รีเซต

วิจัยพบ 'โควิด-19' อยู่รอดบน 'พื้นผิวทั่วไป' นานสูงสุด 28 วัน

วิจัยพบ 'โควิด-19' อยู่รอดบน 'พื้นผิวทั่วไป' นานสูงสุด 28 วัน
Xinhua
12 ตุลาคม 2563 ( 14:26 )
137
วิจัยพบ 'โควิด-19' อยู่รอดบน 'พื้นผิวทั่วไป' นานสูงสุด 28 วัน

(แฟ้มภาพซินหัว : นักวิจัยปฏิบัติงานที่ห้องทดลองมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (UQ) ในเมืองบริสเบนของออสเตรเลีย วันที่ 1 เม.ย. 2020)

 

แคนเบอร์รา, 12 ต.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิจัยชาวออสเตรเลียค้นพบว่า SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นไวรัสก่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) สามารถดำรงชีวิตได้นานสูงสุด 28 วันบนพื้นผิวทั่วไป อาทิ ธนบัตรและกระจกองค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (CSIRO) เผยแพร่ผลวิจัยใหม่ว่าด้วย "ความสามารถในการอยู่รอด" ของไวรัสร้าย ในวันจันทร์ (12 ต.ค.)การวิจัยพบว่าไวรัส SARS-CoV-2 มีชีวิตรอดนานขึ้นในอุณหภูมิต่ำ และมีแนวโน้มอยู่รอดนานขึ้นบนพื้นผิวเรียบ เช่น แก้วและสแตนเลส อีกทั้งมีชีวิตบนธนบัตรกระดาษได้นานกว่าธนบัตรพลาสติกด้วยแลร์รี มาร์แชล ผู้บริหารสูงสุดขององค์การฯ กล่าวว่าการวิจัยข้างต้นจัดทำขึ้นโดยอิงจากงานเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ฉบับก่อนหน้าของหน่วยงาน ซึ่งรวมถึงประเด็นการทดสอบวัคซีนและการทดสอบน้ำเสีย"การกำหนดระยะเวลาการดำรงชีวิตของไวรัสบนพื้นผิว ทำให้เราสามารถคาดการณ์และลดทอนการแพร่กระจายได้อย่างแม่นยำมากขึ้น รวมถึงปกป้องประชาชนของเราได้ดีมากขึ้นด้วย" มาร์แชลกล่าว

 

"ผลวิจัยเผยว่า SARS-CoV-2 สามารถแพร่เชื้อขณะอยู่บนพื้นผิวได้เป็นเวลานาน และนั่นตอกย้ำว่าเราจำเป็นต้องรักษาสุขอนามัยที่ดี เช่น ล้างมือและทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ เป็นประจำ" เดบบี อีเกิลส์ รองผู้อำนวยการศูนย์เตรียมความพร้อมการรับมือโรคของออสเตรเลีย (ACDP) สังกัดองค์การฯ ระบุในถ้อยแถลง"เราพบว่าไวรัสมีความแข็งแกร่งมากที่อุณหภูมิห้อง 20 องศาเซลเซียส และดำรงชีวิตอยู่ได้ 28 วันบนพื้นผิวเรียบ เช่น กระจกบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ และธนบัตรพลาสติก"ส่วนการทดลองที่คล้ายคลึงกันในไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ (Influenza A) ระบุว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดดังกล่าวมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวเป็นเวลา 17 วัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าไวรัส SARS-CoV-2 มีความทนทานมากเพียงใด"นอกจากนั้น นักวิจัยทำการศึกษาเพิ่มเติมที่อุณหภูมิ 30 และ 40 องศาเซลเซียส และพบว่าระยะเวลามีชีวิตรอดของไวรัสลดน้อยลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น โดยการศึกษาได้ดำเนินการในพื้นที่มืดทั้งหมด เพื่อขจัดผลกระทบจากแสงอัลตราไวโอเลต (UV) ที่มีต่อไวรัส

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง