณาสินเชื่อ


1.ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร โดยใช้ผลคะแนนพิจารณาผ่อนปรนจากสินเชื่อปกติของธนาคาร


2.ต้องไม่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) หรือต้องมีสถานะปกติ


3.ไม่ต้องใช้หลักประกัน 

 


ช่องทางการกู้ 


1. LINE Official BAAC Family


2. เว็บไซต์ www.baac.or.th 


3. Call Center 02-555-0555 

 

 

 

 

นอกจากเปิดสินเชื่อแล้ว ธ.ก.ส. ยังมีพักชำระหนี้ต้นเงินที่ถึงงวดชำระให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการและสถาบันเกษตรกรตามความสมัครใจ เพื่อคลายความกังวลใจและลดภาระการชำระหนี้เป็นการชั่วคราวให้แก่ลูกหนี้  โดยลูกหนี้สามารถนำเงินงวดที่จะต้องชำระหนี้ไปเป็นสภาพคล่องในการดำเนินชีวิตประจำวัน และการประกอบธุรกิจ

 

 

ธ.ก.ส.พักชำระหนี้ต้นเงิน

 

คุณสมบัติ


1.เกษตรกรและบุคคล 


2.นิติบุคคลสหกรณ์ (ไม่รวมสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ) 


3.กลุ่มเกษตรกร กลุ่มบุคคล 


4.กองทุนหมู่บ้านหรือชุมชนและองค์กร 

 


เงื่อนไขการพิจารณาพักชำระหนี้


1.การพักชำระหนี้จะพิจารณาจากการกำหนดงวดชำระหนี้ตามศักยภาพของเกษตรกร บุคคล สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการ และนิติบุคคล ซึ่งจะพักชำระต้นเงินออกไป 6 เดือนถึง 1 ปี นับจากงวดที่ถึงกำหนดชำระเดิม และเป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้า โดยลูกค้าต้องชำระเพียงดอกเบี้ยเท่านั้น

 

2.มีสัญญาเงินกู้และมีต้นเงินคงเป็นหนี้ก่อนวันที่ 1 เมษายน 2564 และเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่งวดเดือนเมษายน  2564 เป็นต้นไป

 

3.ต้องไม่เป็นหนี้ตามโครงการนโยบายรัฐ หรือโครงการที่ได้รับการช่วยเหลือหรือมีเงื่อนไขตามมาตรการอื่นๆ 

 

4.ขยายเวลาชำระเงินต้น โดยไม่ขยายเวลาชำระดอกเบี้ยเงินกู้

 


ช่องทางการติดต่อ

 

1. LINE Official BAAC Family


2. เว็บไซต์ www.baac.or.th 


3. Call Center 02-555-0555 

 

 

 

 

ข้อมูลจาก กระทรวงการคลัง

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง