รีเซต

"อ่อนหวาน-ลดอ้วน" สร้างสุขภาพ คนทำงาน สู้ภัยโควิด-19

"อ่อนหวาน-ลดอ้วน" สร้างสุขภาพ คนทำงาน สู้ภัยโควิด-19
TNN ช่อง16
10 พฤษภาคม 2564 ( 15:31 )
64

วิถีชีวิตของคนวัยทำงาน ที่ต้องทำงานเช้าถึงเย็น พฤติกรรมการบริโภคที่อาจจะไม่มีเวลาคัดสรรมากพอ ไม่มีเวลาออกกำลังกาย หลายๆ เหตุผลไม่เอื้อให้มีเวลาดูแลสุขภาพ ส่งผลให้คนกลุ่มวัยทำงานเจ็บป่วยเป็นโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs โดยเฉพาะในช่วง โควิด -19 แพร่ระบาด การลดน้ำหวาน –ลดน้ำหนัก จะช่วย ให้สู้โควิด-19 ได้


การบริโภคหวานอยู่เป็นประจำ ถือเป็นปัจจัยต้นๆ ของการบริโภคที่ส่งผลให้เกิดโรค NCDs ซึ่งเครือข่ายทางการแพทย์กำลังรุกหนักในการขับเคลื่อนรณรงค์ให้คนไทยบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสม และวัยทำงาน เป็นช่วงวัยที่เป็นผู้นำหรือเป็นผู้ที่มีบทบาทในครอบครัวที่สุด การรณรงค์ให้คนลดบริโภคนอกจากเริ่มตั้งแต่เด็กแล้ว กลุ่มวัยกลางคนหรือวัยทำงานก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน แล้วจะทำอย่างไรให้ คนทำงานที่มีพฤติกรรมบริโภคหวาน ลดน้ำตาลได้ แล้วจะดีแค่ไหน หากสถานประกอบการช่วยโรงงานมีการส่งเสริมให้พนักงานลดบริโภคหวานอย่างจริงจัง น้ำหวาน น้ำอัดลม ไม่มีจำหน่าย อาหารกลางวันก็จะไม่มีรสจัด ไม่มีการจัดเครื่องปรุงไว้ให้เติม มีเมนูสุขภาพให้ได้รับประทาน มีการส่งเสริมการออกกำลังกายเป็นประจำ


นายประยวญ ทวีวัฒนศรีสุข รองประธานสายงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บริษัท ซันฟู้ด อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ให้ความสำคำกับสุขภาพของพนักงาน ว่ามนุษย์ทุ่มเทแรงกายเพื่อหาเงิน สุดท้ายก็เอาเงินนั้นมารักษาตัวเอง ดังนั้นเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์พึงใส่ใจและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะการกิน เมื่อกินดีแล้วก็มาออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ร่างกายก็จะไม่เจ็บป่วย 

โรงอาหารอ่อนหวาน ศูนย์รวมเมนูเพื่อสุขภาพ บริษัทฯจัดทำโรงอาหารไว้รองรับพนักงานเกือบ 4 พันคน ให้ได้รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยพนักงานจะผลักเปลี่ยนหมุนเวียนมาทานตามรอบ เมนูอาหารก็จะไม่เหมือนกัน และแน่นอนว่าวัตถุดิบส่วนใหญ่มาจากแปลงเกษตรของบริษัทนั่นเอง ขณะเดียวกันพนักงานยังมีสิทธิ์ออกความเห็นในการเสนอเมนูอาหารที่อยากทาน ซึ่งพอได้ผลโหวตเมนู ฝ่ายโภชนาการและแม่ครัวก็จะมาปรับสูตรอาหารนั้นไม่ให้หวาน มัน เค็ม เกินไป และยังคงคุณค่าโภชนาการครบถ้วน

น.ส.สุภาภรณ์ ชื่นชูใจ เจ้าหน้าที่บุคคล ผู้ดูแลการรณรงค์ลดบริโภคหวาน ของบริษัท ซันฟู้ดฯ กว่าวว่า โรงอาหารอ่อนหวานนี้ มีการคำนวณสูตรอาหาร มีการประเมินทุกเดือนว่าพนักงานพอในเมนูอาหารหรือไม่ ต้องปรับสูตรอย่างไรให้ทุกคนทานได้ รสชาติก็ต้องกลางๆ เพราะถ้า หวานมาก เค็มมากก็จะเป็นอันตราย มีการลดเครื่องปรุงด้วยแคมเปญ “ลดพุง ลดปรุง ลดโรค” ไม่มีเครื่องปรุงไว้ให้บริการเช่นแต่ก่อน



ทพญ.สุวรรณา สมถวิล หัวหน้ากลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานพื้นที่ จ.สระบุรี กล่าวถึงแคมเปญนี้ว่า แม้ว่าเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานพื้นที่ จ.สระบุรี จะขับเคลื่อนรณรงค์ลดการบริโภคหวานมานานมากกว่า 10 ผ่านการกับหน่วยงาน องค์กร พื้นที่มาหลายรูปแบบ เราเริ่มจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สถานศึกษา สถานที่ราชการซึ่งสามารถจัดเมนูเพื่อสุขภาพระหว่างการประชุมได้ แต่สำหรับกลุ่มคนวัยทำงาน โดยเฉพาะหนุ่มสาวโรงงานแล้ว นี่คือโจทย์ที่ยากแต่ท้าทายไม่ใช่น้อย

แต่โรงอาหารอ่อนหวาน ในสถานประกอบการเกิดขึ้นได้ต้องมาจาก 2 ฝ่าย ที่ผลักดัน คือ ฝ่ายสาธารณสุขที่เข้าไปดูแลให้ความรู้ และอีกฝ่าย คือ ผู้ประกอบการที่ต้องให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง มีการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการลดการบริโภคหวาน มีการสร้างกระแสรณรงค์ประชาสัมพันธ์ต่อเนื่อง 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง