รีเซต

รวมคดี จากสองตายายเก็บเห็ด - คดีลุงพลรุกป่าสงวน บทลงโทษต้องรู้ไว้จะได้ไม่ทำผิด!

รวมคดี จากสองตายายเก็บเห็ด - คดีลุงพลรุกป่าสงวน บทลงโทษต้องรู้ไว้จะได้ไม่ทำผิด!
TeaC
8 มิถุนายน 2564 ( 18:03 )
658
รวมคดี จากสองตายายเก็บเห็ด - คดีลุงพลรุกป่าสงวน บทลงโทษต้องรู้ไว้จะได้ไม่ทำผิด!

 

คดีรุกป่าสงวนแห่งชาติ ถือเป็นอีกหนึ่งคดีที่เกิดขึ้นตั้งแต่ชาวบ้านธรรมดา นักการเมืองท้องถิ่นชื่อดัง จนล่าสุดคดีลุงพลรุกป่าและก่อสร้างวังพญานาค ที่โด่งดังไม่แพ้กันในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากคดีดังกล่าวเป็นที่จับตาของสังคมอย่างมาก วันนี้ TrueID รวบรวมคดีดังรุกป่าสงวนที่อาจจะลืมไปแล้ว พร้อมด้วยบทลงโทษที่ควรรู้ไว้จะได้ไม่ทำผิดซ้ำรอยอย่างข่าวดังที่เกิดขึ้น

 

เริ่มที่ คดีสองตายายเก็บเห็ด ปี 2553 ความโด่งดังที่เกิดกระแสสังคมวิพากวิจารณ์อย่างมาและยังเป็นจุดเริ่มต้นของคดีดังรุกป่าสงวนฯ  เมื่อ นายอุดม และนางแดง ศิริสอน สองสามีภรรยา ถูกจำคุกในคดีบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองและทำประโยชน์ในป่าสงวนแห่งชาติดงระแนง จ.กาฬสินธุ์ 

 

ต่อมาปี 2558 คดีรุกป่าสงวนแห่งชาติสวนป่าโคกยาว จ.ชัยภูมิ  เมื่อ นายทอง กุลหงษ์  อายุ 72 ปี และนายสมปอง กุลหงษ์   อายุ 48 ปี สองพ่อลูกชาวบ้าน ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ มีความผิดฐานบุกรุก แผ้วถาง ก่อสร้าง และทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติสวนป่าโคกยาว จ.ชัยภูมิ ซึ่งคดีนี้จบด้วยการรอลงอาญา 2 ปี ปรับคนละ 4,000 บาท 

 

ปี 2560  นางสุภาพ คำแหล้ อายุ 67 ปี ศาลฎีกามีคำพิพากษาจำคุก 6 เดือน ไม่รอลงอาญา ในคดีบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม จ.ชัยภูมิ

 

ทั้งนี้ คดีบุรุกป่าสงวนฯ ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาที่ดินทำกินเป็นเรื่องที่ต้องสร้างรับรู้และสร้างความเข้าใจ เนื่องจากจะเห้นได้ว่า กลุ่มผู้ถูกคดีและผู้ต้องหาล้วนเป็นเพียงชาวบ้าน หรือเป็นเพียงเกษตรกรและเป็นคนจนในสังคมที่มีวิถีการดำเนินชีวิตด้วยการพึ่งพาฐานทรัพยากรธรรมชาติโดยขาดความรู้ด้านกฎหมาย หรือขาดดารรับรู้จากภาครัฐจนนำไปสู่การเกิดความขัดแย้งของชาวบ้านกับอุทยานแห่งชาติได้เช่นกัน

 

อย่างกรณีของ ปู่คออี้ และกะเหรี่ยงที่แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ที่โดนเจ้าหน้าที่รื้อถอนเผาทำลายสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง รวมแล้วมีบ้านพักอาศัย และยุ้งฉางถูกจุดไฟเผาจำนวน 98 หลัง

 

ขณะที่ ปี 2563 ปัญหาการครอบครองที่ดินที่โด่งดังและเป็นที่จับตามองของสังคมไม่แพ้กัน กรณีของเอ๋ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี ถือครองที่ดินฟาร์มไก่ "เขาสนฟาร์ม" หมู่ 6 ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ซึ่งตรวจหลักฐานพบการบุกรุกพื้นที่ป่าจนเส้นทางการเมืองของ สาวเอ๋ ต้องสิ้นสุดลง 

 

กระทั่งล่าสุด ปี 2564 คดีรุกป่าสงวนฯ กลับมาโด่งดังอีกครั้ง เมื่อนายไชย์พล วิภา หรือลุงพล และยูทูบเบอร์ 3 ราย โดนเอี่ยวในความผิดฐานตัดไม้บุกรุกป่าสงวน และก่อสร้างวังพญานาคในพื้นที่ อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการต่อสู้คดี 

 

 

จะเห็นได้ว่า คดีรุกป่าสงวนแห่งชาติ เป็นอีกหนึ่งคดีที่สะท้อนให้เห้นถึงการรับรู้และการสร้างความเข้าใจว่าแบบไหนถึงเรียกว่ารุกป่า ส่วนไหน แบบไหน ป่าใด เป็นป่าสงวน อะไรทำได้บ้าง อะไรห้ามทำในป่าสงวน มาศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้กันเลย

 

 

รู้ไว้ไม่ทำผิด บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ


สำหรับ ป่าสงวนแห่งชาติ เป็นป่าที่ประกาศไว้เพื่อสงวนและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีหลักเขตและป้ายเครื่องหมายเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยติดประกาศไว้ที่อำเภอ กิ่งอำเภอ และที่เปิดเผยเห็นได้ง่ายในหมู่บ้าน ดังนี้

 

- ห้ามยึดถือ/ครอบครอง/ทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัย/ก่อสร้าง/แผ้วถาง/เผาป่า/ทำไม้/เก็บหาของป่า หรือทำให้ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมสภาพ

บทลงโทษ : จำคุก 1 - 10 ปี และปรับ 20,000 - 200,000 บาท

 

- ทำไม้ คือ การตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ นำไม้ออกจากป่า

- ของป่า คือ สิ่งที่เกิดขึ้น/มีอยู่ในป่า เช่น 


(1) ไม้ฝืน ถ่าน เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ เมล็ด ผลไม้ หน่อไม้  ชันไม้ ยางไม้

(2) หญ้า อ้อ พง แขม ปรือ คา กก กระจูด กล้วยไม้ กูด เห็ดและพืชอื่น

(3) ซากสัตว์ ไข่ หนัง เขา นอ งา กราม ขนาย กระดูก ขน รังนก คลั่ง รังผึ้ง น้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง มูลค้างคาว

(4) ดิน หิน กรวด ทราย แร่ น้ำมัน

 

ยกเว้นได้รับอนุญาต  :

 
- ทำไม้/เก็บหาของป่า (ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือประกาศอนุญาตไว้)

- เข้าทำประโยชน์/อยู่อาศัย (ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ) กรณีต่อไปนี้


(1) เข้าทำประโยชน์/อยู่อาศัย คราวละไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี

(2) เข้าทำประโยชน์เกี่ยวกับเหมืองแร่ คราวละไม่เกิน 10 ปี

(3) เข้าทำประโยชน์/อยู่อาศัยในเขตป่าเสื่อมโทรม ไม่เกิน 20 ไร่ : ครอบครัว คราวละไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 30 ปี (ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมป่าไม้หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย) แต่ไม่ได้สิทธิในที่ดิน และห้ามให้บุคคลอื่นนอกจากคนในครอบครัวเข้าทำประโยชน์ไม่ได้

(4) ปลูกป่า/ไม้ยืนต้นในเขตป่าเสื่อมโทรม ไม่เกิน 35 ไร่ : ครอบครัว คราวละไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 30 ปี (ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมป่าไม้หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย) แต่ไม่ได้สิทธิในที่ดิน และห้ามให้บุคคลอื่นนอกจากคนในครอบครัวเข้าทำประโยชน์ไม่ได้    

  

- เข้าศึกษาหรือวิจัยทางวิชาการ (ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมป่าไม้)

- ห้ามบุกรุกพื้นที่เกิน 25 ไร่ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้สัก/ไม้ยาง/ไม้สนเขา/ไม้หวงห้าม ประเภท ข. ตามกฎหมายป่าไม้ หรือกระทำต่อไม้ที่มีจำนวนมากกว่า 20 ต้นหรือท่อน หรือมีปริมาตรไม้เกิน 4 ลูกบาศก์เมตร หรือกระทำต่อต้นน้ำลำธาร/พื้นที่ชายฝั่ง 


บทลงโทษ : จำคุก 4 - 20 ปี และปรับ 200,000 - 2,000,000 บาท

บทลงโทษ : ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำผิด/คนงาน/ผู้รับจ้าง/ผู้แทน/บริวารของผู้กระทำผิด


- ออกจากเขตป่าสงวน
- รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
- นำสิ่งที่ทำให้เกิดความเสื่อมสภาพแก่ป่าสงวนแห่งชาติออกจากป่าสงวนฯ ภายในเวลาที่กำหนด

 

 


     

อยากรู้เพิ่มเติมสอบถามเพิ่มเติม : สายด่วนกรมป่าไม้ 1310 กด 3  

 

ข้อมูล : พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 
                 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง