รีเซต

ดีชัวรันส์ ประกันไซเบอร์ ปกป้องจากภัยการโจมตีทางไซเบอร์

ดีชัวรันส์ ประกันไซเบอร์ ปกป้องจากภัยการโจมตีทางไซเบอร์
TNN ช่อง16
26 พฤษภาคม 2566 ( 16:50 )
63

ประกันไซเบอร์

อย่างที่ทราบกันดีว่าโลกนี้เชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต และอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทั้งภาคธุรกิจ องค์กรและบุคคลก็เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น ในการทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ต จำเป็นต้องมีการตรวจสอบให้ดี เพราะสมัยนี้มิจฉาชีพมีอยู่มาก ในด้านขององค์กรอาจจะได้รับผลกระทบจากการถูกลักลอบขโมยฐานข้อมูลของลูกค้าและพนักงาน รวมถึงในด้านของบุคคลเอง มักจะแทรกซึมอยู่กับชีวิตประจำวัน ซึ่งแต่ละเรื่องล้วนเป็นเรื่องใกล้ตัว เช่น การหลอกให้ทำธุรกรรมการเงิน การช้อปปิงออนไลน์แล้วได้สินค้าไม่ตรงปกหรือไม่ได้รับสินค้าเลย ล้วนเป็นภัยอันตรายของโลกไซเบอร์ทั้งนั้น และยิ่งเทคโนโลยีมีความซับซ้อนขึ้น ความเสี่ยงต่อภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ก็ยิ่งมากขึ้น และนี่คือสาเหตุที่ทุกท่านควรเตรียมพร้อมรับมือด้วยประกันไซเบอร์


ประกันไซเบอร์ คืออะไร

ประกันภัยไซเบอร์ (Cyber insurance) คือ แผนประกันที่จะช่วยปกป้องจากภัยการโจมตีทางไซเบอร์ โดยจะคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับข้อมูลหรือระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย รวมถึงความผิดพลาดที่สร้างความเสียหายให้กับข้อมูล โดยความคุ้มครองจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายการกู้คืนข้อมูลและการพิสูจน์หลักฐานในกระบวนการสืบสวนและไกล่เกลี่ย


ทำไมถึงควรมีประกันไซเบอร์

ความเสียหายจากภัยไซเบอร์เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นภัยใกล้ตัว เมื่อเกิดความเสียหายแล้ว ครั้นจะให้ไปตามเรื่องเองคงทำได้ยาก เพราะระบบหรือเครือข่ายค่อนข้างมีความซับซ้อน ดังนั้นการทำประกันไซเบอร์จะช่วยบรรเทาค่าเสียหายและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ และภัยไซเบอร์ที่คนไทยถูกหลอกมากที่สุดมีดังนี้


1. มิจฉาชีพบน Social Media

มิจฉาชีพถือโอกาสใช้ช่องทางดังกล่าวเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ โดยอาศัยข้อมูลจากแชทหรือโพสต์เพื่อสวมรอยหรือปลอมแปลงข้อมูลเพื่อหลอกลวง เช่น หลอกให้โอนเงิน ปลอมแปลงหลักฐานการโอนเงิน เป็นต้น


2. อีเมลหลอกลวง (Phishing)

โดยส่วนใหญ่การหลอกลวงในรูปแบบนี้จะเป็นการส่งอีเมลโดยแอบอ้างเป็นธนาคารต่างๆ เพื่อหลอกให้ทำธุรกรรมหรือโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว เช่น รหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต


3. การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Data Theft)

ในปัจจุบันข้อมูลส่วนตัวของคนไทยมีการรั่วไหลมาเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลสำคัญๆ เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน รหัสผ่าน เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น จึงเป็นสาเหตทำให้คนไทยถูกหลอกให้ทำธุรกรรมกับมิจฉาชีพ


ประกันไซเบอร์ คุ้มครองอะไรบ้าง

ในด้านความคุ้มครองของประกันไซเบอร์ จะมีการชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการโจมตีหรือการโจรกรรมข้อมูล โดยแบ่งความคุ้มครองได้ 2 แบบ ได้แก่

1. ความคุ้มครองของผู้เอาประกันภัย

เช่น คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับข้อมูล, คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากธุรกิจหยุดชะงัก (สำหรับแผนประกันไซเบอร์แบบองค์กร) หรือคุ้มครองความเสียหายจากการรีดเอาทรัพย์ เป็นต้น

2. ความคุ้มครองบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง

เช่น คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากระบบความปลอดภัยถูกล่วงละเมิด, ค่าใช้จ่ายในการกู้คืนข้อมูล, ชดใช้แก่ผู้ตกเป็นเหยื่อ, คุ้มครองความเสียหายจากการใช้สื่อออนไลน์ หรือคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลที่สามอันเกิดจากการละเลยหรือขาดความระวังขององค์กร (สำหรับแผนประกันไซเบอร์แบบองค์กร) เป็นต้น


ประกันไซเบอร์ จาก ดีชัวรันส์

ภัยไซเบอร์ถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวและมีความเสียหายเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังยากต่อการที่จะจัดการตามทรัพย์สินคืนด้วยตนเอง การมีประกันไซเบอร์ถือว่าเป็นหลักประกันที่จะช่วยปกป้องจากอาชญากรรมบนโลกออนไลน์ ซึ่งแผนประกันที่น่าสนใจ นั่นก็คือ ประกันไซเบอร์ จากดีชัวรันส์ ที่จะช่วยคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้บนโลกออนไลน์ ทั้งต่อตัวบุคคล ทรัพย์สิน และอุปกรณ์ต่างๆ โดยความคุ้มครองที่ได้รับจะเป็นในด้านของการโจรกรรมเงินออนไลน์ ซื้อสินค้าออนไลน์ และขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์และเป็นภัยใกล้ตัวที่สามารถพบเจอได้ง่าย โดยราคาเริ่มต้นก็เบาๆ เพียง 200 บาท/ปี* สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถเข้าเว็บไซต์ดีชัวรันส์ เพื่อเปรียบเทียบแผนประกันภัยที่ต้องการและสั่งซื้อได้ทันที สะดวก รวดเร็ว และคุ้มครองทันทีที่ทำประกัน


โลกออนไลน์ที่ถูกเชื่อมต่อด้วยอินเตอร์ถือว่ามีความรวดเร็ว สะดวกสบาย จะทำธุรกรรมอะไรก็ง่ายไปหมด แต่ในทุกวันนี้มิจฉาชีพมีมากขึ้น จำเป็นต้องมีการระแวดระวังเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ แม้ว่าจะระวังแค่ไหน มิจฉาชีพก็สรรหากลโกงมาหลอกลวงได้เสมอ การทำประกันไซเบอร์ถือว่าเป็นตัวช่วยรองรับความเสี่ยงที่จะถูกหลอก หากเกิดความเสียหายแล้ว ก็ยังมีประกันช่วยชดเชยค่าเสียหายและดำเนินการแก้ไขปัญหา ช่วยให้ทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างไร้กังวล


รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://www.dtac.co.th/s/6v00I8J

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง