รีเซต

ธุรกิจรายย่อยจีนปิดตัวระนาว หลังคุมเข้มโควิดทำรายได้หาย-กำไรหด

ธุรกิจรายย่อยจีนปิดตัวระนาว หลังคุมเข้มโควิดทำรายได้หาย-กำไรหด
TNN ช่อง16
14 กุมภาพันธ์ 2565 ( 17:12 )
67
ธุรกิจรายย่อยจีนปิดตัวระนาว หลังคุมเข้มโควิดทำรายได้หาย-กำไรหด

สำนักข่าว SCMP รายงานถึงสถานการณ์ของธุรกิจรายย่อยในจีน โดยระบุว่า ปีนี้จะยังคงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง หลังมาตรการคุมเข้มโควิด ทำธุรกิจรายได้หาย-กำไรหด


---โบกมือลาธุรกิจส่วนตัว---


ปีนี้ หวัง เหม่ย ตัดสินใจพักการใช้งานจักรเย็บผ้า หลังดำเนินธุรกิจผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในมณฑลกวางตุ้งมากว่า 10 ปี และเดินทางกลับบ้านในชนบท เพื่อไปขายน้ำหมึกอุตสาหกรรมในตงกวน


ขณะเดียวกัน จาง เหลียง เจ้าของบริษัทขนส่งเล็ก  ในเซินเจิ้น ตั้งใจที่จะระงับการให้บริการและเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดในมณฑลหูเป่ย์ เพื่อทำงานเป็นคนขับรถบรรทุกในเหมืองหิน


ทั้งหวังและจางกล่าวว่า พวกเขาคิดว่าปีนี้การระบาดของโควิด-19 และการล็อกดาวน์จะเกิดขึ้นทั่วประเทศจีน ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อธุรกิจขนาดเล็กและรายย่อย แบบเดียวกับที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่ นั่นคือ การเป็นหนี้ก้อนโต


ด้วยความหวาดกลัวต่อการดำรงชีวิต พวกเขาแทบไม่อยากใช้จ่าย และพยายามประหยัดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อหลีกเลี่ยงความยากลำบากที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


---รายได้ไม่เพิ่ม แต่หนี้ไม่ลด---


นับตั้งแต่เกิดโรคระบาด หวังและสามียืมเงินเกือบ 500,000 หยวน (ราว 2.57 ล้านบาทจากญาติ  เพื่อให้โรงงานเสื้อผ้ายังได้ไปต่อ แต่ท้ายที่สุด ก็ไม่สามารถรับมือกับความสูญเสียที่เพิ่มขึ้นได้ และยังมีหนี้บัตรเครดิตอีกหลายหมื่นหยวนที่ต้องทยอยจ่าย


ความต้องการของตลาดอ่อนแอมาก เสื้อผ้าของเราจึงไม่สามารถขายได้ และกลายเป็นสินค้าคงคลัง” หวัง กล่าว และว่า เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กล้วนเผชิญเหตุการณ์เดียวกัน โดยหนึ่งในนั้น รวมถึงจางที่ระบุว่า ลูกค้าของเขาชำระเงินล่าช้าขึ้นเรื่อย 


การไปทำงานในเหมือง จะช่วยสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว” จาง กล่าว เขายังมีหนี้บัตรเครดิตและต้องจ่ายค่ารถด้วย พร้อมเสริมว่า คงต้องพักธุรกิจขนส่งไปอีกพักใหญ่


สถานการณ์ของทั้งสองคน สอดคล้องกับรายงานของสถาบันวิจัย Ant Group และศูนย์วิจัยองค์กรและการสำรวจสถาบันทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ซึ่งทำการสำรวจวิสาหกิจขนาดย่อยและวิสาหกิจรายย่อย หรือ MSEs จำนวน 15,569 แห่ง 


รายงานดังกล่าว ระบุว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 มูลค่าการซื้อขายระหว่าง SMEs ลดลงโดยเฉลี่ย เหลือ 129,000 หยวน (ราว 664,100 บาทจาก 131,000 หยวน (ราว 674,390 บาทในไตรมาสที่ 3 


---ภาวะตลาดงานตกต่ำ---


ผู้ตอบแบบสำรวจราว 46% กล่าวว่า มูลค่าการซื้อขายในไตรมาสที่ 4 น้อยกว่า 25,000 หยวน ขณะที่ 19.1% ชี้ว่า ไม่สามารถเทียบกันได้ และ 27.2% ระบุว่า ขาดทุน


ด้าน SMEs ที่จัดตั้งขึ้นก่อนปี 2019 กล่าวว่า รายได้ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 ถือเป็นเพียง 30.6% ของรายได้โดยเฉลี่ยในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2019 


นอกจากนี้ จำนวนงานเฉลี่ยที่เกิดจาก MSEs อยู่ที่ประมาณ 4.3 ในไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว ลดลงจาก 6.9 ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งบ่งชี้ว่า ภาวะตลาดงานของจีนกำลังตกต่ำลง


ทั้งนี้ รายงานของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ยังแสดงให้เห็นว่า ปี 2021 ภาระภาษีของ MSEs เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 4 เนื่องจากภาษีและค่าธรรมเนียมที่คิดจากรายได้ เพิ่มขึ้นเป็น 9.8% จาก 8.5% ในไตรมาสแรก 


---ปีนี้การบริโภคในประเทศยังอ่อนแอ---


รายงานจากสื่อของรัฐ ระบุว่า MSEs เป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจจีน โดยคิดเป็นมากกว่า 80% ของตำแหน่งงานทั้งหมด โดยในไตรมาสที่แล้ว อุปสงค์ของตลาดที่ไม่เพียงพอและค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว ยังเป็นแรงกดดันหลักที่มีต่อธุรกิจ MSEs 


ขณะที่ ความกังวลถึงความไม่แน่นอนของนโยบายและภาระภาษี ก็ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมาก เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา ด้านผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ปีนี้ SMEs ของจีนจะอยู่ภายใต้แรงกดดันที่มากขึ้น และเผชิญปัญหาที่มากยิ่งกว่าเดิม


การส่งออกของจีน คาดว่าจะลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อิงจากสมมติฐานที่ว่าการระบาดใหญ่จะสิ้นสุดในปลายปีนี้ โดยกิจกรรมการผลิตทางเศรษฐกิจและสังคม จะกลับมาเป็นปกติทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา” ไซมอน จ้าว รองคณบดีฝ่ายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จาก BNU-HKBU United International College กล่าว


ปีนี้ การบริโภคภายในประเทศจะยังคงอ่อนแอ” เขา กล่าวเสริม “เมื่ออุปสงค์ส่งออกลดลง สินค้าส่วนเกินก็จะสะสมเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อธุรกิจขนาดเล็กของจีน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้” จ้าว กล่าว


---คุมเข้มโควิดกระทบธุรกิจรายย่อยรุนแรง---


รายงานการวิเคราะห์และพยากรณ์เศรษฐกิจมหภาคของจีน ซึ่งเผยแพร่ในเดือนธันวาคม โดย Academic Centre for Chinese Economic Practice and Thinking มหาวิทยาลัยชิงหัว ระบุว่า มาตรการป้องกันและควบคุมโรคระบาดที่เข้มงวด ได้ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อนิสัยการทำงานและวิถีชีวิตของชาวจีน


โดยระบุว่า มาตรการคุมเข้มส่งผลให้การบริโภคตกต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการ เช่น การท่องเที่ยว การต้อนรับ และการขนส่ง อีกทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศในปีนี้ อาจทำให้ส่วนแบ่งการส่งออกและผลกำไรของผู้ผลิตจีนลดลง รวมถึงทำให้อัตราการเติบโตของการจ้างงานและรายได้เฉลี่ยของคนงานลดลงด้วย


นอกจากนี้ ยังชี้ว่าโควิด-19 อาจเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของคนจีนอย่างถาวร พร้อมเสริมว่า อาจฉุดการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมลง 0.4%


ฉันพร้อมแล้วที่จะเผชิญกับปีที่ยากลำบากยิ่งกว่านี้” หวัง จากเมืองตงกวนกล่าว “ฉันจะประหยัดให้มากที่สุด และหวังว่าตัวเองจะสามารถชำระหนี้ได้บ้าง

—————

แปล-เรียบเรียงพัชรี จันทร์แรม

ภาพ: Reuters

ข่าวที่เกี่ยวข้อง