รีเซต

คืบหน้า"โควิดสู่โรคประจำถิ่น"ให้แต่ละจังหวัดทำแผนรองรับให้เสร็จก่อน ก.ค.นี้

คืบหน้า"โควิดสู่โรคประจำถิ่น"ให้แต่ละจังหวัดทำแผนรองรับให้เสร็จก่อน ก.ค.นี้
TNN ช่อง16
3 พฤษภาคม 2565 ( 11:50 )
92
คืบหน้า"โควิดสู่โรคประจำถิ่น"ให้แต่ละจังหวัดทำแผนรองรับให้เสร็จก่อน ก.ค.นี้

วันนี้( 3 พ.ค.65) นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวถึงเกณฑ์ในการเข้าโรคประจำถิ่นความพร้อมของการพิจารณาแต่ละจังหวัด ว่า จะดูเรื่องของการระบาดเป็นหลัก อัตราการฉีดวัคซีน  อัตราการครองเตียง  ตอนนี้อัตราการฉีดวัคซีนอาจจะเริ่มลดในบางจังหวัด ซึ่งทางนพ. เกียรติภูมิวงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขขอดูสถานการณ์อีกสักระยะ โดยได้ให้กรมควบคุมโรค จัดทำข้อมูลว่า จังหวัดไหนอยู่ในช่วงขาขึ้นของการระบาด แต่ส่วนใหญ่อยู่ในตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อที่ทรงตัว

รวมถึงบางจังหวัดก็อยู่ในช่วงขาลงของการระบาดโควิด-19 เช่นในพื้นที่ภาคใต้ที่ตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการระบาดหนักมาก่อน  โดยแนวโน้มภาคใต้อาจจะเข้าสู่โรคประจำถิ่นได้ก่อน แต่อย่าลืมว่าภาคใต้เป็นภาคที่รับนักท่องเที่ยวต่างชาติค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นอาจจะไปเร็วมากไม่ได้

ส่วนจังหวัดที่ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด คือภาคกลางและภาคตะวันออก เนื่องจากมีการติดเชื้อสูงมานานคนในพื้นที่มีภูมิคุ้มกันพอสมควรแล้ว รวมถึงการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมเมื่อเทียบกับภาคอื่น ส่วนภาคอีสาน หลายจังหวัดขณะนี้ยอดผู้ติดเชื้อพึ่งเริ่มขึ้น

นพ.จักรรัฐ  อธิบายเพิ่มเติมว่าการประกาศ เข้าสู่โรคประจำถิ่น ของแต่ละจังหวัดอาจจะไม่ต้องตรงตามเกณฑ์ แต่ต้องมีการปรับมาตรการบริหารจัดการภายในจังหวัด สร้างความพร้อมที่จะทำให้จังหวัด คนในจังหวัดมั่นใจมากยิ่งขึ้นเมื่อก้าวเข้าสู่โรคประจำถิ่น เช่น หาก อนาคตโควิด-19 มีสายพันธุ์ใหม่ มีการระบาดเป็นวงกว้างสามารถที่จะตรวจจับทัน มีระบบการป้องกันและควบคุมโรคได้เร็วหรือไม่ รวมถึงต้องวางแผนควบคู่กับผู้ประกอบการภายในจังหวัดมีระบบการเฝ้าระวังติดตาม หากในสถานที่เสี่ยง มีการระบาด เช่น หากมีการผ่อนคลายสถานบันเทิงผับบาร์ ในจังหวัดต่างๆสถานประกอบการก็ต้องมีมาตรการในการรองรับที่จะมั่นใจได้ว่า จะสามารถควบคุมสถานการณ์ไม่สร้างความเดือดร้อนได้กับประชาชนโดยรวมของทางจังหวัดหากมีการระบาดเกิดขึ้น 

รวมถึงระบบการแจ้งเตือนของทางจังหวัดประชาชนที่ไปใช้บริการ หากพบว่าสถานที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงเกินไป ก็ต้องแจ้งเตือนมายังจังหวัด และหากมีคนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวภายในจังหวัดนั้นมากขึ้นทำให้มีการติดเชื้อมากขึ้น สถานพยาบาลสามารองรับได้ไหม เป็นต้น

ขณะนี้ในหลายจังหวัดเริ่มจัดทำแผนแล้ว ซึ่งจะต้องจัดทำให้เสร็จก่อนกรกฎาคม ส่วนจะประกาศเร็วหรือจะช้าก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้น ส่วนวันที่ 1 กรกฎาคม นั้น นพ.จักรรัฐ  ระบุว่า เป็นเป้าที่ตั้งไว้ในตอนแรก แต่ถ้าเกิดมาตรการบริหารจัดการดี มีมาตรการแผนรองรับได้เร็วขึ้น สถานการณ์การติดเชื้อดีขึ้นอัตรา การป่วยเสียชีวิตไม่ได้สูงมาก อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 0.1 ซึ่งเกณฑ์ร้อยละ 0.1 นั้นอาจจะไม่ต้องตรงมากก็ได้  มีการปรับได้ขึ้นอยู่กับการพิจารณา ย้ำ การประกาศ โควิด-19 สู่โรคประจำถิ่นจะต้องเป็นการประกาศพร้อมกันทั่วประเทศ แต่ตอนนี้เป็นเพียงประกาศว่าจังหวัดนี้เข้าสู่ระยะใดแล้วเท่านั้น

ทั้งนี้ การประกาศโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น มี 3 ระยะบวก 1  

ระยะที่ 1  คือในช่วง 12 มีนาคม ถึง-ต้น เมษายน 2565) เรียกว่า Combatting เป็นระยะต่อสู้ ต้องกดตัวเลขผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงกว่านี้ เพื่อลดการระบาด ลดความรุนแรงลง โดยจะมีมาตรการต่างๆออกไป โดยระยะนี้ไทยผ่านมาแล้ว

ระยะที่ 2  เมษายนถึง-พฤษาภาคม 2565 เรียกว่า Plateau คือ การคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น ให้เป็นระนาบจนลดลงเรื่อย ซึ่งขณะนี้ไทยอยู่ในระยะนี้

ระยะที่ 3 ปลาย พฤษภาคม ถึง 30 มิถุนายน 2565  เรียกว่า Declining คือ การลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้เหลือ 1,000 - 2,000พันราย 

ระยะที่ 4  ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป เรียกว่า Post pandemic คือ ออกจากโรคระบาดเข้าสู่โรคประจำถิ่น





ภาพจาก AFP/รอยเตอร์


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง