รีเซต

จีนพัฒนา 'เครื่องมือปัญญาประดิษฐ์' ช่วยตรวจหา 'มะเร็ง' ระยะแรกเริ่ม

จีนพัฒนา 'เครื่องมือปัญญาประดิษฐ์' ช่วยตรวจหา 'มะเร็ง' ระยะแรกเริ่ม
Xinhua
23 พฤศจิกายน 2566 ( 18:13 )
51

 (แฟ้มภาพซินหัว : ภาพโฮโลแกรม 3 มิติ ที่งานประชุมปัญญาประดิษฐ์โลกประจำปี 2021 ในเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ทางตะวันออกของจีน วันที่ 8 ก.ค. 2021)

เซี่ยงไฮ้, 23 พ.ย. (ซินหัว) -- สถาบันต๋าโม๋ (DAMO Academy) สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของอาลีบาบา พัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่สามารถช่วยตรวจหามะเร็งตับอ่อนระยะแรกเริ่มโดยใช้ภาพเอ็กซ์เรย์ที่มีความแม่นยำสูงโมเดลแพนดา (PANDA) ซึ่งเป็นดีปเลิร์นนิง (deep learning) หรือแนวทางหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ ที่พัฒนาโดยสถาบันฯ สามารถขยายและระบุลักษณะทางพยาธิวิทยาแบบละเอียดในภาพเอ็กซ์เรย์ธรรมดาที่ตรวจพบได้ยากด้วยตาเปล่ามะเร็งตับอ่อนคือเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายชนิดรุนแรง ทว่าสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่มเริ่มแรก แพนดาถูกฝึกโดยใช้ชุดข้อมูลผู้ป่วย 3,208 รายจากสถาบันวิจัยแห่งเดียว โดยผลการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารเนเจอร์ เมดิซีน (Nature Medicine) ในสัปดาห์นี้พบว่าเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ดังกล่าวมีความไวร้อยละ 94.9 และความจำเพาะเต็มร้อยละ 100 ในกลุ่มทดสอบภายในที่ครอบคลุมผู้ป่วย 291 รายจากสถาบันโรคตับอ่อนเซี่ยงไฮ้ต่อมาโมเดลข้างต้นถูกนำไปตรวจสอบในกลุ่มสถาบันวิจัยภายนอก ครอบคลุมผู้ป่วย 5,337 ราย จากจีนและสาธารณรัฐเช็ก โดยใช้การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT scans) ในช่องท้อง ซึ่งพบว่าโมเดลนี้มีความไวและความจำเพาะอยู่ที่ร้อยละ 93.3 และร้อยละ 98.8 ตามลำดับ ซึ่งมีประสิทธิภาพเฉลี่ยเหนือกว่ารังสีแพทย์อนึ่ง ความไว (Sensitivity) ของการทดสอบ หมายถึงความสามารถในการระบุบุคคลที่มีผลของโรคเป็นบวก ขณะที่ความจำเพาะ (specificity) คือความสามารถในการระบุบุคคลที่ไม่มีผลของโรคเป็นลบโมเดลแพนดาถูกนำมาใช้ในทางคลินิคมากกว่า 500,000 ครั้ง โดยพบผลบวกปลอมเพียง 1 ครั้ง ในทุกๆ 1,000 ครั้ง ซึ่งคณะนักวิจัยระบุว่าแพนดาอาจกลายเป็นเครื่องมือใหม่สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งตับอ่อนในวงกว้าง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง