รีเซต

เตรียมตั้งกล้องฯ ส่องดาวเสาร์ราชาแห่งวงแหวนใกล้โลกในรอบปี

เตรียมตั้งกล้องฯ ส่องดาวเสาร์ราชาแห่งวงแหวนใกล้โลกในรอบปี
TrueID
20 กรกฎาคม 2563 ( 12:47 )
306
เตรียมตั้งกล้องฯ ส่องดาวเสาร์ราชาแห่งวงแหวนใกล้โลกในรอบปี

ช่วงนี้นอกจากจะเจอสภาพอากาศฝนตกในกลางวันแล้ว พอตกกลางคืนยังมี ดาวหางนีโอไวส์ (NEOWISE) ซึ่งปัจจุบันดาวหางดวงนี้ อยู่ใกล้กับบริเวณกลุ่มหมีใหญ่ (Ursa Major) หรือที่คนไทยรู้จักกันในนามของ “กลุ่มดาวจระเข้” เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์ที่พบเห็นได้ง่ายทางด้านทิศเหนือ แม้ว่าขณะนี้ดาวหางได้ผ่านช่วงสว่างมากที่สุดไปแล้ว แต่จากการสังเกตการณ์จริงพบว่าความสว่างไม่ได้ลดลงดังเช่นที่คำนวณไว้ ซึ่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับสังเกตการณ์ดาวหาง เริ่มตั้งแต่ช่วงวันที่ 18 - 23 กรกฎาคม 2563 ในช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ดาวหางจะปรากฏอยู่ใกล้เส้นขอบฟ้า

 

นอกจากดาวหางนีโอไวส์แล้ว ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยดาวเสาร์ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นราชาแห่งวงแหวนที่กำลัง 'เคลื่อนตัวใกล้โลกในรอบปีนี้' ของในวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 นี้ โดยจะปรากฏสว่างทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ นานตลอดคืนถึงรุ่งเช้า หากฟ้าใสไร้ฝนสังเกตได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วไทย เตรียมตั้งกล้องโทรทรรศน์ ส่องวงแหวนของดาวเสาร์ ณ 4 จุดสังเกตการณ์หลักที่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา ตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. 

 

 

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. เปิดเผยว่า วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม 2563 ดาวเสาร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์  โดยจะมีดวงอาทิตย์ โลก ดาวเสาร์ เรียงกันในแนวเส้นตรง ส่งผลให้ดาวเสาร์มีระยะใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี (Saturn Opposition) ห่างประมาณ 1,346 ล้านกิโลเมตร ในวันดังกล่าวเมื่อดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า จะมองเห็นดาวเสาร์สว่างอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจะสังเกตได้ยาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากดูดาวเสาร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 4 นิ้ว หรือมีกำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป จะเห็นวงแหวน A และวงแหวน B แยกกันอย่างชัดเจนโดยมีช่องแบ่งแคสสินีอยู่ตรงกลางระหว่างวงแหวนทั้งสอง

 

โดยนอกจากในคืนนั้นยังสามารถสังเกตเห็นดาวพฤหัสบดีใกล้กันที่สุดในรอบ 397 ปี ห่างกันเพียง 0.1 องศา จนมองเห็นราวกับว่าเป็นดาวดวงเดียวกัน เรียกว่า “The Great Conjunction” หากใช้กล้องโทรทรรศน์กำลังขยายไม่เกิน 100 เท่า จะเห็นดาวเคราะห์ทั้งสองปรากฏอยู่ในช่องมองภาพเดียวกันได้ปรากฏสว่างใกล้กับดาวเสาร์ และดวงจันทร์บริวาร 4 ดวงได้อย่างชัดเจนอีกด้วย

 

ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง