สศช. ถก แบงก์ชาติ-คลัง สางหนี้ครัวเรือน 14.3 ล้านล้าน ด้าน สศค. ยังชิลชี้ยอดทรงตัว คิดเป็น 2.9% ต่อจีดีพี
สภาพัฒน์ ถก ธปท.-คลัง สางหนี้ครัวเรือน -ด้าน สศค. ยังชิลชี้ยอดรวม ไตรมาส 3/64 อยู่ที่ 14.3 ล้านล้านบาท ทรงตัวคิดเป็น 2.9% ต่อจีดีพี
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ฯ เปิดเผยว่า หนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วง เพราะมีผลต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งสภาพัฒน์เตรียมจะหารือกับกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อออกมาตรการดูแลให้เหมาะสมที่สุด แต่คงไม่ใช่มาตรการพักหนี้ เพราะกังวลว่าจะทำให้ลูกหนี้เสียวินัยทางการเงิน
ทั้งนี้ มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนจะต้องพุ่งเป้าหมายไปให้ตรงกลุ่ม ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้ โดยต้องดูข้อมูลให้ชัดเจนเสียก่อน
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หนี้ครัวเรือนไทยในปัจจุบันยังไม่อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง เพราะส่วนใหญ่เป็นการกู้มาเพื่อประกอบอาชีพ เป็นหนี้ที่สะสมความมั่งคั่ง ซื้อสินทรัพย์ ประกอบอาชีพให้รายได้เพิ่ม ขณะที่หนี้เพื่อการบริโภคนั้นยังมีจำนวนไม่มากนัก
"สภาพัฒน์คงเป็นห่วงว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้ จะทำอย่างไรให้คนที่มีหนี้ มีรายได้เพียงพอเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและชำระหนี้ได้ เพื่อไม่ให้เกิดเป็นดินพอกหางหมู โดยคาดว่าสภาพัฒน์คงจะเข้ามาหารือกับกระทรวงการคลังในประเด็นนี้"
อย่างไรก็ดี ในไตรมาส 3/2564 สัดส่วนหนี้จีดีพีของประเทศไทย อยู่ที่ 14.34 ล้านล้านบาท ขยายตัว 4.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ไม่มีนัยยะสำคัญอะไร เนื่องจากเป็นการเติบโตจากฐานต่ำ โดยในจำนวนนี้คิดเป็นหนี้ครัวเรือนเพื่อสะสมทรัพย์สิน และประกอบอาชีพมากวก่า 65% ขณะที่หนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 2.8-2.9% ต่อจีดีพี โดยแบ่งเป็นหนี้ครัวเรือนที่เกิดจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ อยู่ที่ 34.5%, หนี้ที่เกิดจากการซื้อรถยนต์-รถจักรยานยนต์ 12.4%, หนี้ที่ก่อเพื่อการประกอบอาชีพโดยตรง เกือบ 20%
โดยในจำนวนนี้คิดเป็นหนี้ครัวเรือนเพื่อสะสมทรัพย์สิน และประกอบอาชีพมากวก่า 65% ขณะที่หนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 2.8-2.9% ต่อจีดีพี