ธุรกิจก่อสร้างไทยไปไงต่อ? เมื่อ Data ไม่ใช่ New Oil
อยากมีรายได้ปีละ 500 ล้าน? มีแค่ Data ก็ทำได้!
ปัจจุบันเชื่อหรือไม่ว่าธุรกิจ Data มีความสำคัญในทุกวงการแม้กระทั่งวงการก่อสร้าง โดยทีมงาน TNN Tech ได้รับเกียรติจากคุณไผท ผดุงถิ่น CEO ธุรกิจสตาร์ตอัปวงการผู้รับเหมาก่อสร้าง BUILK เข้ามาให้ข้อมูลที่น่าสนใจ โดยคุณไผท ผดุงถิ่น อาจเรียกได้ว่าเป็นบริษัทคนไทยกลุ่มแรก ๆ ที่เริ่มเก็บข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจก่อสร้าง
ธุรกิจวงการก่อสร้างของประเทศไทยมีขนาดอุตสาหกรรมที่ใหญ่กว่าที่ใครหลายคนทราบ โดยมีมูลค่ามากถึง 1.3 ล้านล้านบาท และไม่ได้ครอบคลุมแค่การก่อสร้างเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง สะพาน สนามบิน สะพานลอย ความจริงแล้วมันคือทุก ๆ สิ่งที่ไม่ใช่ Nature Environment การเก็บข้อมูลของคุณไผท ผดุงถิ่น มีลักษณะเป็น Big Data
การเก็บข้อมูลในลักษณะครอบคลุมรายละเอียดเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้าง กระบวนการก่อสร้าง รวมไปถึงการบำรุงรักษา Facility Management โดยคุณไผท ผดุงถิ่น เปิดเผยเพิ่มเติมว่าการเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์ประกอบการขายวัสดุสามารถสร้างยอดขายได้กว่า 500 ล้านบาทต่อปี โดยบางร้านค้าบางร้านแทบไม่จำเป็นต้องสต็อกสินค้าเป็นจำนวนมาก
รวยด้วย Data ! How to เปลี่ยนข้อมูลให้เป็นเงิน
พื้นฐานด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ทำให้มีพื้นฐานการบริหารจัดการข้อมูลรวมไปถึงแผนธุรกิจ Business Model ซึ่งซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารข้อมูลบริหารสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพตามไปด้วยคนขายได้ขายของที่อยากขาย คนซื้อสามารถหาซื้อของที่ต้องการจริง ๆ ในราคาที่พึงพอใจได้ไม่ยาก
สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ คือ เราต้องเข้าใจคำว่า Persona ของลูกค้าผู้ประกอบการเสมือนเราเข้าไปนั่งอยู่ในห้องประชุมของลูกค้า มองเห็นกิจการและความต้องการแท้จริงของลูกค้า ซึ่งนำไปสู่การเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลปัจจุบันเปรียบเหมือนรถไฟขบวนแห่งโอกาส ใครเห็นก่อน ใครเชื่อมันก่อน ก็จับมันได้
วิเคราะห์ข้อมูล “ค่าแรงขั้นต่ำขึ้น” วงการก่อสร้างใครได้ใครเสีย?
ย้อนไปในปี 2013-2014 ช่วงที่ค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเป็น 300 บาท เป็นช่วงที่ผู้รับเหมาจะต้องมีการปรับตัวรับผลกระทบที่เกิดขึ้น การบริหารจัดการข้อมูล เช่น ตึกประเภทไหน มีค่าแรงเท่าไหร่ ตึกสูงเท่าไหร่ บ้านเดียวเท่าไหร่ แล้วก็ค่าแรงพวกนี้ไปกระทบกับวัสดุกลุ่มไหนอีก เช่น ค่าเหล็กจะขึ้นกี่ % ค่าปูนจะขึ้น กี่ % และสุดท้ายต้นทุนที่มันจะเกิดขึ้นโดยรวมกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง ช่วยให้การบริหารจัดการทรัพยากรและสินค้าภายในบริษัทได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น 10% แต่ถ้าผู้ประกอบการใช้ข้อมูลมาบริหารจัดการอาจทำให้ต้นทุนของบริษัทลดลง 10% ซึ่งเท่ากับลดผลกระทบที่เกิดขึ้นได้
การบริหารจัดการข้อมูลสามารถช่วยให้เกิดการวัดผลได้และนำไปสู่การพัฒนา เช่นเดียวกับข้อมูลในวงการก่อสร้าง เราสามารถใช้ข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานได้เช่นเดียวกัน
เปิดมุมมองมนุษย์ Data ชีวิตราวกับ The Matrix ?
เสน่ห์ของการทำธุรกิจเกี่ยวกับ Data อยู่ตรงที่สามารถมองโลกแตกต่างจากคนอื่น ๆ ทุก ๆ อย่างบนโลกนี้ล้วนมี Data อยู่ในตัวของมันเอง คุณไผท ผดุงถิ่นให้มุมมองว่าเสมือนเราอยู่ในโลกของ The Matrix มองทุกอย่างเป็น Data ข้อมูลดิจิทัล ซึ่งข้อมูลจำนวนมากที่มองเห็นทำให้มองเห็นโอกาสที่เกิดขึ้นและสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับองค์กรได้มากที่สุด
ในอดีตเราอาจมองว่า Data is a new oil แต่ปัจจุบันต้องเรียกว่า Data is commodity การให้คุณค่ากับ Data สิ่งต่าง ๆ สำหรับ Data มีหลายมิติ เช่น ราคาความแข็งแรง อายุการใช้งาน การบริโภค คาร์บอนฟุตปริ้น หรือถ้าหากมีกระแสใหม่เกิดขึ้น เช่น ความห่วงใยโลก (Sustainability) เราก็จะสามารถวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมี Data ซึ่งเป็นโอกาสให้เราเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจ เราสามารถรวยด้วย Data ได้เรียนรู้ไปกับมันและมองหาบทสรุปว่า Data มีค่าจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตามเราก็ไม่ควร Over value Data หรือให้คุณค่ากับมันมากเกินไป