รีเซต

เกาะติดสถานการณ์ 'รัสเซีย-ยูเครน' (30 มิ.ย. 2565)

เกาะติดสถานการณ์ 'รัสเซีย-ยูเครน' (30 มิ.ย. 2565)
TeaC
30 มิถุนายน 2565 ( 11:08 )
280
เกาะติดสถานการณ์ 'รัสเซีย-ยูเครน' (30 มิ.ย. 2565)

ข่าววันนี้ สถานการณ์วิกฤต "รัสเซียยูเครน" ล่าสุด “โจโกวี” ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เสนอตัวอาสา “นำสาร” จากผู้นำยูเครน ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ไปให้ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน เพื่อเป็นกาวใจส่งเสริมสันติภาพ ยุติสงคราม  อ่าน : เกาะติดสถานการณ์ 'รัสเซีย-ยูเครน' (29 มิ.ย. 2565)

 

เกาะติดสถานการณ์ 'รัสเซีย-ยูเครน' (30 มิ.ย. 2565)

 

“โจโกวี” ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เสนอตัวอาสา “นำสาร” จากผู้นำยูเครน ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ไปให้ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน เพื่อเป็นกาวใจส่งเสริมสันติภาพ ยุติสงคราม

ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ผู้นำอินโดนีเซีย เสนอในวันพุธ (29 มิถุนายน) ว่าจะ “นำส่งสาร” จากประธานาธิบดีเซเลนสกี ของยูเครน ถึงประธานาธิบดีปูติน ผู้นำรัสเซีย เพื่อพยายามที่จะส่งเสริมความหวังสันติภาพ โดยวิโดโด หรือที่ถูกเรียกว่า “โจโกวี” พบหารือกับเซเลนสกี ด้วยความหวังว่า จะจุดไฟการเจรจาสันติภาพขึ้นมาใหม่ระหว่างรัสเซียและยูเครน และหาวิธีเพิ่มการส่งออกธัญพืชสู่ตลาดโลก

 

ผู้นำอินโดนีเซีย กล่าวว่า แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องที่ยากมาก ที่จะประสบความสำเร็จ แต่เขาก็แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการแก้ปัญหาอย่างสันติ เขาเสนอตัวที่จะนำสารจากเซเลนสกี ส่งไปถึงปูติน ซึ่งเขาจะพบหารือในเร็ว ๆ นี้ เขายังยืนยันการสนับสนุนของอินโดนีเซียในการช่วยเหลือทางการแพทย์และโครงสร้างพื้นฐานต่อยูเครนด้วย

 

โจโกวี ซึ่งเดินทางจากโปแลนด์ด้วยรถไฟ เยือนกรุงเคียฟ เมืองหลวงยูเครนในช่วงเช้าวันพุธ (29 มิถุนายน) ย้ำการเชิญเซเลนสกี ให้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ G20 ในบาหลี เกาะท่องเที่ยวชื่อดังของอินโดนีเซีย ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งโจโกวี เป็นประธานกลุ่มประเทศ G20 และเป็น 1 ใน 6 ผู้นำ ที่สหประชาชาติ หรือ UN ได้แต่งตั้งให้เป็น “ผู้สนับสนุน” ของกลุ่มตอบโต้วิกฤตโลก ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดการภัยคุกคามจากความอดอยากหิวโหย และความขาดแคลนที่เกิดจากสงครามในยูเครน  

 

ทั้งนี้ ก่อนรัสเซียใช้ปฏิบัติการทางทหารในยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ยูเครนเป็นหนึ่งในประเทศผู้จัดส่งข้าวสาลีรายใหญ่สุดของอินโดนีเซีย แต่การปิดล้อมทางทะเลของรัสเซีย ทำให้การส่งออกธัญพืชทางทะเลดำของยูเครนต้องหยุดชะงัก ส่งผลให้เกิดวิกฤตอาหารโลก

 

อย่างไรก็ตาม หลังจากเยือนยูเครนแล้ว ผู้นำอินโดนีเซียมีกำหนดเดินทางเยือนกรุงมอสโก เพื่อพบหารือกับปูติน และกล่าวว่า เขาจะเรียกร้องให้ประธานาธิบดีรัสเซียตกลงหยุดยิง การเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครนหยุดชะงักลง โดยที่ต่างฝ่ายต่างกล่าวหาซึ่งกันและว่าเป็นต้นตอให้การเจรจาล้มเหลว

 

 

หัวหน้าคณะผู้บริหารสาธารณรัฐไครเมีย ออกมาระบุว่า พร้อมแล้วที่จะเปิดเส้นทางให้รถบัส และรถไฟ จากไครเมียมุ่งหน้าสู่ 2 แคว้นทางตอนใต้ของยูเครนในต้นเดือนหน้า

สำนักข่าว AFP รายงานว่า เซอร์เกย์ อัคซิโอนอฟ หัวหน้าผู้บริหารสาธารณรัฐไครเมีย ออกมาระบุในวันนี้ (29 มิถุนายน) ​ว่า ไครเมียเตรียมพร้อมที่จะเปิดเส้นทางจากไครเมียสู่แคว้นเคอร์ซอน และแคว้นซาโปริซห์เซีย ที่อยู่ทางตอนใต้ของยูเครนแล้ว โดยจะเริ่มให้บริการรถบัส และรถไฟ ที่มุ่งหน้าสู่ทั้ง 2 แคว้น ในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้

 

ขณะเดียวกัน อัคซิโอนอฟ ยังระบุเพิ่มเติมด้วยว่า ทางกองกำลังรักษาดินแดนของรัสเซีย ก็ได้รับรองความปลอดภัยในการเดินทางผ่านเส้นทางนี้แล้วด้วย ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี ที่จะกลับมาเปิดให้บริการขนส่งสาธารณะที่เชื่อมต่อระหว่างไครเมีย กับแคว้นเคอร์ซอน และแคว้นซาโปริซห์เซีย ของยูเครน นับตั้งแต่ที่ไครเมีย ซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของยูเครน ได้ผนวกเข้ากับรัสเซียเมื่อปี 2014

 

ด้านคิริล สเตรมูซอฟ รองผู้ว่าการแคว้นเคอร์ซอน ที่มีแนวคิดสนับสนุนรัสเซีย ก็ออกมาระบุว่า ขณะนี้ ทางคณะผู้บริหารอยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมพร้อม ที่จะจัดการลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของแคว้นเคอร์ซอน เพื่อสอบถามประชาชนในพื้นที่ว่าต้องการที่จะผนวกเข้ากับรัสเซียหรือไม่ ตามรอยของไครเมีย เมื่อ 8 ปีก่อน

 

ข้อมูล TNN World

ภาพ  Reuters

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง