รีเซต

"ซีพี ออลล์”หนุนการศึกษายุคใหม่ ปูทางความรู้สร้างอาชีพที่ยั่งยืน

"ซีพี ออลล์”หนุนการศึกษายุคใหม่ ปูทางความรู้สร้างอาชีพที่ยั่งยืน
มติชน
14 มกราคม 2565 ( 15:15 )
63
"ซีพี ออลล์”หนุนการศึกษายุคใหม่ ปูทางความรู้สร้างอาชีพที่ยั่งยืน

นายภูมิ พนันตา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่โต๋ กล่าวว่า โรงเรียนบ้านแม่โต๋ ได้รับการสนับสนุนการดำเนินโครงการ ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นสู่ทักษะอาชีพอย่างยั่งยืน จากซีพี ออลล์ เนื่องจากอำเภอสะเมิงโดยส่วนใหญ่ประกอบด้วยชนเผ่ากระเหรี่ยง และชนเผ่าม้ง ซึ่งมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เช่นการทอผ้าถุง เสื้อผู้หญิง เสื้อผู้ชาย ผ้าโพกหัว ผ้าคลุมไหล่ กระเป๋าเงิน เป็นต้น ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น มีปราชญ์ ชาวบ้านที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อขยายผลทั้งในด้านการสืบทอดวัฒนธรรม การเรียนรู้ทักษะการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้กับนักเรียน จึงเป็นที่มาของโครงการที่ซีพี ออลล์เข้ามาสนับสนุน และส่งเสริมให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ ให้นักเรียนสามารถมีวิชาความรู้ ในการประกอบอาชีพทางเลือก

 

นายวีระพงค์ ตุ่นแก้ว ผู้จัดการแผนกบำรุงรักษา RDC จังหวัดลำพูน บมจ.ซีพี ออลล์ ในฐานะตัวแทนผู้นำรุ่นใหม่ หรือ School Partner กล่าวถึงการได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโครงการสานอนาคตการศึกษา Connext Ed ของซีพี ออลล์ ว่าได้มีโอกาสร่วมพัฒนาโรงเรียนบ้านแม่โต๋ และ โรงเรียนบ้านแม่ยางห้า โดยทั้ง 2 โรงเรียนต่างมีเอกลักษณ์คือ การรักษ์ชนเผ่า หรือความตั้งใจที่จะรักษาวัฒนธรรมทางภาษาและการแต่งกายของชนเผ่าเอาไว้ ผ่านหลักสูตรที่ได้บูรณาการเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ไว้ในทุกการเรียนรู้ หนึ่งในนั้นคือการทอผ้าทอมือชุดกะเหรี่ยง และชนเผ่าม้ง ที่คนท้องถิ่นนิยมใส่ในงานประเพณีต่าง ๆ มีทั้งความสวยงามและสื่อถึงคุณค่าภูมิปัญญาดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี ประกอบกับสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนให้เกิดการอนุรักษ์ร่วมกัน ตั้งแต่นักเรียนถึงปราชญ์ชาวบ้าน จนนำไปสู่การสร้างรายได้ระหว่างเรียน และเกิดการสร้างอาชีพต่อไปในอนาคต

 

“แรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนโครงการคืออยากเห็นเด็ก ๆ เยาวชนรวมถึงโรงเรียนที่ห่างไกล ได้มีโอกาสที่จะยกระดับตัวเองขึ้นมา แม้อาจจะไม่เทียบเท่า แต่อย่างน้อยก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED ถือเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการเข้ามาต่อยอด สนับสนุนการศึกษาในพื้นที่ห่างไกลได้เป็นอย่างดี” นายวีระพงค์กล่าว

 

นางสาวนฤสรณ์ ขันธะสีมา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่ยางห้า ในฐานะลูกหลานชนเผาที่ได้มีโอกาสกลับมาทำงานรับใช้ชุมชน กล่าวว่าการทอผ้าเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชนเผ่ากะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) และเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่สูญหายไป ซึ่งชนเผ่ากะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) เดิมจะมีการแต่งกายด้วยชุดกะเหรี่ยงประจำท้องถิ่นในงานประเพณีต่าง ๆ เช่น การเข้าโบสถ์ในวันอาทิตย์ ประเพณีกินข้าวห่อ งานแต่งงาน และงานสำคัญอื่นๆ ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ของโรงเรียนบ้านแม่ยางห้า เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ดังนั้นทางโรงเรียนจึงได้เล็งเห็นความสำคัญและคุณค่าของการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะการทอผ้ากะเหรี่ยงเป็นการสร้างจิตสำนึกให้นักเรียนรักและภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมของตนเอง เป็นการฝึกทักษะทางด้านการทอผ้า เพื่อเป็นการสร้างรายได้ในช่วงที่เรียน อีกทั้งเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์อีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง