รีเซต

เปิดโครงสร้าง ศบค.เศรษฐกิจ ทำไมพ่วง “ไพรินทร์”เสริมทัพ?

เปิดโครงสร้าง ศบค.เศรษฐกิจ ทำไมพ่วง “ไพรินทร์”เสริมทัพ?
TNN ช่อง16
14 สิงหาคม 2563 ( 09:56 )
394
เปิดโครงสร้าง ศบค.เศรษฐกิจ ทำไมพ่วง “ไพรินทร์”เสริมทัพ?

        ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ (13 ส.ค.63) ที่ประชุมก็ได้รับทราบการจัดตั้ง “ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ จากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019”  หรือ ศบค.เศรษฐกิจ รวมทั้งยังมีการตั้งคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจฯ โดย มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน และมีกรรมการอีกรวม 22 คน ทำหน้าที่จัดทำข้อเสนอและกรอบแนวทางการดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจ การฟื้นฟูเศรษฐกิจทั้งระยะสั้น และระยะยาว ตลอดจนกำกับดูแลควบคุมและติดตามการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่


        ขณะที่  ศบค.เศรษฐกิจนี้ นอกจากจะมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธานแล้ว ในส่วนของกรรมการ 22 คนนั้น จะมาจากมีรัฐมนตรี 11 กระทรวงได้แก่ 

  1. กระทรวงการคลัง
  2. กระทรวงพาณิชย์
  3. กระทรวงอุตสาหกรรม
  4. กระทรวงคมนาคม
  5. กระทรวงการต่างประเทศ
  6. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  7. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  8. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  9. กระทรวงมหาดไทย
  10. กระทรวงแรงงาน
  11. กระทรวงสาธารณสุข 

        ร่วมด้วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตัวแทนจากภาคเอกชน ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย รวมทั้ง เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  ทั้งหมดนี้จะทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการใน ศบค.เศรษฐกิจนี้ 



        และที่พิเศษไปกว่านั้น นายกฯยังได้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจ ที่มีนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม  เป็นประธาน ที่ก่อนหน้านี้ติดโผ รัฐมนตรีในครม.ใหม่ ด้วย  ซึ่งจากประวัติการทำงานที่มากประสบการณ์ โดยเฉพาะงานในสายงานด้านเศรษฐกิจ อาทิ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)  ,
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกรรมการ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ,
กรรมการอิสระ-กรรมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นต้น เชื่อว่าน่าจะเป็นหน้าที่ที่เหมาะสมในเวลานี้ 

          โดยนายไพรินทร์  จะทำหน้าที่ขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจให้มีผลในทางปฏิบัติ  โดยเฉพาะการเร่งรัดติดตามการดำเนินมาตรการของหน่วยงานต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจได้โดยเร็วที่สุด 

        ขณะเดียวกัน ภายในคณะกรรมการชุดนี้ ยังแบ่งการทำงานเป็นคณะอนุกรรมการ 3 ชุด คือ 

  1. คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจในระยะเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 
  2. คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจและส่งเสริมการลงทุนในระยะปานกลางและระยะยาว
  3. คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และสนับสนุนข้อมูลเศรษฐกิจรายสาขา มีภาคเอกชนร่วมเป็นคณะทำงาน

        เมื่อคณะกรรมการ ศบค.เศรษฐกิจ เป็นรูปเป็นร่าง ก็คาดว่าจะเริ่มนัดประชุม ศบค.เศรษฐกิ นัดแรกโดยเร็วที่สุด

        แน่นอนว่าเป้าหมายของการจัดตั้ง“ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ จากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019” นี้ขึ้นก็เพื่อเดินหน้าแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่บอบช้ำมาจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งนับว่าเป็นงานยาก พอที่จะพิสูจน์ฝีไม้ลายมือของกรรมการหัวหอกแต่ละคน โดยเฉพาะหัวหน้าทัพหลักอย่างนายกรัฐมนตรีเอง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ ที่จะร่วมกันฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ไปได้อย่างไร   


ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 นายกฯ มอบ 5 แนวทาง "รวมไทย สร้างชาติ" ระดมคนเก่งฝ่าวิกฤติ

 'บิ๊กตู่' เปิดเหตุผลตั้ง ดอน ปรมัตถ์วินัย ควบตำแหน่งรองนายกฯ

 นายกฯ รับเศรษฐกิจไทยอาจซบเซาอีก 2 ปี ชี้ทางรอดต้องร่วมมือกัน

 ประกาศสำนักนายกฯ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ลาออกจากโฆษกรัฐบาล


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง