รีเซต

เช็กลิสต์ 9 อาการ "ผลข้างเคียง" หลังได้รับวัคซีนโควิด-19

เช็กลิสต์ 9 อาการ "ผลข้างเคียง" หลังได้รับวัคซีนโควิด-19
TNN ช่อง16
25 กุมภาพันธ์ 2564 ( 07:24 )
581
เช็กลิสต์ 9 อาการ "ผลข้างเคียง" หลังได้รับวัคซีนโควิด-19

หลังจากที่ประเทศไทยได้รับ "วัคซีนโควิด" จากบ.ซิโนแวค และ บ.แอสตราเซเนกา เมื่อวานนี้ ก่อนที่กระทรวงสาธารณสุข จะนำไปตรวจคุณภาพและกระจายวัคซีนไปยัง 18 จังหวัด เพื่อฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมายนั้น 


สำหรับวัคซีน "CoronaVac" ของซิโนแวค คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้มีข้อแนะนำว่า วัคซีนชนิดนี้ เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ฉีดในประชาชนอายุ 18-59 ปี จำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 2-4 สัปดาห์ และมีการติดตามเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับวัคซีนแต่ละเข็มเป็นระยะเวลา 30 วันหลังฉีด


โดยในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรงแนะนำให้ฉีดห่างกัน 2 สัปดาห์ ห้ามฉีดให้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในภาวะควบคุมไม่ได้ ผู้ที่มีภาวะทางระบบประสาทอย่างรุนแรง หญิงตั้งครรภ์ และควรระวังในการฉีดในกลุ่มหญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง นอกจากนี้ สามารถให้วัคซีนโควิด 19 ร่วมกับวัคซีนป้องกันโรคชนิดอื่นได้ โดยเว้นระยะห่างกันอย่างน้อย 14 วัน


สำหรับการฉีดในระยะแรกเมื่อวัคซีนมีปริมาณจำกัด มีแผนการฉีดในเดือนมีนาคม - พฤษภาคม จำนวน 2 ล้านโดส ฉีดให้กลุ่มเป้าหมายใน 18 จังหวัด ได้แก่ จ.สมุทรสาคร, กรุงเทพมหานคร (ฝั่งตะวันตก), ปทุมธานี, นนทบุรี, สมุทรปราการ, จ.ตาก (อ.แม่สอด), นครปฐม, สมุทรสงคราม, ราชบุรี, ชลบุรี, ภูเก็ต, สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย), เชียงใหม่, กระบี่, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, และเพชรบุรี สำหรับระยะที่ 2 เดือนมิถุนายน - ธันวาคม 2564 จะฉีดวัคซีนของบริษัทแอสตราเซนเนก้าอีก 61 ล้านโดส ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 10 ล้านโดสต่อเดือน


ล่าสุด วันนี้ (25 ก.พ.64) ศูนย์ข้อมูล COVID-19 เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ผลข้างเคียงฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 มีดังนี้


- ปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน  70.7 %

- อ่อนเพลีย 33.4 %

- ปวดศีรษะ 29.4%

- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 22.8 %

- รู้สึกหนาว 11.5 %

- เป็นไข้ 11.4%

- เกิดอาการบวม 11 %

- ปวดบริเวณข้อต่อ 10.4%

- คลื่นไส้ 8.9 %


อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวเป็นตัวอย่างผลข้างเคียงจากการฉีควัคซีน แบบ mRNA ในสหรัฐอเมริกา ช่วง 0-7 วัน หลังการรับวัคซีนต้านโควิด-19 (กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2564)


ที่มา : Nature, CDC


ข่าวที่เกี่ยวข้อง