รีเซต

อุบลฯ จัดอบรมผู้ประเมินแปลง ยกระดับเกษตรอินทรีย์ มาตรฐาน PGS

อุบลฯ จัดอบรมผู้ประเมินแปลง ยกระดับเกษตรอินทรีย์ มาตรฐาน PGS
77ข่าวเด็ด
2 กรกฎาคม 2563 ( 12:32 )
83
อุบลฯ จัดอบรมผู้ประเมินแปลง ยกระดับเกษตรอินทรีย์ มาตรฐาน PGS

อุบลฯ จัดอบรมผู้ประเมินแปลง พัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยกระดับเกษตรอินทรีย์ มาตรฐาน PGS

เมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม พ.ศ. 2563  สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี และภาคีเครือข่าย เปิดการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ในการตรวจประเมินแปลงเกษตรอินทรีย์ PGS อุบลราชธานี โครงการเพิ่มศักยภาพผู้ตรวจประเมินแปลงระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ประจำปี พ.ศ. 2563 โดยมี นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวงานเปิดการอบรม ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี

โดยการอบรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 -5 กรกฎาคม 2563 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี และศูนย์วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งการจัดโครงการมีวัตถุเพื่อถ่ายทอดความรู้เทคนิคการตรวจประเมินแปลงตามระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ให้กับผู้ตรวจประเมินแปลงรายเก่าและผู้ตรวจรายใหม่จำนวน 100 ราย พร้อมพัฒนาและยกระดับการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์จังหวัดอุบลราชธานีให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ซึ่งการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องจาก ปี 2561

ซึ่งภายในงานนี้ ปิยะทัศน์ ทัศนิยม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลโนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลฯและเครือข่าย ได้เปิดเผยถึงอุดมการณ์และการปรับแนวคิดในการทำเกษตรอินทรีย์ว่า  สภาพสังคมไทยปัจจุบันเกษตรกรเป็นทาสของบริษัทปุ๋ยเคมี ซึ่งบริษัทปุ๋ยส่วนใหญ่เป็นของนายทุนต่างชาติเม็ดเงินการซื้อขายมหาศาลไหลรั่วออกนอกประเทศ ส่วนด้านราคาผลผลิตเกษตรกรไม่สามารถต่อรองกับตลาดได้ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลางไม่มีสิทธิเรียกร้องราคาตามต้องการ

แต่ทั้งนี้การลุกขึ้นมาทำเกษตรอินทรีย์ยังนับว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับเกษตรกรไทย เพราะเกษตรอินทรีย์เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาและความอดทนจึงจะได้ผลผลิต  ซึ่งผลผลิตเกษตรอินทรีย์ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจึงจะเป็นที่ยอมรับในตลาดโดยอดีตต้องอาศัยหน่วยงานต่างชาติเข้ามารับรองเสียเงินและไม่คุ้มค่า แต่ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงมีระบบ GPS การรับรองมาตรฐานด้วยคนในชุมชนเป็นผู้รับรอง ยกระดับคุณภาพผลผลิต คนในชุมชนมีส่วนร่วม

โดยข้อดีของการทำเกษตรอินทรีย์นั้นทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตที่ปลอดสารพิษและเกษตรกรมีสิทธิตั้งราคาสินค้าเองตามความต้องการได้  เหตุเป็นเพราะสินค้าเป็นผลผลิตที่ปลอดภัยสามารถตีตลาดเข้ากลุ่มผู้บริโภคที่รักษาสุขภาพ แต่ทั้งนี้การทำเกษตรอินทรีย์ที่นั้นต้องทำให้แตกต่างจากตลาดเกษตรกรต้องมีความคิดเป็นของตัวเองเน้นการสังเกตศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นหลักและนำผลที่ได้วิเคราะห์แนวโน้มการซื้อขายในอนาคตจึงจะทำให้เกษตรกรมีรายได้จากเกษตรอินทรีย์ที่ยั่งยืน

ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ เรียบเรียง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง