ทำความรู้จัก "ทุ่นระเบิด PMN - 2" สุดอันตราย ตรวจค้น - ทำลายยาก

ทำความรู้จัก "ทุ่นระเบิด PMN-2" ระเบิดสังหารบุคคลที่ยังหลงเหลือในพื้นที่ชายแดน
จากเหตุการณ์ล่าสุดบริเวณเนิน 481 อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ที่เจ้าหน้าที่ทหารพราน 3 นายได้รับบาดเจ็บจากการเหยียบกับระเบิดขณะลาดตระเวน โดยพบว่าเป็นทุ่นระเบิดชนิด PMN-2 ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการลักลอบนำมาวางใหม่ในพื้นที่ แม้พื้นที่ดังกล่าวจะ ผ่านการเก็บกู้ทุ่นระเบิดไปแล้วก่อนหน้านี้ นับเป็นเหตุการณ์ที่สะท้อนถึงภัยคุกคามที่ยังคงแฝงตัวตามแนวชายแดน และความจำเป็นในการตระหนักรู้เกี่ยวกับอาวุธแฝงเหล่านี้
ทุ่นระเบิด PMN-2 คืออะไร?
รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยข้อมูลว่า PMN-2 เป็นทุ่นระเบิดสังหารบุคคลแบบฝังดิน (Anti-Personnel Landmine) ที่พัฒนาโดยสหภาพโซเวียตในช่วงกลางทศวรรษ 1970 ปัจจุบันยังพบการใช้งานในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะตามแนวชายแดนที่เคยเกิดความขัดแย้ง เช่น กัมพูชา ลาว และไทย
ลักษณะทั่วไปของ PMN-2
- ตัวเรือนทำจากพลาสติก ขึ้นรูปด้วยการฉีดขึ้นรูป มักมีสีเขียวใบไม้หรือสีน้ำตาล มีความสูง 53 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 120 มิลลิเมตร น้ำหนักวัตถุระเบิด 100 กรัมน้ำหนักรวมทั้งลูก: 440 กรัม
- ด้านบนมีแผ่นยางกดแรงดันรูปตัว X สีดำ ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้ทุ่นระเบิดทำงานเมื่อถูกเหยียบ
- ใช้วัตถุระเบิดชนิดผสม RDX/TNT หรือ TG-40 ซึ่งมีแรงระเบิดรุนแรงมากกว่าทุ่นระเบิดต่อบุคคลชนิดอื่นๆ
- มีชนวนระเบิดในตัวแบบ MD-9 ซึ่งไวต่อแรงกระแทก
ทุ่นระเบิด PMN - 2 ทำไมถึงอันตราย
ทุ่นระเบิด PMN - 2 ออกแบบที่ทำให้ทนต่อเทคนิคการเก็บกู้ระเบิดแบบดั้งเดิม เช่น การระเบิดทำลายด้วยแรงกดกะทันหัน ด้วยแผ่นกดรูปตัว X และระบบชนวนที่ซับซ้อน นอกจากนี้ ระบบชนวนยังมี กลไกหน่วงเวลา ราว 60 วินาที หลังจากถอดกุญแจนิรภัยแล้ว ภายในจะมีลูกโป่งอากาศซึ่งพองตัวด้วยแรงสปริง เพื่อดันแกนล็อกออกจากตำแหน่ง ทำให้ทุ่นสามารถทำงานได้ภายหลังจากการติดตั้ง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงอย่างมากต่อผู้เข้าไปในพื้นที่โดยไม่รู้ตัว ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามต่อทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนในพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศ
Tag
ยอดนิยมในตอนนี้
